เครื่องประดับ : น. เครื่องตกแต่งกายมี สร้อย แหวน นาฬิกา เป็นต้น.
เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
ประดับ : ก. ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งต่าง ๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น เช่น ประดับ เหรียญตรา ประดับอาคารสถานที่ ประดับโคมไฟ, โดยปริยายหมาย ความว่า ประกอบ, เพิ่ม, เช่น ประดับบารมี.
บรัด : [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
เปศัส, เปศัส- : [เปสัด, เปสัดสะ-] (แบบ) น. รูป, ทรง, สี; รูปงาม; เครื่องประดับ; ลายพร้อย, ผ้ามีลายดอกดวงต่าง ๆ. (ส.).
พิภูษณะ : [พูสะนะ] น. วิภูษณะ, เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
สนิม ๒ : [สะหฺนิม] น. ถนิม, เครื่องประดับ ในคำว่า สนิมพิมพาภรณ์. (ข. ธฺนิม).
สร้อย ๑ : [ส้อย] น. ขนคอสัตว์ เช่น สร้อยคอไก่ สร้อยคอสิงโต; เครื่องประดับ ที่ทําเป็นเส้น เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ, สายสร้อย ก็เรียก.
อินทรธนู : [อินทะนู] น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า); เครื่องประดับ บ่าอย่างหนึ่งเพื่อแสดงยศเป็นต้น; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.
อาภรณ์ : [พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคําสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่อง ประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่อง ประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะ เป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).
กะละปังหา : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวเล็กมาก รูปร่างทรงกระบอกหรือรูปถ้วย สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็ง หุ้มลําตัว มีช่องเปิดให้ตัวโผล่ออกมา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โครงซากทับถมกันจนมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็งมาก นิยมนํามาทําเป็นลูกปัด เครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดํา, กัลปังหา ก็เรียก. (เทียบมลายู kalam pangha).
ถนิม : [ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.
ภูษา : น. เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง. (ส.; ป. ภูสา ว่า เครื่องประดับ).
ประสาธน์ : [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน; ป. ปสาธน).
ปิลันธน์ : [ปิลัน] น. เครื่องประดับ. (ป.).
ภูษณ : [พูสะนะ] น. เครื่องประดับ. (ส.; ป. ภูสน).
อลังการ : น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่องประดับ. ว. งาม ด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส.).
อลงกรณ์ : [อะลงกอน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่อง ประดับ. (ป., ส.).
อลงการ : [อะลงกาน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่อง ประดับ. ว. งามด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส. อลงฺการ).
มณฑนะ : [มนทะนะ] น. เครื่องประดับ, อาภรณ์; การแต่ง. (ป., ส.).
มัณฑน-, มัณฑนา : [มันทะนะ-] น. เครื่องประดับ; การแต่ง. (ป., ส.).
วิภูษณะ : [วิพูสะ] น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
วิภูษา : น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสา).
เครื่องเพชรพลอย : น. รัตนชาติที่เจียระไนและนำมาทำเป็นเครื่องประดับแล้ว.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
อุลกมณี : [อุนละกะมะนี] น. อุกกาบาตที่นำมาเจียระไนทำเป็นเครื่อง ประดับ เชื่อว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง.
เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
ทรงเครื่อง : ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิด ประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
ประดับประดา : (ปาก) ก. ประดับ.
เครื่องกัณฑ์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า.
เครื่องกิน : น. (โบ) เครื่องสำหรับใส่ของกินเช่นเชี่ยนหมาก; ของขบเคี้ยว.
เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
เครื่องครัว : น. เครื่องใช้ในการหุงหาอาหาร.
เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
เครื่องเงิน : น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยเงิน.
เครื่องช่วงล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องล่าง ก็ว่า.
เครื่องดนตรี : น. เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทําให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทํานองเพลง.
เครื่องทอง : น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยทองคํา.
เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
เครื่องทองน้อย : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
เครื่องทุ่นแรง : น. เครื่องมือที่ใช้เพื่อถนอมพลังงานในการทำงาน.
เครื่องใน : น. อวัยวะภายในของสัตว์บางชนิด เช่น ตับ ไต ไส้ ของวัว และควาย; ตลับสำหรับใส่เครื่องกินหมากที่อยู่ภายในหีบหมาก เครื่องยศของฝ่ายใน.
เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
เครื่องแบบ : น. เครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเหมือน ๆ กัน เฉพาะหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง.
เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
เครื่องผูก : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้นว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
เครื่องมือ : น. สิ่งของสําหรับใช้ในการงาน, โดยปริยายหมายถึงคน หรือสิ่งที่ใช้ทําประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือ ของโจรผู้ร้าย, ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว พระแสงกบ พระแสงเลื่อย. (ลัทธิ).
เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
เครื่องล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องช่วงล่าง ก็ว่า.
เครื่องสด : น. ของสด เช่น หยวก ใบตอง ดอกไม้ และผลไม้บางชนิด ที่ประดิษฐ์ขึ้นสําหรับตกแต่งเชิงตะกอนที่เผาศพเป็นต้น, ถ้ามุ่งเอา หยวกเป็นหลักก็เรียกว่า เครื่องหยวก.