Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกลือสินเธาว์, สินเธาว์, เกลือ , then กลอ, กลอสนธาว, เกลือ, เกลือสินเธาว์, สนธาว, สินเธาว์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกลือสินเธาว์, 118 found, display 1-50
  1. เกลือสินเธาว์ : น. เกลือที่ได้จากดินเค็ม.
  2. เกลือ : [เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไป ได้มาจากน้ำทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก; (วิทยา) สารประกอบซึ่ง ประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด.
  3. เกลือฟอง : น. ชื่อเกลือชนิดหนึ่งในตํารายาไทย.
  4. เกลือสมุทร : น. เกลือที่ได้จากน้ำทะเล.
  5. เกลือจิ้มเกลือ : (สํา) ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อคนเค็มมาพบกัน.
  6. เกลือเป็นหนอน : (สํา) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ, ไส้เป็นหนอน ก็ว่า.
  7. ป่ง : น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้างคอยยิงสัตว์ที่มากินดินป่งว่า นั่งป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ โป่ง ก็ว่า.
  8. โป่ง : น. ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลมหรือแก๊ส เช่น ลูกโป่ง; พื้นดินที่มี เกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีโป่ง เรียกว่า ป่าโป่ง ดินโป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีโป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้าง คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่งว่า นั่งโป่ง, ป่ง ก็ว่า; เรียกพื้นดินที่มีนํ้าผุด พุขึ้นมาว่า โป่งน้ำ โป่งนํ้า และเรียกนํ้าที่ผุดพุขึ้นมานั้นว่า นํ้าโป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ ป่ง ก็ว่า. โป่งค่าง น. สัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายค่างแต่ใหญ่กว่ามาก ชอบ ออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า เชื่อกัน ว่าเป็นผีโป่งชนิดหนึ่ง.
  9. พริกกะเกลือ : น. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาลมีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล.
  10. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  11. กินเกลือกินกะปิ : (สํา) ว. อดทนต่อความลำบากยากแค้น เช่น เขาเคยกินเกลือกินกะปิมาด้วยกัน.
  12. ขี้กระทาเกลือ, ขี้ทา : น. ขี้เกลืออันตกกระฉาบทาไปตามพื้นดิน หรือพื้นที่มีเกลือแห้งเกรอะอยู่เป็นกระ.
  13. น้ำเกลือ : น. นํ้าที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ สําหรับฉีดเข้า หลอดเลือดดํา.
  14. นึ่งหม้อเกลือ : ก. ใช้หม้อตาลใส่เกลืออังไฟให้ร้อน ห่อด้วยใบพลับพลึง แล้วใช้ผ้าหุ้มอีกชั้นหนึ่ง นาบหรือประคบท้องหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ.
  15. ปลาเกลือ : น. ปลาเคล้าเกลือแล้วตากแห้ง, ปลาเค็ม ก็ว่า.
  16. หม้อเกลือ : น. หม้อตาลใส่เกลือเม็ด ใช้สำหรับตั้งไฟให้ร้อน นำมาห่อหรือ พันด้วยใบพลับพลึง ใช้นาบท้องและตามตัวหญิงแรกคลอดบุตร เพื่อคลาย ความเมื่อยตึงตัวเป็นต้น.
  17. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ : (สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอา เนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลก กับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.
  18. ข้าวเหลือเกลืออิ่ม : (สํา) น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร.
  19. ขี้เกลือ : น. คราบเหงื่อที่แห้งกรังจนขึ้นขาว.
  20. ฆ่าควายเสียดายเกลือ, ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก : (สํา) ก. ทําการใหญ่ ไม่ควรตระหนี่.
  21. ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ : (สํา) ก. ทําการสิ่งใดถ้ากลัว หมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์.
  22. กุ้งส้ม : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม.
  23. ค้างคาว ๓ : น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัวกะทิ และเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
  24. เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
  25. น้ำตับ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
  26. แป้งจี่ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง มักทําด้วยแป้งข้าวเหนียวดํา ผสมกับ มะพร้าว เกลือ นํ้าตาล แล้วทอดเป็นแผ่นเล็ก ๆ แบน ๆ ลงบนกระทะ แบนที่ทานํ้ามันน้อย ๆ; แป้งขนมจีนที่ทําเป็นแผ่นแล้วเผาไฟ.
  27. เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
  28. เล็บมือนาง ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นรูปยาว ราว ๒ องคุลี หัวท้ายเรียว ใส่น้ำกะทิจนชุ่ม โรยงาคั่วผสมน้ำตาล เกลือ และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
  29. โลณะ : น. เกลือ. ว. เค็ม. (ป., ส.).
  30. ส้มกุ้ง ๑ : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า.
  31. สสาร, สสาร : [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วย สารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้.
  32. กระติ๊ด ๒, กระติ๊ดเดียว, กระติ๊ดหนึ่ง : (ปาก) ว. เล็กน้อย, เล็กนิดเดียว, เช่น เสื้อตัวนี้ติดกระดุมเม็ด กระติ๊ดเดียว ขอเกลือสักกระติ๊ดหนึ่ง, ติ๊ดเดียว หรือ ติ๊ดหนึ่ง ก็ว่า.
  33. กลัก : [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของ เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
  34. กะปิ : น. ของเค็มทําด้วยเคยกับเกลือโขลกและหมักไว้ใช้ปรุงอาหาร, เยื่อเคย ก็ว่า. (พม่า ว่า งาปิ).
  35. เกลือกรด : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปร สภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่ไม่หมด เช่น โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต (NaHSO4). (อ. acid salt).
  36. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  37. เกลือจืด : น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทํานาเกลือ มีปนอยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือ เกลือที่ ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก.
  38. เกลือด่างคลี : น. ชื่อเกลือชนิดหนึ่งในตํารายาไทย.
  39. เกลือเบสิก : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยอนุมูลกรดเข้าไปแทนที่ หมู่ไฮดรอกซิล (OH) ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของเบสไม่หมด เช่น เลดไฮดรอกซีคลอไรด์ [Pb(OH)Cl], เกลือด่าง ก็ว่า. (อ. basic salt).
  40. เกลือปรกติ : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่ แปรสภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรดถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่จนหมดสิ้น เช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4). (อ. normal salt).
  41. เกลือยูเรต : น. เกลือของกรดยูริก.
  42. ใกล้ : [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง. ใกล้เกลือกินด่าง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดี ที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหา สิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
  43. ของเค็ม : น. ของกินที่หมักหรือดองด้วยเกลือ.
  44. ข้าวจี่ ๑ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ข้าวเหนียวนึ่งนวดกับเกลือปั้นเป็นก้อน เสียบไม้ปิ้งไฟ บางทีใส่น้ำอ้อยงบข้างใน ทาไข่แล้วปิ้งไฟ.
  45. ข้าวต้มลูกโยน : น. ข้าวเหนียวที่ผัดกับกะทิใส่เกลือ น้ำตาล ห่อด้วย ใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตยไว้หางยาว แล้วต้มให้สุก.
  46. ข้าวเปียก : น. ข้าวที่ต้มและกวนให้เละ, ข้าวที่ต้มกับนํ้ากะทิเจือเกลือ เล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
  47. ไข่เค็ม : น. ไข่ที่ดองนํ้าเกลือ, ไข่ที่พอกด้วยขี้เถ้าหรือแกลบผสมเกลือ มักทําจากไข่เป็ด มีรสเค็ม, ไข่พอก ก็เรียก.
  48. คลุก : [คฺลุก] ก. เคล้าให้เข้ากัน, ขยําให้ระคนเข้ากัน; ประชิดติดพันเข้าไป เช่น เข้าคลุกวงใน, เกลือก เช่น คลุกเกลือ คลุกน้ำตาล.
  49. เค็ม : ว. มีรสอย่างรสเกลือ; โดยปริยายหมายความว่า พยายามให้ได้ ประโยชน์มากกว่า.
  50. จ่อม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทําด้วยปลาหรือกุ้งตัวเล็ก ๆ หมักเกลือไว้ระยะหนึ่ง แล้วใส่ข้าวสารคั่วป่น ทำด้วยปลาเรียกว่า ปลาจ่อม ทำด้วยกุ้งเรียกว่า กุ้งจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-118

(0.1116 sec)