เงื่องหงอย : ว. ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา.
หงอย : [หฺงอย] ว. ซึมเซา, ไม่ชุ่มชื่น, ไม่กระปรี้กระเปร่า, ไม่ร่าเริง.
เงื่อง, เงื่อง ๆ : ว. เซื่อง, เชื่องช้า.
กระฉับกระเฉง : ว. คล่องแคล่ว, กระปรี้กระเปร่าเหมาะแก่การ, ตรงข้ามกับ เงื่องหงอย, เฉื่อยชา.
เซื่อง : ว. เงื่องหงอย, ซึม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ซึม เป็น ซึมเซื่อง หรือ เซื่องซึม.
หงอยก๋อย : ว. ซบเซา, จับเจ่า, เซื่องซึม, ง่วงเหงา.
หง่อย : ว. เชื่องช้า, ไม่ฉับไว, เงื่อง.
ทันธ-, ทันธ์ : [ทันทะ-] (แบบ) ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
เหงาหงอย : ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, หงอยเหงา ก็ว่า.
กร่อม, กร่อม ๆ : (โบ) ว. ช้า ๆ เงื่อง ๆ แต่ทําเรื่อยไป (มักใช้แก่การเดิน พายเรือ หรือลุยน้ำ) เช่น เดินกร่อม ๆ กรําฝนฟ้า พายเรือกร่อม ๆ. (อักษรประโยค).
ซะซ่อง : (กลอน) ว. ซ่อง, เงื่อง.
ห : พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็น อักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
ซ่อง ๒, ซ่อง ๆ : ว. เงื่อง, เซื่อง, เช่น นกยางเดินซ่อง ๆ.
หงอด, หงอด ๆ : [หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่น ด้วยความไม่พอใจ.
จับเจ่า : ว. หงอยเหงา, หงอยก๋อย.
ชุ่ย ๒ : (วรรณ) ก. เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป, เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้, เช่น อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้า ราวนม. (ขุนช้างขุนแผน).
เชื่อม ๓ : ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
ซบเซา : ว. หงอยก๋อย, เงียบเหงา, ไม่เบิกบาน; ไม่คึกคักเช่นเดิม เช่น ตลาดการค้าเดี๋ยวนี้ซบเซาไป.
ซึม : ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
ซึมเซา : ว. มีลักษณะเหงาหงอยง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เช่น วันนี้รู้สึกซึมเซาไม่อยากทำงานเลย.
เซา : ก. หยุดชะงัก, หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง. ว. ง่วงงุน, เหงาหงอย.
หงอยเหงา : [หฺงอยเหฺงา] ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, เหงาหงอย ก็ว่า.
ง่อง : น. เรียกสายโยงคางม้าไม่ให้เงยว่า สายง่อง.
หงองแหงง : [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.