Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องทำความเย็น, เครื่อง, ทำความ, เย็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องทำความเย็น, 1625 found, display 1-50
  1. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  2. ทำความ : ก. ก่อเหตุขึ้น, ก่อเรื่องขึ้น.
  3. เย็น : น. เวลาใกล้คํ่า ประมาณ ๑๖๑๘ นาฬิกา.
  4. เย็น : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
  5. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  6. แช่เย็น : ก. เอาใส่ไว้ในเครื่องทําความเย็นหรือนํ้าแข็ง; โดยปริยายหมายความว่า เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน.
  7. เครื่องกัณฑ์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า.
  8. เครื่องกิน : น. (โบ) เครื่องสำหรับใส่ของกินเช่นเชี่ยนหมาก; ของขบเคี้ยว.
  9. เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
  10. เครื่องครัว : น. เครื่องใช้ในการหุงหาอาหาร.
  11. เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
  12. เครื่องเงิน : น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยเงิน.
  13. เครื่องช่วงล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องล่าง ก็ว่า.
  14. เครื่องดนตรี : น. เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทําให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทํานองเพลง.
  15. เครื่องทอง : น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยทองคํา.
  16. เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
  17. เครื่องทองน้อย : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
  18. เครื่องทุ่นแรง : น. เครื่องมือที่ใช้เพื่อถนอมพลังงานในการทำงาน.
  19. เครื่องใน : น. อวัยวะภายในของสัตว์บางชนิด เช่น ตับ ไต ไส้ ของวัว และควาย; ตลับสำหรับใส่เครื่องกินหมากที่อยู่ภายในหีบหมาก เครื่องยศของฝ่ายใน.
  20. เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
  21. เครื่องแบบ : น. เครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเหมือน ๆ กัน เฉพาะหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง.
  22. เครื่องประดับ : น. เครื่องตกแต่งกายมี สร้อย แหวน นาฬิกา เป็นต้น.
  23. เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
  24. เครื่องผูก : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้นว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
  25. เครื่องเพชรพลอย : น. รัตนชาติที่เจียระไนและนำมาทำเป็นเครื่องประดับแล้ว.
  26. เครื่องมือ : น. สิ่งของสําหรับใช้ในการงาน, โดยปริยายหมายถึงคน หรือสิ่งที่ใช้ทําประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือ ของโจรผู้ร้าย, ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว พระแสงกบ พระแสงเลื่อย. (ลัทธิ).
  27. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  28. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  29. เครื่องล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องช่วงล่าง ก็ว่า.
  30. เครื่องสด : น. ของสด เช่น หยวก ใบตอง ดอกไม้ และผลไม้บางชนิด ที่ประดิษฐ์ขึ้นสําหรับตกแต่งเชิงตะกอนที่เผาศพเป็นต้น, ถ้ามุ่งเอา หยวกเป็นหลักก็เรียกว่า เครื่องหยวก.
  31. เครื่องสับ : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  32. เครื่องสาย : น. เครื่องดนตรีชนิดที่มีสาย เช่น จะเข้ ซอ พิณ ไวโอลิน.
  33. เครื่องสูง : น. ของสําหรับแสดงอิสริยยศหรือยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร กลด. (รูปภาพ เครื่องสูง)
  34. เครื่องหยวก : ดู เครื่องสด.
  35. เครื่องห้า ๑ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า.
  36. เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
  37. เครื่องเหล็ก : น. สิ่งของเครื่องมือที่ทําด้วยเหล็ก.
  38. เครื่องใหญ่ : น. ปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดทองเป็นอุปกรณ์ระนาดเอก และระนาดเหล็กเป็นอุปกรณ์ระนาดทุ้ม.
  39. เย็นเจี๊ยบ : ว. เย็นมาก เช่น น้ำแข็งเย็นเจี๊ยบ.
  40. เย็นฉ่ำ : ว. เย็นชุ่มชื้น เช่น หลังฝนตกอากาศเย็นฉ่ำ.
  41. เย็นเฉียบ : ว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.
  42. เย็นเฉื่อย : ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มี อารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
  43. เย็นชา : ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการ เย็นชา, ชาเย็น ก็ว่า.
  44. เย็นชืด : ว. เย็นอย่างสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เขานอนตายตัวเย็นชืด, เย็นจนหมด รสชาติ เช่น แกงเย็นชืด.
  45. เย็นชื่น : ว. เย็นสบาย เช่น ฝนตกใหม่ ๆ อากาศเย็นชื่น.
  46. เย็นชื้น : ว. เย็นอย่างมีไอน้ำซึมซาบอยู่ เช่น ฝนตกติดกันหลายวันอากาศ เย็นชื้น.
  47. เย็นยะเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นเยือก หรือ เยือกเย็น ก็ว่า.
  48. เย็นเยียบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึกเย็นเยียบ, เยียบเย็น ก็ว่า.
  49. เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
  50. เย็นวาบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นในทันทีทันใดแล้วก็หายไป เช่น ลมพัด กระโชกเข้ามารู้สึกเย็นวาบ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1625

(0.1434 sec)