เขื่อง ๑ : ว. ค่อนข้างใหญ่, ค่อนข้างโต.
เขื่อง ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ที่ซึ่งปลาช่อนปลาดุกอาศัยอยู่เวลาไข่.
ของ : น. สิ่งต่าง ๆ. บ. แห่ง (ใช้สําหรับนําหน้านามที่เป็นผู้ครอบครอง).
คุยเขื่อง, คุยโต : (ปาก) ก. พูดจาแสดงความใหญ่โต.
กรวด ๑ : [กฺรวด] น. ก้อนหินเล็ก ๆ เขื่องกว่าเม็ดทราย. (ข. คฺรัวสฺ).
กระบก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก.
กะทกรก : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax scandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ตามลําต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่า เม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, น้ำใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดรเรียก เยี่ยวงัว. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง มีกาบเป็นฝอยหุ้ม ยอดนํามาต้มใช้เป็นผัก, เถาเงาะ เงาะป่า หญ้ารกช้าง เถาสิงโต ถลกบาตร หรือ กระโปรงทอง ก็เรียก.
คนทา : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนาม ทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราว หัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทํายาได้ กิ่งใช้ทําไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้.
ฆ้องเหม่ง : น. ฆ้องขนาดเขื่องกว่าฆ้องกระแต หนามาก มีเชือกร้อยรู ทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สําหรับถือตีประกอบจังหวะ.
ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
ของกำนัล : น. สิ่งของที่นําไปให้แก่ผู้ที่รักและนับถือ.
ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
ของขลัง : น. ของที่มีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สําเร็จ ได้ดังประสงค์.
ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
ของชำร่วย : น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและงานศพ.
ของเถื่อน : น. ของที่ผิดกฎหมาย.
ของร้อน : น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจําหน่ายให้ ถ้ารับ เอาไว้จะทําให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครอง จะทําให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
ของเล่น : น. ของสําหรับเด็กเล่นเพื่อให้สนุกหรือเพลิดเพลิน.
ของสงฆ์ : น. ของที่เป็นของวัด, ของที่สงฆ์ใช้ร่วมกัน, ของวัด ก็ว่า.
ของแสลง : น. ของที่กินแล้วทำให้โรคกำเริบ, สิ่งที่ไม่ถูกกับโรค.
ของหลวง : น. ของของสถาบันพระมหากษัตริย์, ของที่เป็นของ แผ่นดินหรือรัฐ.
ของหายตะพายบาป : (สํา) น. ของหายหรือเข้าใจว่าหายแล้ว เที่ยวโทษผู้อื่น.
ของไหว้ : น. ของที่ผู้น้อยนําไปให้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความคารวะ ในบางโอกาส; เครื่องเซ่น.
ของขบเคี้ยว : น. ของกินเล่นที่ไม่เจตนากินให้อิ่ม.
ของค้าง : น. ของกินที่เหลือข้ามคืน.
ของเค็ม : น. ของกินที่หมักหรือดองด้วยเกลือ.
ของเคียง : น. ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกินประกอบกับอาหาร บางชนิด, ราชาศัพท์ว่า เครื่องเคียง.
ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
ของว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, อาหารว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า เครื่องว่าง.
ของสงวน : น. นมหญิง.
ของหวาน : น. ขนม.
ของแห้ง : น. อาหารแห้งที่เก็บไว้กินได้นาน, เสบียงกรัง.
คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
ทรัพย์สินของแผ่นดิน : (กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของรัฐ.
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน : (กฎ) น. ทรัพย์สินใน พระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง.
ที่ดินของรัฐ : (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือ ทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
ใน : บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ, เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).
ปล่อยของ : ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ให้ของไปทําร้ายผู้อื่น เช่น เสกหนังควายเข้าท้องศัตรู.
ลองของ : ก. ทดลองดูว่าเครื่องรางของขลังนั้นจะขลังจริงหรือไม่, โดยปริยายหมายความว่า ลองดี.
เล่นขายของ : (ปาก) ก. ลักษณะการกระทําที่ไม่ถูกหลักเกณฑ์ ไม่จริงไม่จังเหมือนทำเล่น ๆ (มักใช้เป็นเชิงเปรียบเทียบ) เช่น ทำขนมขายนิด ๆ หน่อย ๆ เหมือนกับเด็กเล่นขายของ.
ข้าวของ : น. สิ่งของต่าง ๆ มีเครื่องใช้เครื่องประดับเป็นต้น.
วิ่งเก็บของ : ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้ว ไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ.
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
จำนวนอตรรกยะ : (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยม ไม่รู้จบประเภทไม่ซํ้าได้ เช่น รากที่ ๒ ของ ๒ (= ๑.๔๑๔๒๑๓๕...), p (= ๓.๑๔๑๕๙๒๖...).
ชคัตตรัย : [ชะคัดไตฺร] (แบบ) น. โลก ๓ เช่น ชคัตตรยาพดง ว่า ผู้เป็นยอด ของ โลก ๓. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
เซนติกรัม : [กฺรํา] น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ กรัม, อักษรย่อว่า ซก. (อ. centigramme).
เซนติเมตร : น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า ซม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า เซ็นต์. (อ. centimetre).
เซนติลิตร : น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ซล. (อ. centilitre).