Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้ากระทรวง, กระทรวง, เจ้า , then กระทรวง, จา, จากรทรวง, เจ้, เจ้า, เจ้ากระทรวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้ากระทรวง, 837 found, display 1-50
  1. เจ้ากระทรวง : น. ผู้บังคับบัญชากระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี และ ปลัดกระทรวง.
  2. เจ้า : น. ผู้ค้าขายสิ่งของต่าง ๆ เช่น เจ้าผัก เจ้าปลา, ลักษณนามหมายความว่า ราย เช่น มีผู้มาติดต่อ ๓ เจ้า.
  3. กระทรวง : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  4. กระทรวง : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
  5. เจ้า : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  6. เจ้า : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
  7. เจ้า : น. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน; คํานําหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่.
  8. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
  9. เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  10. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  11. เจ้ากรม : น. หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายทหาร, (โบ) หัวหน้ากรมในราชการ ฝ่ายพลเรือน เช่น เจ้ากรมสวนหลวง. (สามดวง), หัวหน้ากรมของเจ้าต่างกรม.
  12. เจ้ากรรม : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้น กลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดง ความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรม แท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
  13. เจ้ากรรมนายเวร : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรม ก็ว่า.
  14. เจ้าขรัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
  15. เจ้าขุนมุลนาย, เจ้าขุนมูลนาย : น. ผู้บังคับบัญชา, เจ้านาย ก็ว่า.
  16. เจ้าคณะ : น. หัวหน้าคณะสงฆ์, คําเรียกตําแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ ระดับตําบล อําเภอ จังหวัด และภาค เป็นต้น ว่า เจ้าคณะตําบล เจ้าคณะ อําเภอ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาคตามลําดับ.
  17. เจ้าครอก : (โบ) น. เจ้าโดยกําเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า ว่า เจ้าครอก.
  18. เจ้าจอมมารดา : น. เจ้าจอมที่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาแล้ว.
  19. เจ้าจำนวน : (โบ) น. เจ้าหน้าที่เก็บภาษีอากร.
  20. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  21. เจ้าท่า : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการ เดินเรือ การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ.
  22. เจ้าที่ ๑ : น. พระภูมิ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พระภูมิเจ้าที่. เจ้าที่ ๒, เจ้าที่เจ้าทาง น. เทวดารักษาพื้นที่และหนทาง.
  23. เจ้าทุกข์ : น. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.
  24. เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
  25. เจ้านาย : น. เจ้า; ผู้บังคับบัญชา, เจ้าขุนมุลนาย หรือ เจ้าขุนมูลนาย ก็ว่า.
  26. เจ้าบ่าว : น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.
  27. เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
  28. เจ้าพนักงาน : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็น ประจําหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทําหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย.
  29. เจ้าพนักงานบังคับคดี : (กฎ) น. เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่น ผู้มี อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อคุ้มครอง สิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาล.
  30. เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
  31. เจ้าฟ้า : น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดา เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
  32. เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
  33. เจ้ามือ : น. ผู้ตั้งต้นในวงการพนันเช่นวงไพ่, ผู้รับกินรับใช้ในการเล่น การพนันเช่นถั่ว โป หวย; (ปาก) ผู้รับออกเงินในการเลี้ยง, เจ้าภาพ ก็ว่า.
  34. เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
  35. เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
  36. เจ้าสัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าขรัว ก็เรียก.
  37. เจ้าสาว : น. หญิงผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าบ่าว.
  38. เจ้าหลวง : น. เจ้าผู้ครองประเทศราชฝ่ายเหนือ.
  39. เจ้าหัว, เจ้าหัวกู : (โบ) น. ผู้เป็นเจ้าเหนือหัว (ใช้เรียกพระสงฆ์).
  40. เจ้าอธิการ : น. พระที่ดํารงตําแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น.
  41. เจ้ากี้เจ้าการ : น. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตน จนน่ารำคาญ.
  42. เจ้าข้าวแดงแกงร้อน : น. ผู้มีบุญคุณที่เคยอุปการะเลี้ยงดูมา.
  43. เจ้าไข้ : น. เจ้าของคนไข้, ผู้รับผิดชอบในตัวคนไข้.
  44. เจ้าคะ : ว. คำที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือถามผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  45. เจ้าคารม : น. ผู้มีฝีปากคมคาย.
  46. เจ้าคุณ : (โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มี บรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็น พระราชาคณะ.
  47. เจ้าคุณจอม : น. ตําแหน่งพระสนมเอกวังหลวง.
  48. เจ้าแง่เจ้างอน, เจ้าแง่แสนงอน : ว. มีแง่งอนมาก.
  49. เจ้าจอม : น. ตําแหน่งพระสนมวังหลวง.
  50. เจ้าจำนำ : น. ผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจํา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-837

(0.1856 sec)