อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
อุตบล : [อุดบน] น. อุบล, บัวสาย, เช่น นีโลตบล ว่า บัวขาบ. (ส. อุตฺปล; ป. อุปฺปล).
อุบล : [บน] น. บัวสาย. (ป. อุปฺปล; ส. อุตฺปล).
อุบัติ, อุบัติ : [อุบัด, อุบัดติ] น. การเกิดขึ้น, กําเนิด, การบังเกิด; รากเหง้า, เหตุ. ก. เกิด, เกิดขึ้น. (ป. อุปฺปตฺติ; ส. อุตฺปตฺติ).
อุบาท, อุปบาท : [อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กําเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).
อุปบล : [อุบบน] (แบบ) น. อุบล, บัวสาย, ดอกบัว, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาส เช่น นีลุปบล ว่า บัวขาบ. (ป. อุปฺปล).
อปโลกน์ ๑, อุปโลกน์ : [อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. (ป. อปโลกน).
อปโลกน์ ๒ : [อะปะโหฺลก] ว. ที่บอกเล่า เช่น คําอปโลกน์. (ป. อปโลกน).
อปภาคย์, อัปภาคย์ : [อะปะพาก, อับปะพาก] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนา น้อย, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์. (ส.).
อัป : [อับปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).
อัปภาคย์ : [อับปะ] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
อุปโลกน์ : [อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็น หัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า. (ป. อปโลกน).
โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.