เขียนไทย : น. วิชาเขียนภาษาไทยตามคําบอกของครู เพื่อฝึกเขียน ตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.
เขียนด้วยมือลบด้วยตีน : (สํา) ก. ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง.
เขียนทอง : น. เรียกผ้าลายแต้มทองสําหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง.
เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
ข้อเขียน : น. เรียกการสอบแบบเขียนคําตอบว่า สอบข้อเขียน, มักใช้คู่กับ สอบสัมภาษณ์.
วาดเขียน : น. วิชาว่าด้วยการเขียนรูปภาพต่าง ๆ.
สอบข้อเขียน : ก. สอบความรู้โดยให้ผู้สอบเขียนคำตอบลงในกระดาษ.
แม้นเขียน : ดู กระหนกนารี.
พลำภัง : [พะ] (โบ) น. ชื่อกรมการปกครองในกระทรวงมหาดไทย, เขียน เป็น พลัมภัง พลําภังค์ ก็มี.
ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
สรตะ : [สะระ] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกต หรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียน เป็นสะระตะ ก็มี.
เกษียน : [กะเสียน] น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคําสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน. ก. เขียน. ว. เล็กน้อย. (แผลงมาจาก เขียน).
ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
โย้ : ว. เอนเพราะไม่ตั้งตรงทรงตัวตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น เรือนโย้ เขียน หนังสือโย้; ยื่นออกกว่าปรกติ เช่น ท้องโย้ พุงโย้.
เรข, เรขา : ก. เขียน. ว. ดังเขียน, งาม. (ป., ส. เรขา ว่า ลาย, เส้น).
ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
ศิรา : น. นํ้า, ลําธาร, คลอง, ท่อ. (เขียน สิลา ก็มี).
หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
ห้ามไม่ให้ : (สำ) ก. เป็นการย้ำไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามไม่ให้ เขียน ห้ามไม่ให้พูด.
อัดสำเนา : ก. พิมพ์อัดกระดาษไขที่พิมพ์ เขียน เจาะปรุ หรือทําแบบ ลวดลายแล้ว ด้วยเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้สําเนาจํานวนมาก ตามต้องการ, เรียกเครื่องพิมพ์ชนิดนั้นว่า เครื่องอัดสําเนา.
ก ข ไม่กระดิกหู : [โบ อ่านว่า กอข้อ-] (สํา) น. ผู้ที่เรียนหนังสือ แล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้.
กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
กบิล ๒ : [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง; กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คํานี้บางทีเขียนเป็น กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด, จําพวก, ตระกูล).
กบี่ : [กะ-] น. ลิง, นิยมเขียนเป็น กระบี่. (ป., ส. กปิ).
กบูร : [กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนม อนนกบูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), คํานี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.
กปณ : [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
กปณก : [กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่ง น้นน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป.).
กปณา : [กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กปณ)
กรณฑ์ ๒ : [กฺรน] (คณิต) น. เรียกเครื่องหมาย ?ว่า เครื่องหมายกรณฑ์; วิธีหาค่าจากจํานวนจริงที่เขียนไว้ภายในเครื่องหมายกรณฑ์ เช่น ? จะได้ ๗ ? จะได้ -๓.
กรร- ๓ : [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
กรรกศ : [กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไป กรรกษ บารนี ฯ. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
กรรเจียกจอน : น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
กรรณิการ์ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Nyctanthes arbortristis L. ในวงศ์ Oleaceae ใบคาย ดอกหอม กลีบขาว หลอดดอก สีแสด ใช้ย้อมผ้า, เขียนเป็น กณิการ์ หรือ กรณิการ์ ก็มี.
กรรตุวาจก : [กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการก คือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, เช่น กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทํา หน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทํา เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทํา) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทํา). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
กรรแทก : [กัน-] ก. กระแทก, เขียนเป็น กันแทก ก็มี เช่น หัวล้านชาวไร่ ไล่ปาม เข้าขวิดติดตาม กันแทกก็หัวไถดินฯ. (สมุทรโฆษ).
กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
กระกัด : (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
กระโจมทอง : น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับ หลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.
กระชัง ๓ : (โบ) น. น้ำปัสสาวะแห่งทารก, น้ำคร่ำ, เขียนเป็น กะชัง ก็มี. (มิวเซียม).
กระดานชนวน : น. กระดานทําด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ทำด้วยไม้ทาสมุกบ้างสําหรับเขียนหนังสือ.
กระดาษ : น. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทําจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ.
กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
กระบาล : [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบาน ศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
กระยาง ๑ : น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
กระยารงค์ : น. สีสําหรับวาดเขียน.