เกล็ดเลือด : น. เม็ดเลือดขนาดเล็ก เล็กกว่าเม็ดเลือดแดงและ เม็ดเลือดขาวมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด.
เกล็ด : น. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและ สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอา แต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.
เลือด : น. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน และสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดง เกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการ ป่วยในระหว่างที่มีระดู, โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์, ผู้ที่เคยศึกษาจาก สถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.
เกล็ดกระดี่ : ว. เรียกอาการโรคที่เกิดขึ้นที่ตาเด็กว่า ตาเกล็ดกระดี่.
เกล็ดกระโห้ : น. ชื่อขนมทําด้วยแป้ง น้ำตาล ไข่ เป็นแผ่น ๆ คล้ายเกล็ดปลากระโห้ ผิงให้สุกกรอบ.
เกล็ดถี่ : ดู นางเกล็ด.
เกล็ดนาค : น. ชื่อลายมีรูปเป็นครึ่งวงกลมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา.
เกล็ดหอย : น. (๑) เทียนเกล็ดหอย. (ดู เทียนเกล็ดหอย ที่ เทียน๓). (๒) ดู หญ้าเกล็ดหอย.
เลือดกำเดา : น. เลือดที่ออกทางช่องจมูก.
เลือดเข้าเลือดออก : ก. มีบาดแผล เช่น แค่หนามเกี่ยวก็ถึงกับเลือด เข้าเลือดออกแล้ว.
เลือดชั่ว : น. ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพ่อแม่ที่ชั่ว, ความเลวร้ายที่มีอยู่ ในตัว เช่น ตีหัวให้แตกเอาเลือดชั่วออกเสียบ้าง. เลือดโชก, เลือดท่วมตัว, เลือดสาด, เลือดอาบ น. เลือดออกมาก.
เลือดดำ : น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนน้อยหรือขาดออกซิเจน มีสีแดงคล้ำ.
เลือดแดง : น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนมาก มีสีแดงสด.
เลือดตกใน : น. เลือดที่ไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก แทงเป็นต้น.
เลือดตกยางออก : ก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึง เลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือด ตกยางออกเลย.
เลือดตากระเด็น : ว. ลำบากหรือยากแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น กว่าจะหาเงินมาซื้อบ้านได้แทบเลือดตากระเด็นทีเดียว.
เลือดท่วมท้องช้าง : ว. นองเลือด.
เลือดนก : ว. สีแดงอย่างสีเลือดของนก.
เลือดเนื้อ : น. ลูกในไส้, ลูกของตนแท้ ๆ; ชีวิต เช่น ปฏิวัติโดยไม่เสีย เลือดเนื้อ.
เลือดเนื้อเชื้อไข : น. ลูกหลาน, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เข้าศึกษา และจบจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เขาเป็นเลือดเนื้อเชื้อไข ธรรมศาสตร์.
เลือดผสม : น. ผู้ที่มีเลือดพ่อและแม่ต่างชาติกัน.
เลือดฝาด : น. เลือดที่แสดงออกทางผิวพรรณ เช่น มีเลือดฝาดดี หมายความว่ามีผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล.
เลือดเย็น ๑ : ว. มีใจเหี้ยมสามารถทำลายชีวิตหรือชื่อเสียงผู้อื่นได้ โดยไม่รู้สึกหวั่นไหว เช่น ฆ่าอย่างเลือดเย็น.
เลือดเย็น ๒ : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถปรับอุณหภูมิของ ร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นปลา กบ เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น.
เลือดแรง : น. ลูกที่มีลักษณะเด่นในทางกรรมพันธุ์ไปทางพ่อหรือ แม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น พ่อขี้ริ้ว แม่สวย ถ้าลูกขี้ริ้ว ก็แสดงว่า เลือดพ่อแรงกว่า ถ้าลูกสวย ก็แสดงว่า เลือดแม่แรงกว่า.
เลือดล้างหน้า : น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
เลือดเสีย : น. เลือดระดูไม่ปรกติ มีสีแดงคล้ำ กลิ่นเหม็น.
เลือดหมู : ว. สีแดงคล้ำอย่างสีเลือดของหมู.
เลือดอุ่น : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถคงอุณหภูมิของร่างกาย ไว้ได้โดยไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นคน นก เรียกว่า สัตว์เลือดอุ่น.
เกล็ดปลาช่อน : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Phyllodium pulchellum (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไปตาม แนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก.
เลือดก้อนเดียวตัดทิ้งได้ : (สำ) น. ลูกคนเดียวตัดทิ้งได้ในเมื่อมี ความประพฤติไม่เป็นที่พอใจพ่อแม่.
เลือดข้นกว่าน้ำ : (สำ) น. ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น.
เลือดขึ้นหน้า : (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.
เลือดเข้าตา : (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือ เจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้น ไม่ไหว.
เลือดจะไปลมจะมา : ก. มีอารมณ์แปรปรวนผิดปรกติเพราะสูงอายุ ถึงระดับหนึ่ง มักเกิดแก่ผู้หญิงที่มีวัยใกล้จะหมดระดู.
เลือดจาง : ว. มีคุณสมบัติที่ดีของบรรพบุรุษลดน้อยลง.
เลือดเดือด : ว. โมโหฉุนเฉียวขึ้นมาทันทีทันใด.
เลือดทาแผ่นดิน : ก. สละชีวิตให้แก่ประเทศชาติ, สละชีวิตเพื่อรักษา แผ่นดิน.
เลือดในอก : (สํา) น. ลูก.
เลือดพล่าน : ว. โมโหฉุนเฉียวอย่างรุนแรง.
เลือดไม้ : ดู เรือดไม้.
เลือดร้อน : ว. โกรธง่าย, โมโหง่าย.
เลือดล้างด้วยเลือด : ก. แก้แค้นด้วยวิธีรุนแรงในทำนองเดียวกัน.
ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
นางเกล็ด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
ปลา ๑ : [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วน หัว ลําตัว และหาง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือกยกเว้นปลาปอด มี ครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่าง ลักษณะ ขนาดและพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
ยุง : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Culicidae โดยทั่วไปลําตัวยาว ๓๖ มิลลิเมตร มีปีก ๑ คู่ ปีกมีเกล็ดติดอยู่ตามเส้นปีกและอาจคลุมไป ถึงหัวและลําตัวด้วย หนวดยาวขนที่ปกคลุมหนวดของตัวเมียสั้น ของ ตัวผู้ยาว ปากเป็นชนิดเจาะดูด เช่น ยุงรําคาญในสกุล Culex ยุงลาย ใน สกุล Aedes ยุงก้นปล่องในสกุล Anopheles เฉพาะตัวเมียกินเลือด.
ลาย ๒ : น. ชื่อยุงหลายชนิดในสกุล Aedes วงศ์ Culicidae ที่พบเป็นสามัญ ในบ้าน เช่น ชนิด A. aegypti ผนังด้านล่างของส่วนท้องมีเกล็ด เกล็ดตามลําตัวสีขาวเป็นแถบลายต่าง ๆ ตัดกับเกล็ดพื้นสีดําหรือ สีนํ้าตาลแก่ ตัวเมียมีรยางค์คู่ใกล้ปากสั้นกว่าตัวผู้ ก้นแหลม ปลาย ขาไม่มีแผ่นบางระหว่างเล็บเกาะดูดเลือดโดยลําตัวขนานกับพื้น บางชนิดนําโรค เช่นโรคไข้เลือดออก มาสู่คน.
เลื้อยคลาน : น. สัตว์เลือดเย็นจําพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจ ด้วยปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลายชนิด ออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน.
กระท่อมเลือด : น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับ อย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง ๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).