Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เก็ก , then กก, เก็ก, เก๊ก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เก็ก, 62 found, display 1-50
  1. เก๊ก : (ปาก) ก. วางท่า; ขับไล่. (จ.).
  2. กก ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกดว่า แม่กก หรือ มาตรากก.
  3. กก ๒ : น. โคน เช่น กกไม้, ต้น เช่น กกขา, ลําต้น เช่น กกเสา.
  4. กก ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชุ่มแฉะ ชนิดลําต้นกลมใช้ทอ หรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลม หรือ กกเสื่อ (Cyperus corymbosus Rottb., C. tegetiformis Roxb.) ที่ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา (C. alternifolius L.) กกสามเหลี่ยม [Schoenoplectus grossus (L.f.) Palla] กกขนาก หรือ กกกระหนาก (C. difformis L.).
  5. กก ๔ : ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอา เรื่องไปกกไว้.
  6. กก ๕ : (ถิ่น-พายัพ) ก. ตัด, บั่น, เช่น กกกิ่ง กกยอด.
  7. กก ๖ : น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็น ด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
  8. กก ๗ : ดู กะวะ.
  9. เก๊กหน้า : (ปาก) ก. ตีหน้าขรึมหรือทําหน้าตายเป็นต้น.
  10. กระทิกกระทวย : ว. ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวย รวยระรื่นจนสิ้นตัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  11. กระยึกกระหยัก : ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, ยึกยัก ก็ว่า.
  12. ปูดกกส้มมอ : (ถิ่น-อีสาน) น. โกฐพุงปลา. (ดู โกฐพุงปลา ที่ โกฐ).
  13. ยุกกระบัตร : น. ยกกระบัตร.
  14. กะวะ ๒ : น. ชื่อนกเงือกชนิด Buceros bicornis ในวงศ์ Bucerotidae โคนปากด้านบนมีลักษณะโหนกคล้ายกล่องขนาดใหญ่ คอสีขาว ปีกสีดําพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางสีขาวพาดดํา, กก หรือ กาฮัง ก็เรียก.
  15. กกขนาก : ดู กก.
  16. กิโลกรัม : น. ชื่อมาตราชั่งน้ำหนัก เท่ากับ ๑,๐๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า กก., (ปาก) เรียกสั้น ๆว่า กิโล หรือ โล. (ฝ. kilogramme).
  17. คำตาย : น. คําสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคําในมาตรา กก กด กบ.
  18. : พยัญชนะตัวต้น เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก.
  19. กงโก้ : (ปาก) ว. โก่ง ๆ โค้ง ๆ เช่น ยืนกงโก้, หลังโกงไม่น่าดู เช่น ผอมกงโก้, เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้ กงกก, โกงโก้ ก็ว่า.
  20. กรรม ๒, กรรม- ๒ : [กํา, กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทํา เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรม ของกริยา กิน.
  21. กระซู่ : น. ชื่อแรดชนิด Dicerorhinus sumatrensis ในวงศ์ Rhinocerotidae มี ๒ นอ ขนดกกว่าแรดชนิดอื่น เป็นแรดขนาดเล็กที่สุด.
  22. -กระทวย : ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.
  23. กระทำ ๒ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
  24. กระเบิก : (กลอน) ก. เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. (อนิรุทธ์).
  25. กระลาพิม : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).
  26. กระลาศรี : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล).
  27. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  28. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  29. กรูด ๑ : [กฺรูด] (โบ) น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คําหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.
  30. ก หัน : น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
  31. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  32. กะกร้าว : (กลอน) ว. มีเสียงอย่างขบฟันดังกร้วม ๆ, (โบ) เขียนเป็น กกร้าว ก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  33. โกฐพุงปลา : น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้น หลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย (T. chebula Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ.
  34. : พยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.
  35. ขนาก : [ขะหฺนาก] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Juncellus inundatus C.B. Clarke ในวงศ์ Juncaceae ขึ้นอยู่ในทุ่งนาและริมแม่นํ้าคล้ายกก, กระหนาก ก็เรียก.
  36. โขก : ก. ควํ่าภาชนะเป็นต้นแล้วเคาะลงที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง, กิริยาที่ควํ่าหน้า ลงแล้วเอาหน้าผากกระแทกพื้นเป็นต้น เช่น เอาหน้าผากโขกพื้น.
  37. : พยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
  38. คุ่ม ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Turnicidae และ Phasianidae ตัวกลม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ วงศ์แรก ตีนมี ๓ นิ้ว ตัวผู้กกไข่ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก (Turnix sylvatica) คุ่มอืดใหญ่ (T. tanki) และคุ่มอกลาย (T. suscitator) วงศ์หลังตีนมี ๔ นิ้ว มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี (Coturnix chinensis) คุ่มอกดํา (C. coromandelica) และคุ่มญี่ปุ่น (C. japonica).
  39. : พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ
  40. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  41. ชนกลุ่มน้อย, ชนหมู่น้อย : น. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่ อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือเชื้อชาติอื่นที่มีจํานวนมากกว่า.
  42. ชะโด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมี จํานวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒–๙๕ เกล็ด ข้างลําตัวมีแถบสีดําเรียงคู่กันจากนัยน์ตาถึงหาง ระหว่างแถบ เป็นสีแดง แถบนี้อาจแตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก.
  43. ซึ่ง : ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขา อยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็น ผู้ถูกกระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
  44. ตะกรับ ๒ : [-กฺรับ] น. ชื่อกกชนิด Cyperus procerus Rottb. ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม ใบยาวและแคบ ดอกสีนํ้าตาล.
  45. นางล้อม : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Proiphys amboiensis (L.) Hebert ในวงศ์ Amaryllidaceae เชื่อว่าป้องกันขโมยได้, ว่านนางล้อม ก็เรียก. (๒) ชื่อกกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  46. นิบาตชาดก : น. คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น เอกกนิบาตชาดก ทุกนิบาตชาดก.
  47. ประจุไฟฟ้า : น. อนุภาคที่แสดงอํานาจไฟฟ้าซึ่งได้แก่ โปรตอน และอิเล็กตรอน วัตถุใดที่มีจํานวนโปรตอนมากกว่าจํานวน อิเล็กตรอน ก็กําหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าบวก แต่ถ้ามีจํานวน อิเล็กตรอนมากกว่าจํานวนโปรตอน ก็กําหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุ ไฟฟ้าลบ.
  48. ฟรักโทส : [ฟฺรัก–] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่ง ประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดคีโทเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๑๐๒ ? ซ. มีปรากฏในผลไม้สุกที่มีรสหวาน นํ้าผึ้ง นํ้าต้อยของ ดอกไม้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทราย, เลวูโลส ก็เรียก. (อ. fructose).
  49. ฟัก ๒ : ก. กกไข่ให้เป็นตัว, ทําให้ไข่อบอุ่นเพื่อให้เป็นตัว.
  50. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  51. [1-50] | 51-62

(0.0777 sec)