เจ็บใจ : ก. ชํ้าใจ.
แกะสะเก็ด : ก. เป็นคําเปรียบหมายความว่ารื้อฟื้น เรื่องเก่าขึ้นมาพูดให้เจ็บใจ.
ขอดค่อน : ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือ เจ็บใจ, ค่อนขอด ก็ว่า.
ขัดแค้น : ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย.
ขุ่นแค้น : ก. โกรธอย่างเจ็บใจ.
ค่อนขอด : ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า.
แค้น : ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย เช่น แค้นใจ แค้นเคือง.
เจ็บช้ำน้ำใจ : ก. เจ็บใจ, สะเทือนใจ.
เจ็บปวด : ก. รู้สึกเจ็บใจเพราะผิดหวัง.
เจ็บแสบ : ก. รู้สึกเจ็บใจอย่างเผ็ดร้อน.
ช้ำใจ : ก. เจ็บใจ, ระทมใจ.
ถากถาง : ก. ค่อนว่า, มีเจตนาว่าให้เจ็บใจ.
ทิ่มตำ : ว. อาการที่พูดทับถม ปรักปรํา ซํ้าเติมให้เจ็บใจ เรียกว่า พูดทิ่มตํา.
ทิ่มแทง : ก. ทิ่มให้ทะลุเข้าไป, อาการที่แทงซํ้าหลาย ๆ ครั้ง. ว. อาการที่พูดเสียดสีให้เจ็บใจ เรียกว่า พูดทิ่มแทง.
ยอกย้อน : ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมี เงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดี ยอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
ย้อนยอก : ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า.
เย้ย : ก. พูดหรือกระทําให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
เย้ยหยัน : ก. พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
เยาะเย้ย : ก. ค่อนว่าหรือแสดงกิริยาซ้ำเติมให้ได้อาย ให้ช้ำใจเจ็บใจ ให้โกรธ.
สับโขก : ก. ดุด่าว่าให้เจ็บใจอยู่เสมอ ๆ, โขกสับ ก็ว่า.
เหน็บ ๓ : ก. พูดเสียดสีแคะไค้ เช่น เขาชอบมาเหน็บให้เจ็บใจ. ว. อาการที่พูดเสียดสี แคะไค้ ในคำว่า พูดเหน็บ.