เคียว ๑ : น. เครื่องมือเกี่ยวข้าวและหญ้าเป็นต้น ทําด้วยเหล็ก รูปโค้ง มีคม.
เคียว ๒ : ก. รีบไป, รีบมา, เครียว หรือ เขียว ก็ใช้.
เขียว ๑ : (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, เคียว หรือ เครียว ก็ใช้.
เครียว : [เคฺรียว] (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, โบราณเขียนเป็น ครยว ก็มี เช่น บควรคิดอยู่ย้งง ควรครยว. (ยวนพ่าย), เคียว หรือ เขียว ก็ใช้.
ลวิตร : [ละวิด] น. เครื่องตัด, เครื่องเกี่ยว, เคียว. (ส. ลวิตฺร).
กระดองหาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก และไม้กระดองหาย. (ลักษณะธรรมนูญ), ดอง ดองหาย ดองฉาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก. (รูปภาพ กระดองหาย)
กระตัก : (โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์ พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก. (ลักษณะธรรมนูญ).
เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
งั่ว ๒ : น. ชื่อนกชนิด Anhinga melanogaster ในวงศ์ Anhingidae ปากยาวตรง สีเหลือง ปลายแหลมมาก คอโค้งยาวคล้ายเคียว ขนดํา ปีกและหลังมีลาย สีขาว ตีนมีแผ่นพังผืดติดกันทั้ง ๔ นิ้วคล้ายตีนเป็ด ดํานํ้าจับปลาโดยใช้ ปากแทง, อ้ายงั่ว ก็เรียก.
แฉลบ ๒ : [ฉะแหฺลบ] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Acacia วงศ์ Leguminosae คือ แฉลบขาว (A. harmandiana Gagnep.) และ แฉลบแดง (A. leucophloea willd.) ดอกกลม ฝักรูปเคียวสีน้ำตาลเข้ม มีเปลือกสีขาว.
มีดกรีดยาง : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปงอเป็นขอคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว ใช้กรีดเปลือกต้นยางพารา.
เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
เคี่ยว : ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ต้มเค็ม : น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น เคี่ยว ให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบ ไทยมีรสหวานเค็ม.
น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
ภฤษฏ์ ๒ : [พฺรึด] ก. ปิ้ง เคี่ยว หรือคั่วแล้ว. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรชฺชฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ?].