เกิน : ว. พ้น, เลย, คํานี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากําหนด เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร.
เหลือเชื่อ : ว. เกินจริง, ไม่น่าเชื่อ.
จริง, จริง ๆ : [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝัน กลายเป็นความจริง.
เกินการ : ก. มากกว่าที่ต้องประสงค์ เช่น แก่เกินการ เอาของมาเกินการ.
เกินกิน : ว. กินไม่ดีเพราะแก่เกินไป เช่น อ้อยท่อนนี้แก่เกินกิน.
เกินคน : ว. ยิ่งกว่าคนสามัญ เช่น ฉลาดเกินคน เลวเกินคน.
เกินงาม : ว. มากไปจนหมดงาม เช่น แต่งตัวเกินงาม.
เกินดี : ว. เลยไปจนหมดดี เช่น ทําเกินดี คือใช้ให้ไปทําอะไร แต่ทําจนเกินต้องการ เรียกว่า ทําเกินดี.
เกินตัว : ว. เกินฐานะ เช่น ใช้จ่ายเกินตัว, เกินสภาพปรกติ เช่น รู้เกินตัว ทำงานเกินตัว.
เกินไป : ว. คําประกอบท้ายคําวิเศษณ์ เพื่อเน้นความหมาย แสดงว่าเกินกําหนด เกินพอดี เช่น กินมากเกินไป ดีเกินไป สุกเกินไป.
เกินหน้า, เกินหน้าเกินตา : ว. เกินกว่า เด่นกว่า หรือดีกว่าฐานะ ของตนเองหรือของคนอื่น.
เกินเลย : ก. แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ, เหลื่อมล้ำทางจํานวน.
จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ : สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้ว ข้างหน้าและแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง.
ถึงเป็นถึงตาย : ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้ กันอย่างถึงเป็นถึงตาย.
ปรักปรำ : [ปฺรักปฺรํา] ก. กล่าวโทษหรือให้การใส่ร้ายเกินความเป็นจริง.
ปลาตกน้ำตัวโต : (สํา) น. สิ่งที่เสียหรือสูญหายไปมักดูมีค่ามากเกิน ความเป็นจริง.
เป็นบ้าเป็นหลัง : ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
โม้ : (ปาก) ว. โว, พูดเกินความจริง.
ยกยอ : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง.
ยกยอปอปั้น : (ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขา ไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง.
ระบายสี : ก. ลงสี, แต้มสี, ป้ายสี, เช่น ระบายสีภาพทิวทัศน์ด้วยสีน้ำ; เสริมแต่งเกินความจริง เช่น เขาระบายสีข่าวเสียจนเชื่อไม่ลง. ว. ที่เสริมแต่งเกินความจริง เช่น ข่าวระบายสี.
หนวกหู : ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉัน หนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.
อวดอ้าง : ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกิน ความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไป จากความจริงมาประกอบ.
กำไร : น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบําเพ็ญบารมีสี่อสงไขยกําไรแสนมหากัป.
ไกร ๒ : [ไกฺร] ว. ยิ่ง เช่น เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา. (ยวนพ่าย), ใหญ่, มาก, เกิน; กล้า, เก่ง.
ข้อเท็จจริง : น. ข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง; (กฎ) ข้อความหรือเหตุการณ์ที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นจริง (แตกต่างกับ ข้อกฎหมาย).
ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
ดังจริง : ว. อย่างจริง, จริงอย่างนี้.
ทหารกองเกิน : (กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มี อายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ พร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหาร กองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยการรับราชการทหารแล้ว.
ที่จริง : ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความ แสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
ทีเล่นทีจริง : (สํา) ก. แสร้งทําเล่น ๆ หรือล้อหลอกเป็นการลองเชิง แต่เมื่อเห็นเขาเผลอตัวหรือไม่ว่าก็เอาจริง, เล่นก็ได้ จริงก็ได้.
เท็จจริง : ว. จริงเท่าที่ปรากฏ.
แท้ที่จริง : ว. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.
แน่ ๑ : ว. แท้, จริง, ไม่เป็นอื่น, เช่น ทําแน่ ไปแน่; เก่ง, มีฝีมือดี, เช่น คนนี้ มือแน่มาก.
ใบกองเกิน : (กฎ) น. ใบสําคัญทหารกองเกิน ที่นายอําเภอออก ให้แก่ชายซึ่งมีสัญชาติไทย และมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี ที่ได้ไปลง บัญชีทหารกองเกิน.
ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์, ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ : (สํา) ก. หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าใฝ่สูงจนเกินศักดิ์ อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์.
รู้ไม่จริง : ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของ เพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง.
ล่วงเกิน : ก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณี หรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
แล้ : ว. สุดกําลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กําลังหามหรือคอน เป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง, ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.
เศษเกิน : (คณิต) น. จํานวนจริงที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ๑ เช่น ๓๒
ส่วนเกิน : น. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญ ไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน.
เหลือเกิน : ว. ยิ่งนัก, เกินควร, เต็มที.
อธิก : [อะทิกะ, อะทิกกะ] ว. ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ, ใช้ว่า อธึก ก็มี. (ป., ส.).
อธึก : ว. อธิก, ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ.
กองเกิน : น. ผู้ขึ้นทะเบียนรับราชการทหาร แต่ทางการยังไม่เรียก เข้ารับราชการ.
โดยจริง : ว. ตามความมุ่งหวัง, ตามความประสงค์.
เป็นจริงเป็นจัง : ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นลํ่าเป็นสัน.
เผาจริง : (ปาก) ก. จุดไฟเผาศพ, นําดอกไม้จันทน์ ธูป เทียนใส่ใน ไฟเผาศพ.
พูดจริงทำจริง : ก. ทําได้อย่างที่พูดไว้, รักษาคําพูด.
ไม้จริง : น. คำรวมเรียกไม้ต่าง ๆ ที่มีเนื้อแข็ง เว้นไม้ไผ่.