เก้อเขิน : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย.
เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
เขิน ๓, เขิน ๆ : ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
วุ้ย : อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ เก้อเขิน หรือไม่พอใจ เป็นต้น (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง) เช่น วุ้ย น่ารำคาญ.
เขิน ๑ : น. ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า; เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วย รักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขิน ซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
เขิน ๒ : ว. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลําคลอง หนอง บึง เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน; สั้นหรือสูงเกินไป จนดูขัดตา เช่น นุ่งผ้าเขิน.
ยิ้มเก้อ, ยิ้มค้าง : ก. อาการที่ยิ้มให้เขาแล้วเขาไม่ยิ้มตอบ ทำให้รู้สึกเก้อเขิน.
เจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิทมีอาการเก้อเขิน.
หน้าเจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.
เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
ดอน : น. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างนํ้า, เนิน, โคก, โขด, เขิน; (ถิ่น-อีสาน) เรียกเกาะในแม่นํ้าว่า ดอน; คําประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี.
ยิ้มแก้เก้อ, ยิ้มแก้ขวย : ก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา.
หน้าเก้อ : ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.
แก้ขวย, แก้เขิน : ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.
ขัดเขิน : ก. กระดากอาย.
เขิบ : (ถิ่น) ว. ดอน, เขิน.
สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย : ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่ หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาว พอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
กอ ๑ : น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย.
กอ ๒ :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒).
กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
ขน ๑ : น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
ขน ๓ : น. ชื่อหญ้าชนิด Brachiaria mutica (Forssk.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นในที่ชื้นและชายนํ้า ข้อ กาบใบ และใบมีขน ใช้เป็นอาหารสัตว์, ปล้องขน ก็เรียก.
ขน ๔ : (ถิ่น-พายัพ) ก. กรน เช่น คนนอนหลับขน ว่า คนนอนหลับกรน.
ขันโตก : (ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทําด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่าง เครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็น วงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
จั๊กเดียม : [จั๊กกะ-] ก. กระดาก, เขินอาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ จั๊กจี้ เป็น จั๊กจี้จั๊กเดียม.
ดวงเดือนประดับดาว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมาง ค้างเขินขวย เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง.
ทะลอก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Parinari anamense Hance ในวงศ์ Chrysobalanaceae ไม้ใช้ทําเครื่องบนและเครื่องล่างของเรือน เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันนํ้าซึมและผสมยางรักทําเครื่องเขิน.
ธงนำริ้ว : น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
มังกุ ๒ : ว. เก้อ, กระดาก. (ป.).
ยิ้มแหย : [แหฺย] ก. ยิ้มอย่างเก้ออาย.
ละม่อม : ว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคํา ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความ ว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
ละเมียดละไม : ก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวนละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านาง ได้ละเมียดละไม.
ลุ้ง : น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทําด้วยโลหะมีทองเหลือง และเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็น ห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้; โลงสําหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.
วางหน้า : ก. ตีหน้า เช่น วางหน้าไม่สนิท วางหน้าเก้อ ๆ.
ไศล, ไศล : [สะไหฺล, ไสละ] น. เขาหิน เช่น โขดเขินเนินไศล. (ส. ไศล).
สัพยอก : [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่ง ตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
หน้าแหง : [-แหฺง] น. หน้าแสดงความเก้อหรือจนปัญญา.
หาด : น. เนินที่ลาดลงไปในนํ้าหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางนํ้า ส่วนมาก เป็นเนินทราย, ที่เป็นเนินกรวดหรือเนินหิน เรียกว่า หาดกรวด หาดหิน ก็มี.
แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
แหงนเต่อ, แหงนเถ่อ : ว. ค้างอยู่; โดยปริยายหมายความว่า เก้อ, ไม่สม ปรารถนา.
แหย : [แหฺย] ว. อาการที่ไม่สู้ใครหรือเก้ออาย.
เอ๊ว : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อเยาะให้เก้อ, เฮ้ว ก็ว่า.
โอ ๓ : น. ภาชนะเครื่องเขินอย่างหนึ่งสําหรับใส่ของ รูปคล้ายขัน มีขนาด ต่าง ๆ, ต่อมาได้อนุโลมเรียกขันเคลือบทรงสูงว่า ขันโอ.
กอ ๓ :
ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑.
ขน ๒ : ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจํานวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยบรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น.
กอและ ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เรียกอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก ว่า ไก่กอและ.
ขนทรายเข้าวัด : ก. ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
ขนพอง : น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น.