เงินปลีก : น. เงินจํานวนย่อยที่แตกออกมาจากเงินจํานวนใหญ่หน่วยใด หน่วยหนึ่งของเงินตรา.
ปลีก : [ปฺลีก] ก. แยกหรือหลีกออกจากหมู่จากพวกไป, ย่อยออกไปจาก ส่วนใหญ่ เช่น ขายปลีก เงินปลีก.
เงิน : น. ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘?ซ. (อ. silver); วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ เงือน ก็มี; (เศรษฐ) วัตถุที่กําหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือชําระหนี้. (อ. money).
อัฐ ๑ : [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.
เงินกินเปล่า : น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกัน.
แลกเงิน : ก. เอาเงินตราหน่วยใหญ่ไปแลกเป็นเงินปลีกหรือหน่วยย่อย, แตกเงิน ก็ว่า, แลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลกัน เช่น แลกเงินดอลลาร์ เป็นเงินบาท.
เงินก้นถุง : น. เงินจํานวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อ เก็บไว้เป็นเงินก้อนแรก.
เงินก้อน : น. เงินที่จ่ายทีเดียวทั้งหมด, เงินที่สะสมไว้เป็นจํานวนมาก ๆ.
เงินกู้ : น. เงินที่ยืมโดยมีดอกเบี้ย.
เงินขวัญถุง : น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล.
เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
เงินเชื่อ : น. เงินค่าสิ่งของที่ยอมให้ชำระภายหลังเมื่อซื้อขาย, เงินแห้ง ก็เรียก.
เงินดาวเงินเดือน, เงินเดือนเงินดาว : น. เงินเดือน.
เงินดาวน์ : (ปาก) น. เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลง ว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด.
เงินเดือน : น. เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน.
เงินแดง : (โบ) น. เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมา หมายถึงเงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึง คนที่ใช้งานใช้การไม่ได้.
เงินต้น : น. เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่รวมดอกเบี้ย, ต้นเงิน ก็ว่า.
เงินตรา : (กฎ) น. เงินที่รัฐกําหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร.
เงินตาย : (โบ) น. เงินตราที่รัฐให้เลิกใช้, เงินที่มิได้เอามาทําเป็นรูปพรรณ, เงินที่เก็บไว้ไม่นําออกใช้.
เงินถึง : ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, ถึงเงิน ก็ว่า.
เงินทองตรา : (โบ) น. เงินตราที่ทําด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกใน โอกาสต่าง ๆ.
เงินทอน : น. เงินส่วนที่เกินราคาสิ่งของที่จ่ายคืนให้แก่ผู้จ่ายเงิน.
เงินนอน : น. เงินเหลือใช้ที่เก็บไว้.
เงินน้ำห้าน้ำหก : (โบ) น. เงินเนื้อไม่บริสุทธิ์ เพราะมีทองแดงปนติดอยู่บ้าง.
เงินปากถุง : น. เงินที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้กู้ก่อนที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ ตกลงให้กู้.
เงินปากผี : น. เงินที่ใส่ไว้ในปากคนตายตามประเพณี.
เงินมุ่น : น. เงินแท่งชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นเงินเนื้อดี.
เงินยวง : น. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็น มันปลาบ. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้าง อยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง.
เงินร้อน : น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว.
เงินรายปี : น. จํานวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปี ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัย สัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงิน ให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จํานวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity).
เงินแล่ง : น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า.
เงินหมุน : น. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่.
เงินหลวง : (ปาก) น. เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ.
เงินแห้ง : (ปาก) น. เงินเชื่อ.
เงินจันทรภิม : ดู จันทรภิม.
ปลีกตัว : ก. แยกตัวออกมา.
ปลีกย่อย : ว. เบ็ดเตล็ด, เล็กน้อย. ป
กกัลปพฤกษ์ : น. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ ข้างในสําหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น.
กะแปะ : น. เงินปลีกโบราณ เช่น กะแปะทองแดง กะแปะดีบุก, อีแปะ ก็เรียก.
ประกับ ๒ : (โบ) น. วัตถุใช้แทนเงินปลีก ขนาดเท่าเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑ นิ้ว ทําด้วยดินเผาตีตราต่าง ๆ.
รองจ่าย : (ปาก) ก. ทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย, เรียกเงินที่ใช้เช่น นั้นว่า เงินรองจ่าย.
สตางค์ : [สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มี สตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัด น้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของทศางค์.
หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
อีแปะ ๑ : น. เงินปลีกโบราณ, กะแปะ ก็เรียก.
กระดาษเงินกระดาษทอง : น. กระดาษสีเงินสีทองด้านหนึ่งที่คนจีน ใช้เผาไฟในพิธีไหว้เจ้าเป็นต้น.
กระแสการเงิน : น. การหมุนเวียนของเงินตรา.
การเงิน : น. กิจการเกี่ยวกับเงิน, เรื่องเกี่ยวกับเงิน เช่น เดือนนี้การเงินไม่ค่อยดี.
ข้างเงิน : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
ขายเงินเชื่อ, ขายเชื่อ : ก. ขายโดยยอมเก็บเงินอันเป็นมูลค่าในวันหลัง.
ค้ำเงิน : (กฎ; โบ) ก. คํ้าประกันเงินกู้, พระไอยการลักษณะกู้หนี้เรียก บุคคลซึ่งคํ้าประกันเงินกู้ว่า ผู้คํ้าเงิน.