ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
สะดวก : ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่า สมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
อำนวย : ก. ให้. (แผลงมาจาก อวย).
เทอร์โมมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ อาจประกอบด้วยปรอท แอลกอฮอล์ แก๊ส หรือโลหะเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนํา ไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก. (อ. thermometer).
บารอมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ อาจประกอบด้วย ปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและความ สะดวกที่จะนําไปใช้. (อ. barometer).
รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
มงกุฎ : น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
เครื่องกัณฑ์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า.
เครื่องกิน : น. (โบ) เครื่องสำหรับใส่ของกินเช่นเชี่ยนหมาก; ของขบเคี้ยว.
เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
เครื่องครัว : น. เครื่องใช้ในการหุงหาอาหาร.
เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
เครื่องเงิน : น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยเงิน.
เครื่องช่วงล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องล่าง ก็ว่า.
เครื่องดนตรี : น. เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทําให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทํานองเพลง.
เครื่องทอง : น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยทองคํา.
เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
เครื่องทองน้อย : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
เครื่องทุ่นแรง : น. เครื่องมือที่ใช้เพื่อถนอมพลังงานในการทำงาน.
เครื่องใน : น. อวัยวะภายในของสัตว์บางชนิด เช่น ตับ ไต ไส้ ของวัว และควาย; ตลับสำหรับใส่เครื่องกินหมากที่อยู่ภายในหีบหมาก เครื่องยศของฝ่ายใน.
เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
เครื่องบิน : น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ลอยตัวอยู่ได้ ด้วยการให้พลังงานกลแก่อากาศโดยรอบก่อให้เกิดแรงพยุงขึ้นโต้ตอบ กับความโน้มถ่วงของโลกและใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน.
เครื่องแบบ : น. เครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเหมือน ๆ กัน เฉพาะหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง.
เครื่องประดับ : น. เครื่องตกแต่งกายมี สร้อย แหวน นาฬิกา เป็นต้น.
เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
เครื่องผูก : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้นว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
เครื่องเพชรพลอย : น. รัตนชาติที่เจียระไนและนำมาทำเป็นเครื่องประดับแล้ว.
เครื่องมือ : น. สิ่งของสําหรับใช้ในการงาน, โดยปริยายหมายถึงคน หรือสิ่งที่ใช้ทําประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือ ของโจรผู้ร้าย, ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว พระแสงกบ พระแสงเลื่อย. (ลัทธิ).
เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
เครื่องล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องช่วงล่าง ก็ว่า.
เครื่องสด : น. ของสด เช่น หยวก ใบตอง ดอกไม้ และผลไม้บางชนิด ที่ประดิษฐ์ขึ้นสําหรับตกแต่งเชิงตะกอนที่เผาศพเป็นต้น, ถ้ามุ่งเอา หยวกเป็นหลักก็เรียกว่า เครื่องหยวก.
เครื่องสับ : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
เครื่องสาย : น. เครื่องดนตรีชนิดที่มีสาย เช่น จะเข้ ซอ พิณ ไวโอลิน.
เครื่องสูง : น. ของสําหรับแสดงอิสริยยศหรือยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร กลด. (รูปภาพ เครื่องสูง)
เครื่องหยวก : ดู เครื่องสด.