Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ็บร้าว, เจ็บ, ร้าว , then จบ, เจ็บ, เจ็บร้าว, ราว, ร้าว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ็บร้าว, 481 found, display 1-50
  1. ร้าว : ว. มีรอยแตกลึกเป็นทางลงไปในเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น แก้วร้าว จานร้าว ผนังร้าว.
  2. เจ็บ : ก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร; รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตีหรือ เป็นแผลเป็นต้น.
  3. เจ็บไข้, เจ็บป่วย : ก. ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทํา ให้รู้สึกเช่นนั้น, เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ว่า.
  4. เจ็บแค้น : ก. ผูกใจเจ็บ.
  5. เจ็บท้อง : ก. อาการเจ็บท้องเวลาจะคลอดลูก.
  6. ร้าวฉาน : ว. แตกร้าว, แตกร้าวกัน, โกรธเคืองกัน, เช่น การทะเลาะ เบาะแว้งทำให้เกิดร้าวฉานกัน.
  7. ร้าวระบม : ก. ปวดร้าวเพราะความบอบช้ำ.
  8. เจ็บช้ำน้ำใจ : ก. เจ็บใจ, สะเทือนใจ.
  9. เจ็บท้องข้องใจ : (โบ) ก. เดือดเนื้อร้อนใจ. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
  10. เจ็บปวด : ก. รู้สึกเจ็บใจเพราะผิดหวัง.
  11. เจ็บร้อน : ก. เป็นเดือดเป็นแค้น.
  12. เจ็บแสบ : ก. รู้สึกเจ็บใจอย่างเผ็ดร้อน.
  13. ร้าวระทม : ก. ตรอมใจ.
  14. ระบม : ก. อาการเจ็บร้าวที่เกิดจากความเมื่อยขัดหรือบอบชํ้าเป็นต้น เช่น ฝีระบม จนเป็นไข้ ถูกตีระบมไปทั้งตัว, ชอกช้ำ เช่น อกระบม ระบมใจ.
  15. ระยำ : ว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำ ช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).
  16. ทำเสียเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
  17. ทำเอาเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเสียเจ็บ ก็ว่า.
  18. บาดเจ็บ : ว. มีบาดแผลทําให้เจ็บปวด.
  19. ปวดร้าว : ก. เจ็บปวดไปทั่ว, เจ็บชํ้านํ้าใจ.
  20. หยิกเล็บเจ็บเนื้อ : (สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผล กระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้อง กันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.
  21. ซะซร้าว : [–ซ้าว] (กลอน) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่.
  22. เพชรร้าว : (สํา) ว. ที่ไม่บริสุทธิ์, ที่มีตําหนิ.
  23. รอยร้าว : น. เค้าหรือท่าทีแห่งการแตกแยก.
  24. แผลริมอ่อน : น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคชนิด Haemophilus ducreyi จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อน แล้วแตกเป็นแผล ลักษณะขอบแผลอ่อนคล้ายแผลเปื่อย เลือดออกง่าย เจ็บ และ บางครั้งต่อมนํ้าเหลืองบริเวณขาหนีบจะบวมโต.
  25. ราว ๒, ราว ๆ : ว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราว ธงราว ไฟราว; ในระดับใกล้เคียง, ประมาณ, เช่น สูงแค่ราวนม เวลาราว ๆ เที่ยง ราคาราว ๆ นั้นแหละ.
  26. รูดม่าน : ก. ดึงม่านหรือม่านบังตาให้เลื่อนไปตามราวเพื่อปิดหรือเปิด; โดยปริยายหมายความว่า สิ้นสุด, จบ, เช่น รูดม่านชีวิต.
  27. ออดแอด, ออด ๆ แอด ๆ : ว. อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ; อาการที่ป่วย อยู่บ่อย ๆ ในความว่า เจ็บออดแอด หรือ เจ็บออด ๆ แอด ๆ.
  28. จบ ๑ : น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
  29. ราว ๑ : น. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสําหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึง สำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้าหรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน,ไม้หรือโลหะเป็นต้น สำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.
  30. กบเต้นสลักเพชร : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บเรียมห่าง จางรักให้ใจเรียมหวน.
  31. กบเต้นสามตอน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บคําจําคิดจิตขวย.
  32. กรม ๑ : [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.
  33. กรอม ๒ : [กฺรอม] ว. ระทม, เจ็บช้ำอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรอมใจ.
  34. กระทำ ๒ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
  35. กระหม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกน้ำค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
  36. ร้าว : [กฺร้าว] ว. แข็งกระด้าง, แข็งมากหรือแข็งเกินพอดี ซึ่งอาจแตกบิ่นได้ง่าย, ไม่นุ่มนวล.
  37. กะกร้าว : (กลอน) ว. มีเสียงอย่างขบฟันดังกร้วม ๆ, (โบ) เขียนเป็น กกร้าว ก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  38. กำ ๓, กำม : (โบ) น. กรรม เช่น ไข้เจ็บหมอตั้งกําไว้, ท่านว่าเป็นกํามของเขาเอง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  39. กินเหล็กกินไหล : (สํา) ว. ทนต่อความเหน็ดเหนื่อย หรือความเจ็บปวดได้อย่างผิดปรกติ.
  40. กุมภัณฑ-, กุมภัณฑ์ : [-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).
  41. แก้เผ็ด : ก. ทําตอบแก่ผู้ที่เคยทําความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน.
  42. ขม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อย ก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า.
  43. ขัดยอก : ก. เคล็ดและรู้สึกเจ็บปวด.
  44. เขยก : [ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการ ที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
  45. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  46. ไข้ : น. ความเจ็บป่วย เช่น ไข้จับสั่น ไข้ทรพิษ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่; อาการ ที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดจากระดับปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย. (อ. fever, pyrexia, pyrexy).
  47. คนไข้ : น. ผู้ป่วย, ผู้บาดเจ็บ.
  48. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  49. ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
  50. คลำป้อย : ก. อาการที่คลำและลูบแล้ว ๆ เล่า ๆ ตรงที่เจ็บ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-481

(0.1338 sec)