เคลือบแคลง : ว. สงสัย, แคลงใจ, ระแวง.
เคลือบ : [เคฺลือบ] ก. ไล้ ทา หรือพอกผิวเดิมด้วยของเหลวบางชนิด แล้วทิ้งไว้ ให้เย็นจนแข็งตัว เช่น เคลือบนํ้าตาล เคลือบยาพิษ, ทาผิวนอกด้วย นํ้ายาเคมีแล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาเกาะแน่น, เรียกสิ่งที่เคลือบโดย กรรมวิธีเช่นนั้น ว่า เครื่องเคลือบ; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ค ล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปากเคลือบนํ้าตาล.
แคลง : [แคฺลง] ก. อาการที่เรือเอียงหรือตะแคง เรียกว่า เรือแคลง; กินแหนง, สงสัย.
วิมน : ว. ใจคอวิปริต, เคลือบแคลง; ไม่พอใจ, ไม่สนใจ. (ป.).
สงสัย : ก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้ แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็น ขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).
เคลือบคลุม : ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, ไม่ชัด, เช่น ข้อความเคลือบคลุม.
เคลือบแฝง : ว. ไม่กระจ่างทําให้เป็นที่สงสัย.
กังขา : น. ความเคลือบแคลง, ความสงสัย. (ป.).
วิจิกิจฉา : [กิดฉา] น. ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, ความลังเล, ความไม่ แน่ใจ. (ป.; ส. วิจิกิตฺสา).
วิมัติ : น. ความเคลือบแคลง, ความสงสัย. (ป., ส. วิมติ).
แขนง ๒ : [ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คําหลวง มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป.
คลิด : [คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด. (ม. คําหลวง มหาราช).
คระแลง : [คฺระ-] ก. เอียง, ลอยไป. (แผลงมาจาก แคลง).
คลางแคลง : [คฺลางแคฺลง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะสงสัย, แคลงคลาง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
แคลงคลาง : [แคฺลงคฺลาง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้ เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
กระทงลาย : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Celastrus paniculatus Willd. ในวงศ์ Celastraceae ใบรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักถี่ ดอกเล็กขาว ๆ เหลือง ๆ ออกเป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อแก่แตก เป็น ๓ กลีบ น้ามันจากเมล็ดใช้ทํายา ตามไฟ หรือเคลือบกระดาษ กันน้ำซึม, กระทุงลาย หรือ มะแตก ก็เรียก.
กระเบื้อง : น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลาย เป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้อง ที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทํา ด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่า เป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
กระเบื้องปรุ, กระเบื้องรู : น. กระเบื้องเคลือบจีน มีลายโปร่ง สําหรับกรุตามผนังหรือกําแพงให้มีช่องลม.
กริ่ง ๒ : [กฺริ่ง] ก. นึกแคลง, นึกระแวง, นึกสงสัย.
กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
กะละมัง : น. เรียกชามที่ทําด้วยโลหะเคลือบว่า ชามกะละมัง.
กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
กำกวม ๒ : ว. เคลือบคลุม, คลุมเครือ, มีความหมายได้หลายนัย.
เกาเหลียง ๒ : [-เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
ไข่จิ้งจก : น. ถั่วลิสงเคลือบนํ้าตาลหรือลูกกวาดสีต่าง ๆ ทําเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่จิ้งจก.
เจี๋ยน : น. กับข้าวอย่างหนึ่ง มีปลาทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่าง ๆ เรียกว่า ปลาเจี๋ยน. (จ. เจี๋ยน ว่า เคลือบนํ้าตาล, เชื่อมนํ้าตาล).
ฉาบ ๒ : ก. ทา เกลือก หรือเคลือบแต่ผิว ๆ เช่น ฉาบปูน ฉาบกล้วย.
เชลแล็ก : น. ของแข็งที่สกัดได้จากครั่ง ลักษณะเป็นแผ่นบาง สี ค่อนข้างเหลือง ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ใช้ประโยชน์ เคลือบผิววัตถุหรือชักเงาผิวไม้, (ปาก) ชะแล็ก. (อ. shellac).
ดินขาว : น. ดินเหนียวบริสุทธิ์ที่มีไฮเดรเตดอะลูมิเนียมซิลิเกตเป็น องค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาว ใช้ทําเครื่องเคลือบดินเผา.
ดินนวล : น. ดินประสมอย่างหนึ่ง ใช้ในการหล่อ; ผงขาว ๆ ที่ใช้ในการ เคลือบสิ่งของเช่นกระเบื้องมุงหลังคา.
ถมปัด : น. ภาชนะทองแดงที่เคลือบนํ้ายาประสมด้วยลูกปัดป่นให้ เป็นผง ให้เป็นสีและลวดลายต่าง ๆ.
ถ้วย ๑ : น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่นํ้าหรือของบริโภคเป็นต้น เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบ ดินเผา ที่ทําด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มี อะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียก ถ้วยที่มีสิ่งของ บรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่อง เคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์ ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือ ถ้วย แมงดาถ้วย.
แถบบันทึกภาพ : น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณภาพ.
แถบบันทึกเสียง : น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณเสียง.
โถ ๑ : น. ภาชนะโดยมากทําด้วยดินเผาหรือกระเบื้องเคลือบปากกว้าง มีฝาปิด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โกศโถ.
ทะแม่ง, ทะแม่ง ๆ : (ปาก) ว. มีลักษณะลับลมคมในหรือมีอะไรเคลือบแฝงอยู่ทําให้น่าสงสัย.
ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
ปาเต๊ะ ๒ : น. ชื่อผ้าโสร่งชนิดหนึ่ง ใช้เคลือบด้วยขี้ผึ้งเหลวบางตอน ที่ไม่ต้องการให้มีสีสันหรือลวดลาย. (ม. batik).
เฝือ ๒ : ว. รก, ยุ่ง, เรื้อ; เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกัน จนเฝือ.
แฝง : ก. หลบ แอบ ซ่อน เร้น โดยอาศัยสิ่งกําบัง. ว. เคลือบคลุม, ที่ซ่อนเร้น เช่น ความร้อนแฝง.
พิมพ์เขียว : ก. พิมพ์สําเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็น กระดาษบาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงิน บนพื้นขาว. น. สําเนาที่ทําขึ้นโดยวิธีการเช่นนี้. (อ. blueprint).
ฟั่นเฝือ : ว. รกชัฏ, ยุ่งเหยิง, ปนคละกันยุ่ง, เคลือบคลุม เช่น สำนวนฟั่นเฝือ.
โมเสก : น. เรียกเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ สําหรับปูพื้นหรือบุผนัง. (อ. mosaic).
ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
ราชาวดี ๑ : น. เรียกการลงยาชนิดหนึ่งสําหรับเคลือบทองให้เป็นสีต่าง ๆ เช่น เขียว แดง ฟ้า ว่า ลงยาราชาวดี. (เปอร์เซีย).
ลูกชุบ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวกวน ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ เช่น พริก มังคุด มะยม แล้วระบายสี และเคลือบด้วยวุ้นให้เป็นมัน.
แล็กเกอร์ : น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุให้เป็นเงา มันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) บิวทิลแอซิเทต (butyl acetate) และ ตัวถูกละลาย เช่น ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin) เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้ง ไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุเป็น เงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้นโลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
สะดุดหู : ก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.
หมดเปลือก : ว. แจ่มแจ้ง, ไม่มีอะไรเคลือบแฝง, เช่น เขาอธิบายจนหมด เปลือก เขาพรรณนาเรื่องราวอย่างละเอียดจนหมดเปลือก.