กงพัด ๒ : น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่ เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บน หมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
มีดควั่นอ้อย : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรู ที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย.
จาร ๑ : [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).
จาร- ๒ : [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
กถิกาจารย์ : [กะถิกาจาน] (แบบ) น. อาจารย์ผู้กล่าว. (ป., ส. กถิก + ส. อาจารฺย).
กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
คันถรจนาจารย์ : [-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).
ทักษิณาจาร : ดู ทักษิณ.
ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
เทศาจาร : น. ธรรมเนียมของบ้านเมือง. (ส.).
ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
มิจฉาจาร : น. การประพฤติผิด. (ป. มิจฺฉา + อาจาร).
หุตาจารย์ : ดู หุต-.
หุตาจารย์ : น. ผู้รู้ในการบูชา.
เหล็กจาร : น. เหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้น.
โหรดาจารย์ : [โหระ-] น. พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่สวดสดุดีและอาราธนาเทพต่าง ๆ ให้มาร่วมในพิธีบูชาบวงสรวง. (ส. โหตฺฤ + อาจารฺย).
อรรถกถาจารย์ : น. อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา.
อัชฌาจาร : [จาน] น. ความประพฤติชั่ว, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี. (ป.).
กรวน : [กฺรวน] (ถิ่น-ภูเก็ต) น. กลอยทําเป็นชิ้นเล็ก ๆ. (วิทยาจารย์ ล. ๑๖ ต. ๒).
กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กษีณาศรพ : [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
กะโซ่, กะโซ้ ๑ : น. เผ่าข่าโซ้ เป็นชาวป่าทางภาคอีสานของไทย มีลักษณะคล้ายเขมร. (วิทยาจารย์).
กับ ๓ : ลักษณนามเรียกใบลานซึ่งจัดเข้าแบบสําหรับ จารหนังสือประมาณ ๘๐๐ ใบ.
กากคติ : [กากะคะติ] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดําเนินกลอน อย่างกาที่บินไป เช่น สรรเพ็ชญ์เจ้าได้ ทรงฤทธิ์เรืองไกร ย่อมบำเพงทาน ให้พระวิมุติ โลกุดรญาณ แสวงหาศีลาจาร ประเสริฐหนักหนา. (ชุมนุมตํารากลอน).
ขยุม ๒ : [ขะหฺยุม] ว. ขะยุก, ทําถี่ ๆ, เช่น เห็นลับแลแล้วก็พายขยุมใหญ่. (ส. ท่านพุฒาจารย์-โต).
จารึก ๒ : ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะหรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
ทัก ๒ : (ถิ่น) น. ตะกร้าเก็บเกลือ ทําด้วยไม้ไผ่สาน ตาห่างคล้ายชะลอม ทรงสูงคล้ายชะลอม. (วิทยาจารย์).
ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
ธรรม ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
ธรรมเจดีย์ : น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึก พระธรรม เช่น พระไตรปิฎก.
บันไดแก้ว : น. ที่รองพระคัมภีร์และลานสําหรับจารหนังสือ, ที่สําหรับ พาดพระแสง.
ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
โปตถกะ : [โปดถะกะ] น. หนังสือที่เขียนหรือจาร, คัมภีร์หนังสือ, เล่มหนังสือ. (ป.).
พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
ภิกษาจาร : น. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ส.; ป. ภิกฺขาจาร).
โยค, โยคะ : [โยคะ] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบําเพ็ญ สมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).
ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
สนับมือ : น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือ มักทําด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสําหรับสวม นิ้วมือเวลาชก.
อังกา : น. ตัวอักษรที่จารไว้หัวลานสําหรับบอกจํานวนใบลานที่จารแล้ว ๑๒ ตัวเป็น ๑ อังกา และ ๒ อังกา เป็น ๑ ผูก.
อุปนิกขิต, อุปนิกษิต : [อุปะนิกขิด, อุปะนิกสิด] ก. เก็บไว้, รักษาไว้. น. คนสอดแนม, จารชน. (ป. อุปนิกฺขิตฺต; ส. อุปนิกฺษิปฺต).