เกลือสมุทร : น. เกลือที่ได้จากน้ำทะเล.
เกลือ : [เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไป ได้มาจากน้ำทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก; (วิทยา) สารประกอบซึ่ง ประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด.
สมุทร ๑, สมุทร : [สะหฺมุด, สะหฺมุดทฺระ] น. ทะเลลึก; เรียกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผ่นดิน โอบล้อมเป็นตอน ๆ ว่า มหาสมุทร เช่น มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทร แปซิฟิก. (ส.; ป. สมุทฺท).
สมุทร ๒ : [สะหฺมุด] น. ดาวเนปจูน.
เกลือฟอง : น. ชื่อเกลือชนิดหนึ่งในตํารายาไทย.
เกลือสินเธาว์ : น. เกลือที่ได้จากดินเค็ม.
สมุทรโคดม :
[สะหฺมุดทฺระ] น. ข้าวฟ่างสมุทรโคดม. (ดู ข้าวฟ่าง ที่ ข้าว).
สมุทรเสนา : [สะหฺมุดทฺระ] (เลิก) น. เรียกลูกเสือพวกหนึ่งตามจังหวัด ชายทะเลว่า ลูกเสือสมุทรเสนา.
เกลือจิ้มเกลือ : (สํา) ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อคนเค็มมาพบกัน.
เกลือเป็นหนอน : (สํา) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ, ไส้เป็นหนอน ก็ว่า.
สมุทรโจร : [สะหฺมุดทฺระ] น. โจรสลัด.
พริกกะเกลือ : น. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาลมีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล.
กินเกลือกินกะปิ : (สํา) ว. อดทนต่อความลำบากยากแค้น เช่น เขาเคยกินเกลือกินกะปิมาด้วยกัน.
ขี้กระทาเกลือ, ขี้ทา : น. ขี้เกลืออันตกกระฉาบทาไปตามพื้นดิน หรือพื้นที่มีเกลือแห้งเกรอะอยู่เป็นกระ.
น้ำเกลือ : น. นํ้าที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ สําหรับฉีดเข้า หลอดเลือดดํา.
นึ่งหม้อเกลือ : ก. ใช้หม้อตาลใส่เกลืออังไฟให้ร้อน ห่อด้วยใบพลับพลึง แล้วใช้ผ้าหุ้มอีกชั้นหนึ่ง นาบหรือประคบท้องหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ.
ปลาเกลือ : น. ปลาเคล้าเกลือแล้วตากแห้ง, ปลาเค็ม ก็ว่า.
หม้อเกลือ : น. หม้อตาลใส่เกลือเม็ด ใช้สำหรับตั้งไฟให้ร้อน นำมาห่อหรือ พันด้วยใบพลับพลึง ใช้นาบท้องและตามตัวหญิงแรกคลอดบุตร เพื่อคลาย ความเมื่อยตึงตัวเป็นต้น.
เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ : (สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอา เนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลก กับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.
ข้ามสมุทร : น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง.
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม : (สํา) น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร.
ขี้เกลือ : น. คราบเหงื่อที่แห้งกรังจนขึ้นขาว.
ฆ่าควายเสียดายเกลือ, ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก : (สํา) ก. ทําการใหญ่ ไม่ควรตระหนี่.
ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ : (สํา) ก. ทําการสิ่งใดถ้ากลัว หมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์.
ผีเสื้อสมุทร : น. ยักษ์พวกหนึ่ง เชื่อกันว่าสิงอยู่ในทะเล.
ห้ามสมุทร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยา ห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.
กุ้งส้ม : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม.
ค้างคาว ๓ : น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัวกะทิ และเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
เคราะห์ ๒ : [เคฺราะ] (ดารา) น. เรียกดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ ว่า ดาวเคราะห์ มี ๙ ดวง เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ออกไป คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม (Pluto).
เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
ดาวเคราะห์ : (ดารา) น. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่าง จากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๙ ดวง คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม (Pluto) มองจากโลก จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียง ๕ ดวง คือ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์.
น้ำตับ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
แป้งจี่ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง มักทําด้วยแป้งข้าวเหนียวดํา ผสมกับ มะพร้าว เกลือ นํ้าตาล แล้วทอดเป็นแผ่นเล็ก ๆ แบน ๆ ลงบนกระทะ แบนที่ทานํ้ามันน้อย ๆ; แป้งขนมจีนที่ทําเป็นแผ่นแล้วเผาไฟ.
เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
เล็บมือนาง ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นรูปยาว ราว ๒ องคุลี หัวท้ายเรียว ใส่น้ำกะทิจนชุ่ม โรยงาคั่วผสมน้ำตาล เกลือ และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
โลณะ : น. เกลือ. ว. เค็ม. (ป., ส.).
ส้มกุ้ง ๑ : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า.
สสาร, สสาร : [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วย สารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้.
เกษียร : [กะเสียน] (แบบ) น. น้ำนม. (ส. กฺษีร; ป. ขีร). เกษียรสมุทร น. ทะเลน้ำนม, ที่ประทับของพระนารายณ์. (ส. กฺษีร + สมุทฺร).
กช, กช- : [กด, กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอัน บานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคําฉันท์). (ป. ปงฺกช).
กทรรป : [กะทับ] (แบบ) ก. กําหนัด เช่น ตรูกามกทรรปหฤทัย. (สมุทรโฆษ). (ส. กนฺทรฺป ว่า กามเทพ).
กนก : [กะหฺนก] (แบบ) น. ทองคํา เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กนกนัครา. (สมุทรโฆษ). (ป.; ส.).
กมล : [กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คําหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
กรม ๒ : [กฺรม] (แบบ) น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
กรร ๑ : [กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
กรรกง : [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
กรรกฎ : [กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
กรรณ, กรรณ- : [กัน, กันนะ-] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
กรรณิกา : [กัน-] (แบบ) น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺณิกา ว่า ฝักบัว, ช่อฟ้า; ป. กณฺณิกา).
กรรแทก : [กัน-] ก. กระแทก, เขียนเป็น กันแทก ก็มี เช่น หัวล้านชาวไร่ ไล่ปาม เข้าขวิดติดตาม กันแทกก็หัวไถดินฯ. (สมุทรโฆษ).