เจ้าของ : น. (กฎ) ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน; ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บผลประโยชน์ และจําหน่ายทรัพย์สิน.
บดี : [บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความ ว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคําท้ายด้วยหมายความ แต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
สวามิ, สวามี : [สะหฺวา] น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย; ผัว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสวามี; เจ้าของ. (ส. สฺวามี, สฺวามินฺ; ป. สามิ).
กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
กัลปนา : [กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของ อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทําอุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
เข้านอกออกใน : ก. สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถ เข้าไปถึงข้างในได้ตลอดเวลา.
คชลักษณ์ : น. รูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว, ประเภทตํารา แสดงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณหรือ โทษแก่เจ้าของ.
ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
ครอบครองปรปักษ์ : (กฎ) ก. ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดย ความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ บุคคลผู้ครอบครอง ปรปักษ์ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี บุคคลนั้นได้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น.
ควายปละ : [-ปฺละ] น. ควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพัง.
ค่าหน้าดิน : น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็น ค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน.
คืนให้ : ก. กลับให้แก่เจ้าของเดิม.
เครื่องหมายการค้า : (กฎ) น. เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของ เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมาย การค้าของบุคคลอื่น.
จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
จุดไต้ตำตอ : (สํา) ก. พูดหรือทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทําไม่รู้ตัว.
เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
เจ้าไข้ : น. เจ้าของคนไข้, ผู้รับผิดชอบในตัวคนไข้.
เจ้าถิ่น : น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต.
เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
เจ้าหนี้ : น. เจ้าของหนี้; ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้; (กฎ) บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ และมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้.
เช่าซื้อ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สิน นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็น จํานวนเท่านั้นเท่านี้คราว.
ตะกาย : ก. ป่ายปีน เช่น แมวตะกายฝา หมาตะกายเจ้าของ.
ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
เถ้าแก่ : น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสํานัก; ผู้ใหญ่ที่เป็น ประธานในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมี ฐานะดี, เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).
เถ้าแก่เนี้ย : น. เรียกหญิงจีนที่เป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นภรรยาของเถ้าแก่.
ทะเลหลวง : น. ทะเลใหญ่, มหาสมุทร, ทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่ นอกน่านนํ้าอาณาเขตของประเทศที่เป็นเจ้าของ.
ทานบดี : [ทานนะบอดี] น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทานปติ).
ทานาธิบดี : น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทาน + อธิปติ).
ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
ธรรมสามี : น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
นายเงิน : ((โบ) น. ผู้เป็นเจ้าของเงินไปช่วยไถ่ทาสเอามาใช้.
นายทุน : ( น. ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้า, ผู้ลงทุนประกอบ กิจการหรือออกทุนให้ผู้อื่นประกอบกิจการ.
นายโรง : (น. พระเอกลิเก, เจ้าของคณะลิเก; หัวหน้าคณะหนังตะลุงหรือ มโนราห์.
ปล้นสะดม : (โบ) ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิท ไม่รู้สึกตัว.
ปล่อยปละ. : ว. เรียกควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพังว่า ควายปละ.
เปลี่ยนมือ : ก. เปลี่ยนเจ้าของ, เปลี่ยนผู้ครอบครอง.
ผูกดวง : (โหร) ก. นําเครื่องหมายแทนพระเคราะห์มี อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เป็นต้น บรรจุลงในดวงตามช่อง จักรราศีทั้ง ๑๒ ที่โคจรมาสถิตตามวัน เดือน ปี และเวลาตกฟาก ของเจ้าของชะตานั้น ดูว่าอาทิตย์ตกอยู่ในราศีใด แล้วเอาองศาอ าทิตย์ของวันเกิดเจ้าของชะตามาคํานวณว่า เมื่อเวลา ๖.๐๐ นาฬิกา อาทิตย์อยู่ในราศีดังกล่าวมาแล้วนานเท่าใด เรียกว่า อดีตอุทัย และ เวลาเหลืออีกนานเท่าใดจึงจะพ้นไปจากราศีนั้น เรียกว่า อนาคตอุทัย แล้วเอาเวลาตกฟากตั้งลบด้วย ๖.๐๐ นาฬิกา และอนาคตอุทัย ต่อไป เอาอันโตนาทีของราศีถัด ๆ ไปลบทีละราศี ถ้าเวลาหรือเลขที่เหลือ ไม่พอให้อันโตนาทีของราศีใดลบได้ ลัคนาก็อยู่ที่ราศีนั้น การ ผูกดวงนี้เพื่อทํานายโชคชะตาเป็นต้น.
ฟางลอย : น. นาป่าที่เจ้าของได้เสียค่านาตามเนื้อที่ที่ได้ปลูกข้าว เรียกว่า นาฟางลอย, ผิดกับนาคู่โค ซึ่งต้องเสียค่านาเต็มตามโฉนด.
ภารยทรัพย์ : [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระ บางอย่างที่เกิดจากภาระจํายอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
มหาจักร ๓ : น. ดาว ๘ ดวง มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และราหู ซึ่งอยู่ในราศีนิยม เช่น จันทร์อยู่ราศีเมษ อาทิตย์อยู่ราศีกรกฎ ตามที่ท่านกำหนดไว้ย่อมทรงคุณทำให้เจ้าของ ชะตาเด่นขึ้นหรือคุ้มโทษต่าง ๆ ได้.
มหาอุด : น. เครื่องรางของขลังที่ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของอยู่ยงคงกระพัน; โบสถ์หรือวิหาร ที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น.
มี : ว. รวย เช่น เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน, ไม่เปล่า, ไม่ว่าง, เช่น ในหม้อ มีข้าว ในห้องน้ำมีคน. ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่น มีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค, ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่ เช่น มีคนอยู่ไหม.