เข่า : น. ส่วนที่ต่อระหว่างขาส่วนบนกับขาส่วนล่าง สําหรับคู้ขาเข้าและ เหยียดขาออก เช่น คุกเข่า ตีเข่า ขึ้นเข่า, ราชาศัพท์ว่า พระชานุ.
เข่าลอย : น. ท่าต่อสู้ของกีฬามวยไทยโดยกระโดดให้ตัวลอยแล้ว ใช้เข่ากระแทกคู่ต่อสู้.
เข่าอ่อน : ก. อาการที่เข่าหมดกําลังทรุดลง, โดยปริยายหมายถึงอาการ หมดแรงเพราะรู้เรื่องที่ทำให้เสียใจเป็นต้นในทันทีทันใด.
หัวเข่า : น. อวัยวะตรงที่ปลายกระดูกต้นขากับหัวกระดูกแข้งต่อกัน, เข่า ก็ว่า.
สะบ้าหัวเข่า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็น ยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็น ส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, ลูกสะบ้า ก็ว่า.
จับเข่าคุยกัน, จับหัวเข่าพูด : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
จับหัวเข่าพูด, จับเข่าคุยกัน : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
น้ำตาเช็ดหัวเข่า : (สํา) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.
หักด้ามพร้าด้วยเข่า : (สํา) ก. หักโหมเอาด้วยกําลัง, ใช้อํานาจบังคับเอา.
เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
เบญจางค-, เบญจางค์ : [เบนจางคะ-, เบนจาง] น. อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒; ส่วนทั้ง ๕ คือ ราก เปลือก ใบ ดอก ผล.
ชันนุ, ชันนุกะ :
(แบบ) น. เข่า. (ป., ส. ชานุ). (ดู ชานุ, ชานุกะ).
ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
ขัดตะหมาด : (ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
ขาก๊วย : น. กางเกงจีนขาสั้นแค่เข่า.
ขาพับ : น. ส่วนของขาที่พับได้อยู่หลังเข่า.
แข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
ไขว่ห้าง : ว. อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าซึ่งตั้งชันอยู่.
ชัน ๒ : ก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน. ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.
ชานุ, ชานุกะ : น. เข่า, ชันนุ หรือ ชันนุกะ ก็ใช้. (ป., ส.).
โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
ตัก ๑ : น. หน้าขาตอนเข่าถึงโคนขาในเวลานั่ง.
ถอนสายบัว : ก. ถวายคํานับแบบผู้หญิง โดยยืนตรงแล้วชักขา ข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มศีรษะเล็กน้อย เป็นการแสดงความเคารพของสตรีต่อเจ้านายชั้นสูง.
นั่งขัดสมาธิ : [สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
เพลา ๕ : [เพฺลา] น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา. (ข. เภฺลา).
แยงแย่ : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ แต่ถ่างขากว้าง เช่น นรสิงห์นั่งแยงแย่, อาการที่ยืน แบะขาและย่อเข่าลง เช่น ยักษ์วัดพระแก้วยืนแยงแย่.
ลูกสะบ้า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, สะบ้าหัวเข่า ก็ว่า.
หน้าขา : น. ส่วนหน้าของขานับตั้งแต่โคนขาถึงหัวเข่า.
หน้าแข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า.
ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
กระคุก : (โบ) ก. คุกคลาน เช่น ทั้งล้มทั้งลุกกระคุกหัวเข่า. (ไตรภูมิ).
กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
กองกอย : น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า.
กองหนุน :
น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กะเอว : น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
ขา ๔ : (โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
ขี้เรื้อนกวาง : น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ด ในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่ที่มือ เอื้อมไปเกาถึง.
เข่าลา : น. อาการที่เอาเข่าเดาะโดยงอเข่าแต่น้อย.
คลาน : [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่า และศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไป อย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
คุกเข่า : ก. ย่อเข่าลงให้ติดพื้น.
คุกคลาน : ก. คลานด้วยกิริยาที่ยอบตัวลงให้เตี้ยโดยใช้เข่าเดิน.
คุดคู้ : ว. ขดตัวงอแขนงอเข่า เช่น นอนคุดคู้.
คู้ : ก. ตรงกันข้ามกับ เหยียด, งอเข้า เช่น คู้เข่า. คู้บัลลังก์ ก. ขัดสมาธิ.
จอนจ่อ : ว. อาการนั่งชันเข่าค้อมหลังลง.
ชานุมณฑล : น. สะบ้าเข่า. (ป., ส.).
ตบแผละ : [-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและ มือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
ถกเขมร : ก. นุ่งผ้าโจงกระเบนดึงชายให้สูงร่นขึ้นไปเหนือเข่า, ขัดเขมร ก็ว่า.
ถีบ : ก. งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้ากระแทกออกไป, งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้าดันไป โดยแรง เช่น ถีบรถ ถีบจักร; ดัน เช่น ว่าวถีบสูง.