เงี่ยง ๑ : น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลาย เช่นเบ็ดหรือลูกศร.
เงี่ยง ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. กระโถน.
ยักเงี่ยง : ก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือ ข้ามห้วย.
ยี่สน : น. ชื่อปลากระเบนทะเลชนิด Aetobatus narinari ในวงศ์ Myliobatidae ผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง ๑๔ เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้าน หลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว ขนาดกว้างได้ถึง ๑.๕ เมตร, กระเบนเนื้อดำ ก็เรียก.
กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
ขี้ครอก ๒ :
น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Urena lobata L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพู ผลมีขนปลายเงี่ยงคลุม. (๒) ดู กระชับ๑.
ขี้ควาย : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Polycaulus uranoscopus ในวงศ์ Synanceiidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลําตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดําคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตาม ซอกหินหรือพื้นท้องทะเล, ขี้ขุย ก็เรียก.
เข็มควัก : น. เข็มที่มีปลายงอเป็นเงี่ยง สําหรับควักด้ายหรือไหมให้เป็น ลูกไม้เป็นต้น.
ฉมวก : [ฉะหฺมวก] น. เครื่องมือแทงปลาเป็นต้น มีง่ามเป็น ๑, ๓ หรือ ๕ ขา ที่ ปลายขาทำเป็นเงี่ยง มีด้ามยาว. (ข. จฺบูก).
ด้อง ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Parasilurus cochinchinensis ในวงศ์ Siluridae มี หนวดยาว ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่ มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง.
ดัก ๒ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mangois ในวงศ์ Amblycipidae มีหนวด ไม่มีเกล็ด ลําตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้าน ครีบเป็นเงี่ยงมีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่น เนื้อครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลําธาร. (๒) ชื่อปลาดุก นํ้าจืดชนิด Clarias melanoderma ในวงศ์ Clariidae รูปร่างคล้ายปลาดุกอุย และปลาดุกด้านซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่เป็นชนิดเดียวที่ขอบหน้าของ เงี่ยงครีบอกจักเป็นฟันเลื่อย.
ดุก : น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Clarias และ Prophagorus วงศ์ Clariidae ไม่มีเกล็ด มีเงี่ยงเฉพาะที่ครีบอก ส่วนครีบหลังและครีบก้นยาวแต่ไม่ติดต่อ กับครีบหาง เช่น ดุกอุย (C. macrocephalus) ดุกด้าน (C. batrachus) ดุกลําพัน (P. nieuhofii).
ดุกทะเล : น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Plotosus lineatus และ P. canius ในวงศ์ Plotosidae มีเงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังตอนแรก ส่วนครีบหลังตอนที่ ๒ ครีบก้น และครีบหางยาวติดต่อกันโดยตลอด, สามแก้ว หรือ เป็ดแก้ว ก็เรียก.
ตะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้างสำหรับผูกเหยื่อลอยน้ำไว้; เครื่องล่อใจ; สะกาง ก็เรียก.
ตะโกก ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae หัวเสี้ยม ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้า แข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลําตัวด้านหลังและ ครีบสีเทาอมฟ้าส่วนอื่นสีเงิน ที่สําคัญได้แก่ชนิดในสกุล Cyclocheilichthys เช่น ชนิด C. enoplos, C. dumeriliiสกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด Cosmochilus harmandi, Albulichthys alburoides.
ทูกัง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Arius leiotetocephalus ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบ เป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิด อื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรี ใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อย โดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
เบ็ด : น. เครื่องมือสําหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสําหรับเกี่ยวเหยื่อ ส่วนมากมีเงี่ยง.
ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
สะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก.