Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อุ๊ย , then อย, อุ๊ย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อุ๊ย, 34 found, display 1-34
  1. อุ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจ มักเป็นเสียงผู้หญิง.
  2. อกจะแตก : อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกจะแตก, อกแตก ก็ว่า.
  3. อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  4. อย, อยัส : [อะยะ, อะยัด] น. เหล็ก. (ป. อย; ส. อยสฺ).
  5. มะเมื่อย, มะเหมื่อย : (กลอน) ว. เรื่อย ๆ, มาเนือง ๆ, มาติด ๆ กัน, ใช้ เหมื่อย ๆ ก็ได้.
  6. อยู่ ๆ, อยู่ดี ๆ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.
  7. เหมื่อย, เหมื่อย ๆ : (โบ) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เรื่อย ๆ.
  8. อยู่ : [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากําลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
  9. อุย ๓, อุ่ย : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บเช่นถูกหยิก, อูย ก็ใช้.
  10. เอ่ย ๒ : ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
  11. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  12. กรุ่น : [กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.
  13. ขาน ๑ : ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
  14. คดซ่าง : น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สําหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมเมรุ, คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง หรือ สําซ่าง ก็เรียก.
  15. เคี้ย : (ถิ่น; กลอน) ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวาร ทุกแห่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร).
  16. ฐิติ : [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิต อยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
  17. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
  18. แพ้ว : ก. แขวนหรือปักสิ่งของเช่นรูปหุ่นหลอกไว้ เพื่อป้องกันนกกา รบกวน เรียกว่า แพ้วนก แพ้วกา; โดยปริยายหมายความว่า อยู่ ตรากตรํา ตากแดดตากฝน เป็นต้น เช่น ไปยืนแพ้วคอยดูขบวนแห่.
  19. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  20. ยืน : ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรง ขึ้นไป. ว. นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่ กับที่ ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคํา; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็น แนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น.
  21. ยูเรนัส : น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒,๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐,๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวมฤตยู ก็เรียก. (อ. Uranus).
  22. ระยัง : (กลอน) ก. ยัง, อยู่; ยั้ง.
  23. รำรำ, ร่ำร่ำ : ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.
  24. วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  25. ศยะ : [สะ-] ก. นอน; หลับ; อยู่, พักผ่อน, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส. (ส.).
  26. สถิต : [สะถิด] ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ใน ฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์สถิตบนพระที่นั่ง สมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร. (ส. สฺถิต; ป. ??ต).
  27. สร้าง ๒ : [ส้าง] น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สำหรับพระสงฆ์นั่งสวด พระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมพระเมรุ, ซ่าง คดซ่าง คดสร้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. (เทียบ ส. ศมฺศาน; ป. สุสาน).
  28. ส้าง : น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างในสําหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้าง หรือ สําซ่าง ก็เรียก.
  29. หลวม : ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลือ อยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยาย หมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยัง หลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
  30. หลัว ๒, หลัว ๆ : [หฺลัว] ว. มัว, ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ตอนเช้าใกล้สว่าง อากาศยังหลัว ๆ อยู่ มองอะไรไม่ค่อยชัด, ใช้ว่า สลัว ก็มี.
  31. หลุด : ก. ออกจากที่ที่ติดอยู่ เช่น พลอยหลุดจากหัวแหวน, พ้นจากความควบคุม อยู่ เช่น หลุดจากที่คุมขัง; (กฎ) ขาดกรรมสิทธิ์ เช่น เอาทรัพย์จํานําหลุด เป็นสิทธิ.
  32. หางกิ่ว : น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้าง เล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ด บนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า.
  33. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  34. อูย : ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บหรือถูกหยิก, อุย หรือ อุ่ย ก็ใช้.
  35. [1-34]

(0.0656 sec)