Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เขียวชอุ่ม, เขียว, ชอุ่ม , then ขยวชอม, เขียว, เขียวชอุ่ม, ชอม, ชอุ่ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เขียวชอุ่ม, 272 found, display 1-50
  1. ชอุ่ม : [ชะ] ว. ชุ่ม, สดชื่น, เช่น เขียวชอุ่ม;ชุ่มด้วยละอองนํ้า จนเห็นเป็นมืดคลุ้มหรือมืดมัว เช่น ท้องฟ้าชอุ่ม.
  2. เขียว : ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว;กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว.
  3. เขียว : น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ (Chrysopelea ornata) ในวงศ์ Colubridae ลําตัวเรียวยาว อาศัย ตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษ อ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Trimeresurus albolabris) ในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย.
  4. เขียว ๆ แดง ๆ : (สำ) น. กลุ่มผู้หญิงที่แต่งตัวหลากสี เช่น ไปดูเขียว ๆ แดง ๆ นอกบ้านเสียบ้าง.
  5. เขียว : (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, เคียว หรือ เครียว ก็ใช้.
  6. เขียวพระอินทร์ ๒ : น. ชื่องูเขียวชนิดหนึ่ง. (ดู เขียว๓).
  7. เขียวหวาน ๑ : ดูใน เขียว.
  8. เขียวขี้ม้า : ว. สีกากีแกมเขียว.
  9. เขียวพระอินทร์ ๑ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare ในวงศ์ Labridae ลําตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่ สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็ก มีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่ บริเวณกลางครีบหลังและโคน ครีบหางมีจุดใหญ่สีดํา.
  10. เขียวเสวย : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว รสมัน.
  11. เขียวหวาน ๒ : น. ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด Citrus reticulata Blanco เปลือกบาง ผลเขียว รสหวาน.
  12. เขียวหางไหม้ : น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาล ทุกชนิดออกหากิน เวลากลางคืน มักมีนิสัยดุมีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ ท้องเขียว (Trimeresurus popeorum).
  13. เขียวหวาน ๑ : น. ชื่อแกงเผ็ดที่ใช้พริกขี้หนูสดแทนพริกแห้ง.
  14. ดงดิบ : น. ป่าในเขตอากาศร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีฝนตกชุกเกือบ ตลอดปี มีต้นไม้สีเขียวไม่ผลัดใบ, ป่าที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปี.
  15. ดิบ : ว. ยังไม่สุก เช่น มะม่วงดิบ, ยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ข้าวดิบ; เรียกสิ่ง ที่ยังไม่ได้ทําให้สําเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า วัตถุดิบ, เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ, เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบว่า ผ้าดิบ; โดย ปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ, เรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปีว่า ดงดิบ.
  16. กากีแกมเขียว : ว. สีเขียวขี้ม้า.
  17. น้ำมันเขียว : น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้าย การบูร กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด ใช้สําหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้.
  18. แมลงวันหัวเขียว : น. ชื่อแมลงหลายชนิดที่มีลักษณะทั่วไปเหมือนแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า อกและท้องโดยทั่วไปสีเขียว เขียวอมนํ้าเงิน หรือ นํ้าเงินเป็นมันวาว ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Calliphoridae ที่พบบ่อยตามบ้านเรือน คือ ชนิด Chrysomyia megacephala.
  19. ยาเขียว : น. ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
  20. หน้าเขียว : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
  21. หมากเขียว : น. ชื่อปาล์มชนิด Ptychosperma macarthurii Nichols. ในวงศ์ Palmae ก้านและใบเขียว.
  22. ข่ำเขียว : (กลอน) ว. รีบ, ด่วน, เร่ง.
  23. ตกเขียว : น. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อ ข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลง กันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทน เงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดย ปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็น ค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียน จบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้ หนี้คืนให้แก่นายทุน.
  24. เถาวัลย์เขียว : ดู ย่านาง.
  25. ฟกช้ำดำเขียว : ว. บวมชํ้าตามร่างกายเพราะถูกกระทบ กระแทกอย่างแรง.
  26. ยาเขียว : ดูใน ยา.
  27. ยาเขียว : ดู รางจืด(๑).
  28. หลังเขียว : ดู กุแล.
  29. เหม็นเขียว : ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด.
  30. เขี้ยวหนุมาน : น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอด แหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาว ขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา.
  31. ไข่แหน : [-แหฺน] น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Wolffia globosa (Roxb.) Hartog et Plas ในวงศ์ Lemnaceae เกาะกันเป็นกลุ่มลอยอยู่ในนํ้า ลักษณะเป็นเม็ด เขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ ขนาดเม็ดทราย ไม่มีรากcเป็นพืชที่เล็กที่สุด ในจําพวกพืชมีดอก กินได้, ไข่นํ้า หรือ ผํา ก็เรียก.
  32. เครียว : [เคฺรียว] (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, โบราณเขียนเป็น ครยว ก็มี เช่น บควรคิดอยู่ย้งง ควรครยว. (ยวนพ่าย), เคียว หรือ เขียว ก็ใช้.
  33. เคียว ๒ : ก. รีบไป, รีบมา, เครียว หรือ เขียว ก็ใช้.
  34. ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
  35. โนรี ๑ : น. ชื่อนกปากขอในวงศ์ Loriidae คล้ายนกแก้ว ตัวมีสีสันสวยงาม เช่น สีแดงสดหรือเลือดหมู นํ้าเงิน ม่วง เขียว ปีกสีเขียวหรือเหลือง หางสั้น มีถิ่นกําเนิดอยู่ในหมู่เกาะนิวกินี อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มีหลายชนิด เช่น ชนิด Lorius chlorocercus, L. tibialis, L. lory.
  36. เบญกานี ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Polyscias scutellaria (Burm.f.) Fosberg ในวงศ์ Araliaceae แผ่นใบแบน ขอบใบห่อขึ้นเล็กน้อย ใบด้าน บนเป็นลายด่างสีขาวนวล เขียว และเขียวอ่อนปนกัน, ครุฑ กระทง ก็เรียก.
  37. เบญจรงค์ : น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียกเครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วย เบญจรงค์ ชามเบญจรงค์.
  38. เป็ด ๑ : น. ชื่อสัตว์ปีกในวงศ์ Anatidae ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้ว มีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายนํ้า ตัวมีหลายสี เช่น นํ้าตาล ขาว เขียว ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายนํ้าเก่ง กินปลา พืชนํ้า และสัตว์เล็ก ๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดหัวเขียว (Anas platyrhynchos).
  39. แม่สี : น. กลุ่มสีซึ่งสามารถผสมออกมาเป็นสีอื่น ๆ ได้ทุกสี มี ๕ สี คือ แดง เขียว (คราม) เหลือง ดำ ขาว เรียกว่า เบญจรงค์.
  40. ราชาวดี ๑ : น. เรียกการลงยาชนิดหนึ่งสําหรับเคลือบทองให้เป็นสีต่าง ๆ เช่น เขียว แดง ฟ้า ว่า ลงยาราชาวดี. (เปอร์เซีย).
  41. รุ้ง ๑ : น. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. ว. กว้างโค้ง, โค้ง เช่น ขุดรุ้งรางเข้าไป.
  42. สนุกเกอร์ : [สะนุก] น. ชื่อกีฬาในร่มชนิดหนึ่งเล่นบนโต๊ะบิลเลียด ผู้เล่นใช้ไม้ แทงลูกเรียกว่า ไม้คิว แทงลูกกลมสีขาวให้กระทบลูกกลมสีต่าง ๆ ซึ่งมีลูกแดง ๑๕ ลูก ลูกดํา ชมพู นํ้าเงิน นํ้าตาล เขียว และเหลือง อีก อย่างละ ๑ ลูก ให้ลงหลุมทีละลูกตามที่กําหนดไว้ในกติกา หรือทําให้ คู่ต่อสู้ไม่สามารถแทงลูกสีขาวให้กระทบกับลูกที่ต้องถูกกระทบได้ ซึ่งเรียกว่า ทําสนุก. (อ. snooker).
  43. หงส์หยก : น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กชนิด Melopsittacus undulatus ในวงศ์ Psittacidae ตัวมีหลายสี เช่น เขียว เหลือง ฟ้า ขาว ปากสีนํ้าตาล กินเมล็ดพืช มีถิ่นกําเนิด ในประเทศออสเตรเลีย.
  44. ชรอุ่ม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชร อุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
  45. กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  46. กบบัว : น. ชื่อกบชนิด Rana erythraea ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว ขนาดเล็กกว่ากบนา มักอาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียงจิ๊ก ๆ บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก.
  47. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  48. กระเจี๊ยบ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Abelmoschus esculentus (L.) Moench ในวงศ์ Malvaceae ผลสีเขียว ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้เป็นผัก, กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย หรือ มะเขือมอญ ก็เรียก.
  49. กระดาด, กระดาดขาว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia indica Schott ในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทํายา หัวทําให้สุก แล้วกินได้, เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก.
  50. กระดาดดำ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Alocasia และ Xanthosoma วงศ์ Araceae คือ ชนิด Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ลักษณะคล้ายกระดาด ใบสีเขียวเข้มหรือม่วงดำ ใช้ทํายาได้, ปึมปื้อ หรือ เอาะลาย ก็เรียก; และชนิด Xanthosoma nigrum (Vell.) Mansf. ใบสีเขียวเข้มหรือม่วง โคนใบเว้าลึกคล้ายหัวลูกศร หัว ใบ และก้านกินได้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-272

(0.1398 sec)