บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
เกษตร : [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (โบ) แดน เช่น พุทธเกษตร. (ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).
ศาสตร, ศาสตร์ : [สาดตฺระ, สาดสะตฺระ, สาด] น. ระบบวิชาความรู้, มักใช้ ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).
เกษตรและสหกรณ์ : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตร การเศรษฐกิจการเกษตร การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร การชลประทาน การประมง การปศุสัตว์ การป่าไม้ การพัฒนาที่ดิน และการสหกรณ์.
เนติบัณฑิต : น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียน กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสํานักศึกษา อบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.
ดุษฎีบัณฑิต : น. ปริญญาเอก; ผู้ได้รับปริญญาเอก.
ทับเกษตร ๑ : [-กะเสด] น. ที่อยู่ริมเขตบ้าน, เขตที่, พระระเบียง.
ทับเกษตร ๒ : [-กะเสด] น. ส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง.
ธรรมเกษตร : น. แดนธรรม; คนมีใจกรุณา. (ส.).
มหาบัณฑิต : น. ปริญญาโท; ผู้ได้รับปริญญาโท.
รณเกษตร, รณภู, รณภูมิ, รณสถาน : น. สนามรบ. (ส.).
อาณาเกษตร, อาณาเขต : น. เขตแดนในอํานาจปกครอง.
ณ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๑๙ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น คุณ บัณฑิต.
ปรสิต, ปรสิต- : [ปะระสิด, ปะระสิดตะ-] น. (แพทย์) สัตว์พวกพยาธิที่อาศัยอยู่ใน มนุษย์และสัตว์; (เกษตร) ตัวเบียน เช่น กาฝาก. (อ. parasite).
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
เกษตรศาสตร์ : [กะเสดตฺระสาด] น. วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม. (ส. เกฺษตฺร + ศาสฺตฺร = วิชา).
เขษตร : [ขะเสด] (โบ) น. เกษตร, ทุ่ง, นา, ไร่.
คณิตศาสตร์ : [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
จอมปลอม : ว. ที่หลอกลวงให้คนเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง เช่น ของจอมปลอม ผู้ดีจอมปลอม บัณฑิตจอมปลอม.
ไซโล : น. สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทําด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ภายใน มีระบบกันความชื้นและระบายอากาศเป็นต้น สําหรับเก็บผลิตผล ทางเกษตรไว้ชั่วคราวก่อนส่งออก. (อ. silo).
ญาณศาสตร์ : [ยานะสาด, ยานนะสาด] น. ตําราพยากรณ์. (ป. ?าณ + ส. ศาสฺตฺร).
ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
ตัตว- : [ตัดตะวะ-] (แบบ) น. ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นจริง. (ส. ตตฺตฺว). ตัตวศาสตร์ น. วิชาว่าด้วยความจริง. (ส. ตตฺตฺว + ศาสฺตฺร).
ที่ดินของรัฐ : (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือ ทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
นิคมสหกรณ์ : (กฎ) น. บริเวณที่ดินที่รัฐนํามาจัดสรรให้ราษฎรที่ประกอบ อาชีพทางการเกษตร แต่ขาดแคลนที่ดินทํากิน ได้มีที่ดินทํากินในขนาดที่ เหมาะสม โดยให้ราษฎรเหล่านั้นรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น.
บัณฑิตย์ : [บันดิด] น. ความรอบรู้, การเรียน, ความเป็นบัณฑิต. (ส. ปาณฺฑิตฺย; ป. ปณฺฑิจฺจ).
ผลิต, ผลิต : [ผะหฺลิด, ผะหฺลิดตะ] ก. ทําให้เกิดมีขึ้นตามที่ต้องการด้วยอาศัย แรงงานหรือเครื่องจักรเป็นต้น เช่น ผลิตข้าว ผลิตรถยนต์ ผลิตครู ผลิตบัณฑิต. (ป.).
พลเทพ : [พนละ] น. ชื่อตําแหน่งจตุสดมภ์ตําแหน่งหนึ่ง คือ เสนาบดี ฝ่ายเกษตร.
มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
ศาสตราจารย์ :
ดู ศาสตร, ศาสตร์.
สลับเรือน : (โหร) ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกัน ในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตร ศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธ ราศีกันย์.
สัตถ ๑ : [สัดถะ] (แบบ) น. คัมภีร์, ตํารา. (ป.; ส. ศาสฺตฺร).
อุทกศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยนํ้าบนพื้นโลกเกี่ยวกับการวัดหรือการ สํารวจแผนที่ทะเล โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะเพื่อการเดินเรือ. (ป., ส. อุทก + ส. ศาสฺตฺร).