Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เก้าอี้นั่ง, เก้าอี้, นั่ง , then กาอนง, เก้าอี้, เก้าอี้นั่ง, นง, นั่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เก้าอี้นั่ง, 334 found, display 1-50
  1. นั่ง : ก. อาการที่หย่อนก้นให้ติดกับพื้นหรือที่รองเช่นเก้าอี้.
  2. เก้าอี้ : น. ที่สําหรับนั่ง มีขาและพนักพิง มักยกย้ายไปมาได้ มีหลายชนิด ถ้ามีรูปยาวใช้นอน เรียกว่าเก้าอี้นอน, ถ้าใช้โยกได้ เรียกว่า เก้าอี้โยก, ลักษณนามว่า ตัว. (จ.).
  3. ปีฐะ, ปีฐกะ : [-ถะกะ] น. ตั่ง, ที่นั่ง, เก้าอี้, ม้า. (ป., ส.).
  4. นั่งขัดตะหมาด : (ปาก) ก. นั่งขัดสมาธิ.
  5. นั่งขัดสมาธิ : [สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
  6. นั่งคุกเข่า : ก. นั่งโดยวิธีย่อเข่าลงให้ติดพื้น แล้วหย่อนก้นลงบนส้นเท้า.
  7. นั่งทาง : ก. ดักคอยทําร้ายกลางทาง, นั่งคอยระวังเหตุ.
  8. นั่งทางใน : ก. นั่งเข้าสมาธิเพื่อหยั่งรู้ด้วยพลังจิต.
  9. นั่งเทียน : น. เรียกวิธีทํานายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตร เป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทํานายไปตามลักษณะของรูปที่ ปรากฏในนํ้านั้น.
  10. นั่งปรก : [ปฺรก] ก. นั่งทําใจให้เป็นสมาธิกํากับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยัง วัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ.
  11. นั่งโป่ง : ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง.
  12. นั่งพับเพียบ : ก. นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้าง ให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน.
  13. นั่งยอง ๆ : ก. นั่งโดยวิธีชันเข่าทั้ง ๒ ข้าง ไม่ให้ก้นถึงพื้น.
  14. นั่งร้าน : น. โครงร่างที่ทําด้วยไม้หรือโลหะ สําหรับนั่งหรือปีนป่ายใน การก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก.
  15. นั่งราว : ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจําที่ บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
  16. นั่งเล่น : ก. นั่งพักผ่อน.
  17. นั่งห้าง : ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์.
  18. นั่งกินนอนกิน : ว. มีความสุขสบายมากโดยไม่ต้องทํามาหากินอะไร.
  19. นั่งซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า.
  20. นั่งแท่น : ก. ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจวาสนา.
  21. นั่งในหัวใจ : (สํา) ก. รู้ใจ, ทําถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้.
  22. นั่งเมือง : ก.
  23. คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  24. ปฐมเทศนา : [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถม เทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมาย สําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทํา ท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
  25. ลุก : ก. เคลื่อนขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน เช่น ลุกจากเก้าอี้ ลุกจากที่นอน, ตั้งขึ้น เช่น ขนลุก; เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย. (จารึกสยาม); ไหม้โพลงขึ้น เช่น ไฟลุก.
  26. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  27. สะเออะ ๑ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มี หน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูด เป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน.
  28. ตกที่นั่ง : ก. ตกอยู่ในฐานะ, ตกอยู่ในภาวะ, เช่น ตกที่นั่งลําบาก ตกที่นั่งเสียเงิน.
  29. ทรุดนั่ง : ก. ลดตัวลงนั่ง.
  30. ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
  31. สะบัดลุกสะบัดนั่ง : ก. ผุดลุกผุดนั่ง, มีอาการคล้ายกระวนกระวายใจ เพราะเดี๋ยวลุกเดี๋ยวนั่ง.
  32. หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.
  33. หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.
  34. นง : น. นาง (ใช้นําหน้าคําอื่น).
  35. ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง : (สํา) ก. พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา.
  36. ลิงนั่งแป้น : (สำ) น. ผู้ที่เขายกให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แต่ไม่มีอำนาจ อะไรจริงจัง ต้องทำตามที่เขาสั่ง.
  37. ประทับ : ก. (ราชา) อยู่ที่, อยู่กับที่, เช่น ประทับที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน, (ราชา) นั่ง เช่น ประทับบนพระราชอาสน์; แนบอยู่, แนบชิด, แนบลง, เช่น กอดประทับอก เอาปืนประทับบ่า.
  38. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  39. อกรรมกริยา : [อะกํากฺริยา, อะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
  40. อิริยาบถ : น. อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (ป.).
  41. ครุภัณฑ์ : [คะรุพัน] น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  42. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  43. นปุงสกลิงค์, นปุงสกลึงค์ : [นะปุงสะกะ] (ไว) น. เพศของคําที่ไม่เป็นเพศชายและเพศหญิง เช่น ภูเขา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ดิน นํ้า. (ป., ส. นปุ?สก = กะเทย + ลิงฺค = เพศ).
  44. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  45. ก้นหนัก : ว. ไปนั่งคุยอยู่นาน ไม่ยอมกลับง่าย ๆ.
  46. ก้นอ้อย : น. เนื้อก้น ๒ ข้างตรงที่นั่งทับ.
  47. กมลาสน์ : [กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
  48. กระจองหง่อง, กระจ๋องหง่อง : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
  49. กระเช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะ ขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่ กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครง ของล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  50. กระดักกระเดี้ย : ว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกําลังกาย, เช่น เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดักกระเดี้ย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-334

(0.1337 sec)