เครื่องจักร : น. กลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่อง เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. machinery).
กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
ปั้นจั่น : น. เครื่องยกของหนักประกอบด้วยเสาและรอกเป็นต้น, เครื่องจักร สําหรับยกของหนัก.
จักร, จักร- : [จัก, จักกฺระ-] น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียก เครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุนว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า; บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร.(ส., ป. จกฺก).
กรอ ๑ : ก. ม้วนด้ายเข้าหลอดด้วยไนหรือเครื่องจักร; ควง เช่น กรเกาะขอกรอธาร เงือดง้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
กระเดื่อง ๑ : น. ส่วนหนึ่งของครกกระเดื่อง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัว มีสากสำหรับตำข้าวที่อยู่ในครก เมื่อเหยียบปลายข้างหางแล้วถีบ ลงหลุม หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง; (รูปภาพ กระเดื่อง) เรียกเครื่องจักรนาฬิกาชิ้นหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเดื่อง.
กระบอกสูบ : น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรง รูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อน ไปมา.
กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
กังหัน : น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า, โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ, กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่องหมุน ด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่างกังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่าต้น. (ข. กงฺหาร).
กำปั่น ๑ : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไป สําหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กําปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกําลัง เครื่องจักรไอน้า เรียกว่า กําปั่นไฟ. (เทียบมลายู หรือ ฮินดูสตานี ว่า capel).
แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ : น. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน เรียกว่า ข้าวกล้อง.
เครื่องยนต์ : น. เครื่องจักรที่ให้กําเนิดพลังงานหรือทําให้วัตถุ เคลื่อนที่. (อ. engine).
จาระบี : น. นํ้ามันข้นเหนียวสําหรับหล่อลื่นและกันความสึกหรอของเครื่องจักร เป็นต้น, จระบี ก็ว่า. (ฮ. จรฺพี).
น้ำมันเตา : น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ใช้พ่นเข้าไปจุดเผาในเตาเพื่อ ให้ความร้อนแก่หม้อนํ้าเครื่องจักร.
น้ำมันเบนซิน : น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง นําไปใช้โดยทําให้ไอของ นํ้ามันผสมกับอากาศเข้าไปจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้าจากหัวเทียน ในเครื่องจักรกลชนิดเผาไหม้ภายใน.
ป้อน : ก. เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน, โดยปริยายหมายถึง กิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินป้อน; ส่งวัตถุดิบแก่ โรงงานเพื่อให้เครื่องจักรผลิตเป็นสิ่งสําเร็จรูปหรือทําให้เครื่องจักร เกิดพลังงาน.
ผลิตผล : น. ผลที่ทําขึ้น, ผลที่ได้จากการผลิตด้วยอาศัยแรงหรือ เครื่องจักรเป็นต้น.
ผลิต, ผลิต : [ผะหฺลิด, ผะหฺลิดตะ] ก. ทําให้เกิดมีขึ้นตามที่ต้องการด้วยอาศัย แรงงานหรือเครื่องจักรเป็นต้น เช่น ผลิตข้าว ผลิตรถยนต์ ผลิตครู ผลิตบัณฑิต. (ป.).
พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
ยนต์, ยนตร์ : น. เครื่องกลไก, เครื่องจักรที่ให้กําเนิดพลังงานหรือทําให้วัตถุเคลื่อนที่. (ป. ยนฺต; ส. ยนฺตฺร).
ระหัด : น. เครื่องวิดนํ้าอย่างหนึ่งเป็นราง ใช้ถีบด้วยเท้าหรือฉุดด้วยเครื่องจักร เป็นต้น.
เร่งเครื่อง : ก. เพิ่มความเร็วของเครื่องจักรให้สูงขึ้น, เหยียบคันเร่งรถยนต์ เพื่อให้รถแล่นเร็วขึ้น.
เรือกำปั่น : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้าย เรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับ ผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดง ตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.
เรือไอ : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ สำหรับรับส่ง ผู้โดยสาร มีประทุนกันแดดกันฝน, เรือแท็กซี่ ก็เรียก.
โรงงาน : (กฎ) น. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกําลัง รวมตั้งแต่ ๕ แรงม้าหรือกําลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้ คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน ที่กําหนดในกฎกระทรวง.
โรงสี, โรงสีข้าว : น. สถานที่สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารด้วยเครื่องจักร.
ลูกปืน : น. ลูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ยัดใส่ในลํากล้องปืนแล้วยิง, กระสุนที่บรรจุในลํากล้องปืนสําหรับยิง ประกอบด้วยปลอกโลหะ ตรงปลายด้านหนึ่งมีหัวกระสุนโลหะ ถ้าเป็นปืนลูกซอง ปลอกทํา ด้วยกระดาษแข็ง ไม่มีหัวกระสุน แต่มีลูกปรายหลายลูกอยู่ภายใน ทั้ง ๒ ชนิดมีดินปืนอยู่ตรงกลางและมีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก, กระสุน ปืน; ลูกเหล็กที่มีลักษณะกลม ทรงกระบอก หรือทรงกรวย ใส่ใน ตลับรองเพลาเครื่องจักรเป็นต้น เพื่อให้หมุนหรือเคลื่อนไปได้คล่อง.
ลูกหีบ : น. เครื่องหีบอ้อยรูปกลมเป็นเฟืองอย่างเครื่องจักร; สิ่งซึ่ง มีลักษณะคล้ายหีบใช้สําหรับรองก้าวขึ้นก้าวลงอย่างขั้นบันได.
เศษเหล็ก : น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้ ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
สะดุด ๒, สะดุด ๆ : ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่าน หนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
หม้อน้ำ : น. หม้อโลหะขนาดใหญ่ ใช้ต้มนํ้าทําให้เกิดไอนํ้าเดือดที่มีแรงดัน สูงเพื่อหมุนเครื่องจักรเป็นต้น; อุปกรณ์ของเครื่องยนต์บางชนิด สําหรับ บรรจุนํ้าเพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์.
หล่อลื่น : ก. เอาน้ำมันเป็นต้นใส่หรือทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เคลื่อนไหว คล่อง. ว. เรียกนํ้ามันที่ทําให้เครื่องจักรเดินคล่องว่า นํ้ามันหล่อลื่น.
หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.