เกรงกลัว : ก. กลัว.
เกรง : [เกฺรง] ว. นึกกลัวไปเอง, นึกวิตกไปเอง, เช่น เกรงว่าเขาจะเดือดร้อน.
กลัว : [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น กลัวเสือ กลัวไฟไหม้.
แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
คร้ามเกรง : ก. เกรงกลัว.
หวั่นกลัว, หวั่นเกรง : ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.
ย่อแหยง : [แหฺยง] ก. เกรงกลัว.
แยง ๒ : ก. เยง, กลัว, เกรง.
เยง : ก. กลัว, เกรง, ใช้ว่า แยง ก็มี.
หนาวใจ : ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.
เกรงขาม : ก. คร้าม, เกรง.
คุ้มเกรง : ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว.
กลัวน้ำ : น. โรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า โรคกลัวน้ำ.
กลัวลาน : ก. กลัวจนตั้งสติไม่อยู่.
แก่น : น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
ขู่ : ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม : ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
ดุ : ก. ว่ากล่าวหรือทักท้วงด้วยความโกรธหรือไม่พอใจเพราะมีความผิดหรือ ไม่อยู่ในโอวาทเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า มีอันตรายมาก, มีคนเสีย ชีวิตมาก, เช่น นํ้าปีนี้ดุ ที่ตรงนี้ดุ. ว. มีลักษณะทําให้ดูน่ากลัวหรือน่า เกรงขาม เช่น หน้าดุ ตาดุ; ร้าย, ร้ายกาจ, เหี้ยมโหด, เช่น หมาดุ เสือดุ.
ปราม : [ปฺราม] ก. ว่ากล่าวตักเตือนให้เกรงกลัว.
ปากกล้า : ว. พูดไม่เกรงกลัวใคร.
ยำเกรง : ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยําเยง ก็ว่า.
ยิ้มแสยะ : ก. ยิ้มแบะปากแยกเขี้ยวเป็นการขู่ขวัญให้เกรงกลัวหรือขู่ว่า จะทำร้าย.
ละล้าว : ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).
เลือดเข้าตา : (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือ เจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้น ไม่ไหว.
สะทกสะท้าน : ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทก สะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน.
สะพรึงกลัว : ว. น่าพรั่นพรึง ใช้ว่า น่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นร่างดำทะมึน น่าสะพรึง กลัว.
หวาด : ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.
ห่อไหล่ : ก. ทำไหล่ทั้ง ๒ ให้คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.
หิริโอตตัปปะ : [หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัว บาป, ความละอายใจ. (ป.).
ไหล่ห่อ : น. ไหล่ที่คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.
อยู่มือ : ก. เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืน, อยู่ในบังคับไม่กล้าฝ่าฝืน.
อยู่หมัด : ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอํานาจ.
อุกอาจ : ก. กล้าทําความผิดโดยไม่เกรงกลัว, กล้าละเมิดโดยไม่กลัว ความผิด, บังอาจล่วงละเมิด.
โอตตัปปะ : [โอด] น. ความเกรงกลัวบาป, มักใช้เข้าคู่กับคำ หิริ เป็น หิริโอตตัปปะ. (ป.).
กระดก ๒ : (โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลวว แก่มรณภยานตราย. (ม. คําหลวง ชูชก).
กริ่งเกรง : ก. ระแวงกลัวไป.
โกรงเกรง : [โกฺรงเกฺรง] ว. จวนพัง เช่น ศาลาโกรงเกรง.
ขยั้น : [ขะยั่น] ก. คร้าม, เกรง, ไม่กล้า, แหยง.
ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
เกรงใจ, เกรงอกเกรงใจ : ก. ไม่อยากจะให้ผู้อื่นรู้สึกลําบาก เดือดร้อนรําคาญใจ.
เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ขนหย็อง : น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนก ที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
ขี้หดตดหาย : (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจน ขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก.
ภีตะ : ก. กลัว. (ป., ส.).
ระลง : (กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว.