Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกลื้อน , then กลอน, เกลื้อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกลื้อน, 987 found, display 1-50
  1. เกลื้อน : [เกฺลื้อน] น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา (Malassezia furfur) ขึ้นเป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, ขี้เกลื้อน ก็ว่า.
  2. ขี้เกลื้อน : น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ขึ้น เป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, เกลื้อน ก็ว่า.
  3. กลอน ๑ : [กฺลอน] น. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง; ไม้ที่พาดบนแปสําหรับวางเครื่องมุงหลังคาจากเป็นต้น.
  4. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  5. กลอน ๓ : [กฺลอน] น. ลูกตุ้ม, ขลุบ, เช่น แกว่งกลอนยรรยงยุทธ์. (อนิรุทธ์).
  6. เชื้อรา : น. เชื้อจุลินทรีย์อยู่ในกลุ่มพืชชั้นตํ่า บางชนิดทํา ให้เกิดโรค เช่น กลาก เกลื้อนได้.
  7. ดอกหมาก ๑ : น. ชื่อเกลื้อนชนิดหนึ่ง ขึ้นตามตัวตามหลังเป็นผื่นขาว ๆ; จั่นหมากที่บานแล้ว; ขนสร้อยคอไก่หรือตามตัวไก่ที่เป็นจุดขาว ๆ.
  8. กลอนด้น : น. คํากลอนที่ว่าดะไปไม่คํานึงถึงหลักสัมผัส.
  9. กลอนตลาด : น. คํากลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน.
  10. กลอนบทละคร : น. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้อง ขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.
  11. กลอนเพลงยาว : น. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
  12. กลอนลิลิต : น. คํากลอนที่แต่งอย่างร่าย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  13. กลอนสด : น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบัน โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
  14. กลอนสวด : น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง มักเป็นเรื่องในศาสนา.
  15. กลอนสุภาพ : น. กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียกว่า กลอนตลาด.
  16. กรรเอา : [กัน-] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กระเอา) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะรสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ. (สมุทรโฆษ).
  17. กระลายกระลอก : [-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
  18. กระเษียร : (โบ; กลอน; แผลงมาจาก เกษียร) น. น้ำนม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. (สรรพสิทธิ์).
  19. กฤษฎา ๑ : [กฺริดสะดา] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กฤด) ว. ที่ทําแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทํามาแล้ว). (ตะเลงพ่าย).
  20. กล่อน : [กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า เกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นน้ำ เรียกว่า กล่อนน้ำ, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง.
  21. เกลื่อน ๑ : [เกฺลื่อน] ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน หล่นเกลื่อน. ก. ทําให้ยุบหรือราบลง เช่น เกลื่อนที่ เกลื่อนฝี. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด ว. เกลื่อน.
  22. เกลื่อน ๒, เกลื่อนความ : [เกฺลื่อน] ก. เสความ.
  23. เคื้อ ๒ : (ถิ่น; กลอน; โบ) น. เครือ, เชื้อสาย, เช่น เคื้อคู ว่า เชื้อสายของครู. (ม. คําหลวง กุมาร).
  24. ดำนู : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ดนู) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า, เช่น กึ่งกายกามดํานู. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  25. ดำพอง, ดำโพง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตะพอง) น. ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือ หน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดําโพง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  26. ดำรวจ : [-หฺรวด] (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตรวจ) ก. ตรวจตรา, พิจารณา, เช่น ฝ่ายคนผู้ข้าได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  27. ดำเลิง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก เถลิง) ก. ขึ้น, ทําให้เลื่องลือ, เช่น ควันดําเลิง แลเห็นไกล. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  28. ดำแลง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
  29. ว่ากลอนสด : ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า.
  30. กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
  31. กะล่อน ๑ : น. ชื่อมะม่วงชนิด Mangifera caloneura Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก.
  32. กะล่อน ๒ : ว. พูดคล่อง แต่ไม่จริงเป็นส่วนมาก.
  33. ชำนาญเกลากลอน : น. ชื่อโคลงโบราณแบบหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
  34. เชิงกลอน : น. ไม้ประกับปลายเต้าตลอดชายคาเรือนแบบเก่า; ไม้ประกับปลายจันทันตลอดชายคาเรือนแบบใหม่ที่ไม่มีเต้า.
  35. ยาลูกกลอน : น. ยาที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  36. ลายพาดกลอน : ดู โคร่ง.
  37. ลูกกลอน : น. เม็ดยาเปียก ๆ ที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  38. กนิษฐา : (กลอน) น. น้องสาว, คู่กับ เชษฐา คือ พี่ชาย; (ราชา) นิ้วก้อย ใช้ว่า พระกนิษฐา. (ส.).
  39. กรรณ, กรรณ- : [กัน, กันนะ-] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
  40. กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
  41. กระกรี๊ด : (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  42. กระกรุ่น : (กลอน) ว. กรุ่น ๆ เช่น ไฟฟุนกระกรุ่นเกรียม. (สรรพสิทธิ์).
  43. กระกลับกลอก : (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
  44. กระเกริก : (กลอน) ว. เสียงดังอึกทึก เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  45. กระเกริ่น : (กลอน) ว. ระบือ เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  46. กระคน : (กลอน) น. ประโคน คือ สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้างหลัง ขาหน้าแล้วลอดมาบรรจบกัน โยงใต้ท้องช้างและที่หน้าขาหน้า ไปจากสายชนักที่คอช้าง. (รูปภาพ กระคน)
  47. กระคาย : (กลอน) ว. ระคาย เช่นบุกแฝกกระคายคา ละเลาะลัดลดาดอน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
  48. กระโงก : (กลอน) น. นกยูง, กุโงก ก็ว่า. (เทียบ ข. โกฺงก).
  49. กระจร ๑ : (กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).
  50. กระจร ๒ : (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง). (แผลงมาจาก ขจร).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-987

(0.0714 sec)