อ่อน : ว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าว อ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.
ระโหย : ก. อิดโรยเพราะหิวหรืออดนอนเป็นต้น.
อ่อนไท้ : (กลอน) น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียก นางกษัตริย์) เช่น จอมราชพิศพักตรา อ่อนไท้. (ลอ), ใช้ว่า อรไท ก็มี.
อ่อนเปลี้ย : ว. เพลียมาก, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เพลียแรง เป็น อ่อนเปลี้ยเพลียแรง.
อ่อนหวาน : ว. ไพเราะ, น่าฟัง, เช่น เขาเป็นคนพูดจาอ่อนหวาน; งามละมุนละไม เช่น หน้าตาอ่อนหวาน.
อ่อนข้อ : ก. ยอมผ่อนปรนให้.
อ่อนความ : ก. ขาดประสบการณ์.
อ่อนจิตอ่อนใจ, อ่อนใจ, อ่อนอกอ่อนใจ : ก. เหนื่อยใจ, ระอาใจ, ท้อใจ.
อ่อนช้อย : ว. มีกิริยาท่าทางงดงามละมุนละไม, มีลักษณะงอนงาม, มีลักษณะงอนขึ้นอย่างลายกระหนก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
อ่อนปวกเปียก, อ่อนเปียก : ว. หย่อนกําลังจนทําอะไรไม่ไหว; ไม่ขึงขัง.
อ่อนโยน : ว. มีกิริยาวาจานิ่มนวล.
อ่อนไหว : ว. มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายตามเหตุการณ์.
กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
ดรุณ : น. เด็กรุ่น. ว. หนุ่ม, อ่อน, รุ่น. (ป., ส. ตรุณ).
ดรุณี : น. เด็กหญิงรุ่น. ว. สาว, อ่อน, รุ่น. (ป., ส. ตรุณี).
ตรุณ, ตรุณะ : [ตะรุน, ตะรุนะ] (แบบ) น. เด็กรุ่น. ว. ดรุณ, หนุ่ม, อ่อน, รุ่น, เพศหญิงใช้ว่า ตรุณี. (ป., ส.).
ทวย ๒ : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสําหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขัน ใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จาก เบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
นวก ๑, นวกะ : [นะวะกะ] น. ผู้ใหม่, ผู้อ่อน. (ป.). ว. ใหม่, อ่อน, เช่น พระนวกะ นวกภูมิ.
นักนิ่น : ว. นิ่ม, อ่อน, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น จากมานักนิ่นเนื้อ นอน หนาว. (กำสรวล).
เปศละ : [เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก, น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชํานาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).
มฤทุ : [มะรึ-] ว. นุ่ม, อ่อน, อ่อนโยน, สุภาพ; แช่มช้า. (ส. มฺฤทุ; ป. มุทุ).
มลาน ๑ : [มะลาน] ว. เหี่ยว, แห้ง; อ่อน, อิดโรย; ตาย; โศกเศร้า, หมอง. (ส. มฺลาน).
เยา ๒ : ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.
รวย ๒, รวย ๆ : ว. แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจรวย ๆ หอมรวย ๆ, ระรวย ก็ว่า; ชื่น, รื่น; งาม เช่น รูปรวย ว่า รูปงาม.
ระบัด : ก. ลัด, ผลิ, แตกใบอ่อน, เช่น ไม้ระบัดใบ. ว. เพิ่งลัด, เพิ่งผลิ, อ่อน, เช่น หญ้าระบัด.
ละลวย : ก. งงงวย, ทําให้หลง, เช่น คาถามหาละลวย. ว. มีมาก, ได้มาก; อ่อน, นุ่ม.
สัณห์ : ว. เกลี้ยงเกลา; อ่อน, นุ่ม; นุ่มนวล, สุภาพ; งาม, ละมุนละม่อม, ละเอียด. (ป.; ส. ศฺลกฺษฺณ).
กระดูกอ่อน : (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
ขวัญอ่อน ๑ : น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
เขากวางอ่อน : น. เขากวางที่งอกใหม่หลังผลัดเขา มีหนังอ่อนนุ่มหุ้ม มีขนสั้นสีน้ำตาลเป็นมัน นิยมใช้ทำยา.
คระโหย : [คฺระ-] ก. กระโหย, ระโหย, โหย, ละเหี่ยใจ.
แผลริมอ่อน : น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคชนิด Haemophilus ducreyi จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อน แล้วแตกเป็นแผล ลักษณะขอบแผลอ่อนคล้ายแผลเปื่อย เลือดออกง่าย เจ็บ และ บางครั้งต่อมนํ้าเหลืองบริเวณขาหนีบจะบวมโต.
มืออ่อน : ว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย); มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.
ละเอียดอ่อน : ว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ ละเอียดอ่อน ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับ ซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหวง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่อง การเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน.
ลูกเต้าเล้าอ่อน : น. ลูกเล็ก ๆ หลายคน เช่น เธอมีลูกเต้าเล้าอ่อน ไปไหนทีก็ต้องอุ้มบ้างจูงบ้าง.
ลูกอ่อน : น. ลูกเล็ก ๆ ที่ยังไม่หย่านม, เรียกพ่อหรือแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ยังไม่หย่านมว่า พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อน, โดยปริยายเรียกบุคคลที่ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลอย่างใกล้ชิด (มักใช้แก่ผู้สูงอายุ) เช่นเวลานี้ไปไหนไม่สะดวก เพราะมีคุณยายเป็นลูกอ่อน ต้องคอย ดูแลท่าน.
หน้าอ่อน : ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้ว แต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน.
หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน : น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่า เนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้น ในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.
หัวอ่อน : ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.
ไก่อ่อน, ไก่อ่อนสอนขัน : (สํา) น. ผู้มีประสบการณ์น้อยยัง ไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน.
ขวัญอ่อน ๑ : ดูใน ขวัญ.
ขวัญอ่อน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
เข่าอ่อน : ก. อาการที่เข่าหมดกําลังทรุดลง, โดยปริยายหมายถึงอาการ หมดแรงเพราะรู้เรื่องที่ทำให้เสียใจเป็นต้นในทันทีทันใด.
โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน : (สํา) น. ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว.
จุดอ่อน : น. จุดอ่อนแอ, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้โดยง่าย, ตรงข้าม กับจุดแข็ง.
ฉากอ่อน : น. ฉากทิ้ง.
น้ำอ่อน : น. นํ้าที่ละลายสบู่ได้ดี ให้ฟองได้ง่าย และไม่มีไคลสบู่เกิดขึ้น.
เนื้ออ่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่ แหลมคม ลําตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็น สีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบ หลังก็ได้บางชนิดลําตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่ เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.
มืออ่อนตีนอ่อน : ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ หรือเสียกําลังใจ เป็นต้น อย่างแรงและทันทีทันใด.
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก : (สํา) อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่า อบรมสั่งสอนผู้ใหญ่.