หลาบ ๑ : ก. เข็ด, ขยาดกลัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข็ด เป็น เข็ดหลาบ.
เข็ด ๒ : ก. กลัวจนไม่กล้าทําเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว, หลาบจํา, ไม่กล้าสู้, เช่นในคําว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลํา เข็ดเขี้ยว.
หลาบ ๒ : (โบ) น. แผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นคล้ายใบลานใช้ในการจารึก เช่น หลาบเงิน คือ หิรัญบัฏ หลาบคำ คือ สุพรรณบัฏ.
เข็ด ๑ : ลักษณนามเรียกด้ายหรือไหมหลาย ๆ ไจรวมกัน.
เข็ดขยาด : ก. กลัวมากจนไม่กล้าทำ.
เข็ดข้อ, เข็ดข้อเข็ดลำ : ก. ไม่กล้าสู้เพราะคร้ามข้อคร้ามลํา.
เข็ดเขี้ยว : ก. ไม่กล้าสู้เพราะเคยต่อสู้กัน แล้วสู้ไม่ได้.
เข็ดฟัน : ก. เสียวฟันเพราะกินของเปรี้ยว.
กำราบ : [-หฺราบ] ก. ทําให้เข็ดหลาบ, ทําให้กลัว, ทําให้สิ้นพยศ, ทําให้สิ้นฤทธิ์.
นิคหกรรม : น. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).
ประจาน : ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
ผจาน : ก. เปิดเผยความชั่ว, ประจาน. (ข. ผฺจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
ขด ๑ : ก. ม้วนตัวให้เป็นวง ๆ เช่น งูขด, ทําให้เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เอาลวดมาขด, งอหรือทําให้งอ เช่น นอนขด ขดให้เป็นลวดลาย. น. สิ่งที่เป็นวง ๆ, ลักษณนามเรียกของที่เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เชือก ๓ ขด.
ขยาด : [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.
ไจ : น. ด้ายหรือไหมที่แยกจากเข็ดแล้วมัดผูกไว้เพื่อไม่ให้ยุ่ง, ลักษณนาม เรียกด้ายหรือไหมที่แยกออกจากเข็ดแล้วเช่นนั้น เช่น ด้ายไจหนึ่ง ด้าย ๒ ไจ.
ชรอ่ำ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้ แผ่นหงาย. (แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ชรอื้อ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ชะนุง : น. ไม้คู่สําหรับขึงเข็ดด้ายให้ตึง แล้วใช้แปรงขนหมีหวี เพื่อแยกเส้นด้าย.
ด้านไม้ : ก. ถูกตีมากจนชินเลยไม่รู้จักหลาบจํา.
ไน ๑ : น. เครื่องปั่นด้ายด้วยมือ และใช้ถ่ายด้ายที่ทําเป็นไจหรือเข็ดแล้วเข้าหลอด.
รมควันเด็ก : น. วิธีลงโทษเด็กที่ดื้อมาก ๆ อย่างหนึ่ง โดยเอากาบมะพร้าว แห้งเผาไฟให้ควันรมหน้ารมตาเด็กเพื่อให้สำลักควันจะได้เข็ด.
ระวิง ๑ : น. เครื่องสําหรับเอาเข็ดด้ายหรือไหมสวม เพื่อกระจายเส้นด้ายออก จากกัน เมื่อเวลาสาวเส้นด้ายจะได้ออกเป็นเส้น ๆ ไม่ขาด ไม่ยุ่ง. (รูปภาพ ระวิง)
หลาบจำ : ก. เข็ดจนไม่กล้าทําอีกต่อไป.
ขด ๒ : (ถิ่น-พายัพ) ก. ขยด, เขยิบ, กระเถิบ.
ก้านขด : น. ชื่อลายชนิดหนึ่งที่เขียนเป็นลายขดไปขดมา.
พด : ว. คด, งอ, ขด.
ก้นหอย : น. รอยเส้นขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างรูปก้นหอยมีที่ นิ้วมือเป็นต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ม้วนผมแบบก้นหอย.
กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
กระหนก ๑ : น. ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดน้ำ ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี.
กะเอว : น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
กิ้งกือ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
ขนด : [ขะหฺนด] น. ตัวงูที่ขด; ลูกบวบจีวร; โคนหางงู มักเรียกว่า ขนดหาง.
ขนหนู : น. เรียกผ้าที่มีลักษณะเป็นขนขดใช้ห่มหรือเช็ดตัวเป็นต้นว่า ผ้าขนหนู.
ครุคระ : [คฺรุคฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็ครุคระ ขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
คุด : ก. งอกงออยู่ภายในไม่โผล่ออกมาตามปรกติ เช่น หนวดคุด รากคุด, ขดงอ เช่น คุดขาเข้ามา.
คุดคู้ : ว. ขดตัวงอแขนงอเข่า เช่น นอนคุดคู้.
งวงช้าง ๒ : น. ชื่องูนํ้าจืดชนิด Acrochordus javanicus ในวงศ์ Colubridae ตัวนิ่ม เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มัก ขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ.
ดอกไม้รุ่ง : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยดินจุดใส่ในห่อกระดาษขด เหมือนไส้ไก่แขวนไว้ตามศาลาเพื่อจุดเวลาคํ่าให้มีแสงสว่างตลอดรุ่ง ใช้แทนโคม.
นาคปรก : [นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาค แผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาคอีกแบบหนึ่ง ประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกาย ไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.
ปีกตะไล : น. แผ่นไม้ไผ่บาง ๆ ที่ขดปิดหัวท้ายกระบอกตะไลเป็น รูปวงกลม.
ผ้าขนหนู : น. ผ้าที่มีลักษณะเป็นขนขด ใช้ห่มหรือเช็ดตัวเป็นต้น.
พดด้วง : น. เรียกเงินตราโบราณรูปขดกลมคล้ายตัวด้วง.
ม้วน : ก. หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งของ เช่นผ้าหรือกระดาษที่ขดหรือพันห่อตัวอยู่ เช่น ผ้าม้วนหนึ่ง กระดาษ ๒ ม้วน.
มัดหวาย : น. เรียกลายนิ้วมือที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอยว่า ลายมัดหวาย.
ลวดสปริง : [สะปฺริง] น. ลวดที่ทําเป็นขด ๆ สามารถยืดหยุ่นได้.
ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
ลายก้นหอย : น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่าง ก้นหอย, ลายถักที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอย.
ลายมัดหวาย : น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลาง อย่างก้นหอย.
ลำไส้ : น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับ ทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึม อาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.
เลี่ยมกาบกล้วย : ก. ตีแผ่นโลหะให้โค้งเหมือนกาบกล้วยและขด เป็นวงขนาดเท่าปากภาชนะ แล้วครอบลงที่ปากภาชนะและกวด ให้แนบสนิท.