เกา : ก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น, อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่.
เกาทุมพร : [-ทุมพอน] น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกทุมฺพร, โกฏุมฺพร).
เกาสมอ : ก. ลากสมอครูดไปตามพื้นท้องน้ำ โดยเฉพาะ ในขณะที่กำลังกว้านสมอขึ้นเก็บ.
เกาเหลียง ๑ : [-เหฺลียง] น. ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
เกาเหลียง ๒ : [-เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
ไม้เกาหลัง : น. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง, ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได.
สะกิดสะเกา : ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้ กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม.
เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
เกะ : ว. สั้น เช่น ควายเขาเกะแค่หู. (สิบสองเดือน).
สมอเกา : ก. อาการที่สมอหลุดจากพื้นที่ทอดไว้ แล้วครูดไปตามพื้น ท้องน้ำด้วยแรงลมและกระแสน้ำ.
กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
กา ๑ : น. ชื่อนกชนิด Corvus macrorhynchos ในวงศ์ Corvidae ตัวดํา ร้องกา ๆ, อีกา ก็เรียก; ชื่อดาวฤกษ์ธนิษฐา เช่น แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์. (อภัย).
กา ๕ : ก. ทําเครื่องหมายเป็นรูปกากบาท, ทำเครื่องหมาย ไว้ให้สังเกตได้ เช่น ดูเฉพาะที่กาไว้.
เกาบิน : น. ผ้าปิดของลับ. (ส. เกาปิน; ป. โกปิน).
เกามาร : [-มาน] (โบ) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
เกาลิน : น. ดินเกาเหลียง. (อ. kaolin).
เกาไศย : [-ไส] (แบบ) น. ผ้าไหม. (ส. เกาเศยฺย; ป. โกเสยฺย).
โกสุม : น. ดอกไม้. (ป. กุสุม; ส. เกาสุม).
ขยิก : [ขะหฺยิก] ว. เร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น เกาขยิก ๆ.
ขี้เรื้อนกวาง : น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ด ในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่ที่มือ เอื้อมไปเกาถึง.
คะเยอ : ว. อาการที่คันทําให้ต้องเการํ่าไป เรียกว่า เกาคะเยอ คันคะเยอ.
คัน ๒ : ก. อาการที่รู้สึกให้อยากเกา, อาการที่มือหรือปากอยู่ไม่สุข คือ อยากทํา หรือพูดในสิ่งที่ไม่ควร เรียกว่า มือคัน ปากคัน, อาการที่ให้รู้สึกอยากด่า อยากตีเป็นต้น เรียกว่า คันปาก คันมือ คันเท้า.
ฉลองได : (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
นารายณ์หัตถ์ : (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
มัน ๔ : ก. เพลิน, ถูกอกถูกใจ, ออกรสออกชาติ, เช่น เกาเสียมัน.
ยิก, ยิก ๆ : ว. อาการที่ทำติดต่อกันถี่ ๆ บ่อย ๆ เช่น ท้ายิกเลย เกาหัวยิก ๆ ชวนยิก ๆ, ขยิก ก็ใช้.
เรื้อน : น. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขี้เรื้อน กุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตาม บริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทําให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.
สนองได : (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
กา ๒ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มต่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงจนดําทึบ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย, เพี้ย ก็เรียก.
กา ๓ : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำหรือต้มน้ำ มีพวยและหูสําหรับหิ้ว หรือจับ, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
กา ๔ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๐.
ก กา : น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด ว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา.
กาบุรุษ : [กาบุหฺรุด] (แบบ) น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).
การิตการก : [การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทํา, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา ''ถูก-ให้'' เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทํางาน ทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท ''ยัง'' หรือ กริยานุเคราะห์ ''ให้'' เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทํางาน นายจ้างให้ลูกจ้างทํางาน.
การิตวาจก : [การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ ''ถูก'' ''ถูก-ให้'' หรือ ''ถูกให้'' เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทํางาน.
เกวัฏ : [เกวัด] (แบบ) น. ชาวประมง, พรานเบ็ด, พรานแห, พรานปลา. (ป. เกวฏฺฏ).
กานท, กานท์ : (โบ) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ. (ยวนพ่าย).
กาฟักไข่ : น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง ผู้เล่นหาไม้หรือของอื่นมาคนละชิ้น สมมุติเป็นไข่ มอบให้แก่ผู้ที่ถูกจับสลาก สมมุติเป็นกา ผู้เป็นการักษาสิ่งนั้นไว้ในวงเขตที่กําหนด ผู้เล่นนอกนั้นคอยลักไข่.
กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
กาเวียน : น. กาต้มน้ำชนิดหนึ่ง อยู่ในถังซึ่งมีเตาไฟ.
กาคาบพริก : (สํา) ว. ลักษณะที่คนผิวดําแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง.
กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
กาจับหลัก ๒ :
(๑) ดู กาสามปีก(๑). (๒) ดู ราชดัด.
กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ : น. ร่างกายซึ่งเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส. (ป. กาย + อินฺทฺริย).
กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ :
ดู กาย, กาย-.
การางหัวขวาน : ดู กะรางหัวขวาน.