เคลื่อนไหว : ก. ไม่อยู่นิ่ง, ไม่คงที่, เช่น น้ำในสระเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เวลาเพราะกระแสลม; แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พรรคการเมืองเคลื่อนไหว.
โยก : ก. คลอน เช่น ฟันโยก เก้าอี้โยก, เคลื่อนไหว เช่น กิ่งไม้โยก, ทําให้มี อาการเช่นนั้น เช่น โยกฟัน โยกกิ่งไม้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่พูด หรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้ พูดโยกอยู่นาน, โยกโย้ ก็ว่า.
พังพอน : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Herpestes วงศ์ Viverridae ขนหนาสีนํ้าตาลหรือเทา หัวแหลม หางยาวเป็นพวง เคลื่อนไหว เร็วมากกินสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พังพอนธรรมดา (H. javanicus) ตัวเล็ก สีนํ้าตาล และพังพอนกินปู หรือ พังพอน ยักษ์ (H. urva) ตัวใหญ่สีเทา มีแต้มขาวที่ด้านข้างลําคอ.
ไว, ไว ๆ : ว. ลักษณะที่เคลื่อนไหว หรือสามารถคิด หรือกระทําสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น เด็กคนนั้นเดินไว วิ่งไว ๆ เข้า เดี๋ยวไปไม่ทัน. ก. เคลื่อนไหว คิด หรือกระทำสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น ไวเข้ารถจะออกแล้ว.
กระง่องกระแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรง ทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
กระดุบกระดิบ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวน้อย ๆ.
กระต้วมกระเตี้ยม : ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี.
กระย่องกระแย่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
กิริยาสะท้อน : น. การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อที่ ไม่อยู่ในอํานาจสั่งงานของสมอง เพื่อตอบสนองสิ่งกระตุ้น เป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายหรือสิ่งรบกวน เช่นหดมือเมื่อถูกของร้อน.
แกว่ง : [แกฺว่ง] ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคน หรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.
ขวักไขว่ : [ขฺวักไขฺว่] ว. อาการที่เคลื่อนไหวสวนกันไปมาอย่างสับสน เช่น เดินขวักไขว่ บินขวักไขว่.
เขย่า : [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้น กระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยา ระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
ครั่ง ๑ : [คฺรั่ง] น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Laccifer lacca ในวงศ์ Lacciferidae ตัวเมีย ไม่มีปีก เมื่อเป็นตัวอ่อนระยะแรกจะมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อ ลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา หยุดอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากพืชและ ผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นําไปใช้ทําประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง.
คล่องตัว : ว. เคลื่อนไหวไปได้สะดวก, เป็นไปได้โดยสะดวกไม่ติดขัด.
คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
ง่องแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรงทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ กระง่องกระแง่ง ก็ว่า. ก. ทะเลาะเบาะแว้งกัน, ไม่ปรองดองกัน.
ง่อย : ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ.
จุมพรวด : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes ชนิด B. boddarti พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรม ในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
เจษฎา ๒ : [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารํา; กรรม, การทําด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทํา, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
ฉายหนัง : (ปาก) ก. ฉายแสงผ่านฟิล์มภาพยนตร์ให้ปรากฏภาพเคลื่อนไหว บนจอ.
ชัก ๑ : ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้น เคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้า ชักออก; นํา เช่น ชักนํ้าเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน; นําเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชัก ค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกําแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.
เชิดหนัง : ก. ยกชูตัวหนังตะลุงขึ้นให้เคลื่อนไหวไปตาม บทบาท,ยกชูตัวหนังใหญ่แล้วผู้เชิดเยื้องกรายประกอบ ไปตามบทบาท.
แซ่ว : ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่ หมดกําลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคําว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า.
เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
ต้วมเตี้ยม : ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือ คลาน), กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า.
ตะพัด ๑ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล, สะพัด ก็ว่า.
ถ่ายภาพยนตร์ : ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้ เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.
ทุ่นระเบิด : น. เครื่องกีดขวางที่มีอํานาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอย ประจําอยู่ใต้นํ้าเพื่อทําลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทาง ทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณา บริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจํากัดการ เคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่น ระเบิด, เรียกลักษณะการทําลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่า กวาดทุ่นระเบิด.
นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
เนื้อเยื่อ : น. กลุ่มของเซลล์ที่มักมีลักษณะเหมือนกัน ทําหน้าที่ร่วมกัน. (อ. tissue). เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ น. เนื้อเยื่อส่วนที่ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เคลื่อนไหวได้. (อ. muscular tissue).
โบก : ก. พัด, ทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างโบกมือโบกธง; ทา, ฉาบ, เช่น โบกปูน.
ปฏิทินโหราศาสตร์ : น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาว พระเคราะห์ประจำวัน, ปูม ก็เรียก.
ปรูดปราด, ปรู๊ดปร๊าด : ว. อาการที่เคลื่อนไหวอย่างว่องไว รวดเร็ว.
ปล้องอ้อย : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthophthalmus kuhlii ในวงศ์ Cobitidae ตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลําตัวสีเหลืองอ่อน หรือส้ม มีแถบกว้างสีดําหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามท้องน้ำที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลําธาร เขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร, ปลางู ก็เรียก.
ปลา ๑ : [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วน หัว ลําตัว และหาง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือกยกเว้นปลาปอด มี ครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่าง ลักษณะ ขนาดและพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
ปลาสเตอร์ : น. ผ้ายางปิดแผล; ผงสีขาวคล้ายปูนขาวได้จากการเผายิปซัมให้ร้อน ถึง ๑๒๐? - ๑๓๐?ซ. เมื่อนําไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้ เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนําไปทําแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือ พอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. (อ. plaster).
ป่วนปั่น : ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเลป่วนปั่น, สับสนวุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอป่วนปั่น ท้องป่วนปั่น บ้านเมือง ป่วนปั่น, ปั่นป่วน ก็ว่า.
ปอดเหล็ก : น. เครื่องกลไกสร้างด้วยโลหะ ใช้ทําให้เกิดการบีบและ ขยายของทรวงอกในการหายใจแทนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ในเมื่อมีอัมพาตของกล้ามเนื้อ เช่นในโรคโปลิโอ. (ปาก) ก. อดทน แข็งแรง (ใช้แก่นักกีฬาประเภทวิ่ง).
ปั่นป่วน : ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเล ปั่นป่วน; สับสนวุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอปั่นป่วน ท้องปั่นป่วน บ้านเมืองปั่นป่วน, ป่วนปั่น ก็ว่า.
ปูนปลาสเตอร์ : น. แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4?12 H2O) ที่มีลักษณะ เป็นผงสีขาวคล้ายปูนขาว ได้จากการเผายิปซัม (CaSO4o2H2O) ให้ร้อนถึง ๑๒๐? - ๑๓๐?ซ. เมื่อนําไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะ แข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนําไปทําแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. (อ. plaster of Paris).
ปูม : น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์ ประจําวัน, ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก, จดหมายเหตุของโหร, เรียกสมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการ เดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จํานวน ชั่วโมง ฯลฯ ว่า สมุดปูมเดินทาง; ผ้าไหมชนิดหนึ่งมีดอกเป็นตา ๆ.
เปลี้ย : [เปฺลี้ย] ว. ขาดกําลังที่จะเคลื่อนไหวได้ตามปรกติ เช่น แขนขาเปลี้ย ไปหมด; เพียบ เช่น เรือเปลี้ยนํ้า.
เป้า ๒ : น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้า หรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก; ส่วนของเสื้อที่อยู่ ใต้รักแร้หรือส่วนของกางเกงที่อยู่ใต้หว่างขา.
ผาดโผน : ว. เคลื่อนไหวไปมารวดเร็วว่องไวน่าหวาดเสียวต่อ อันตราย เช่น บินผาดโผน แสดงผาดโผน.
ฝืด : ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสี เป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณ เงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลงทำให้ราคา สินค้าตก ว่า เงินฝืด.
พรู : ว. อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจํานวนมาก เช่น วิ่งพรูกัน เข้ามา, ร่วงลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู.
เพรียวลม : ว. มีรูปร่างสูงโปร่ง สะโอดสะอง; มีรูปร่างเรียวบาง เคลื่อนไหวได้ว่องไว.