เจ้าอธิการ : น. พระที่ดํารงตําแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น.
อธิการ : [อะทิกาน] น. เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งไม่มีสมณศักดิ์ อย่างอื่นว่า พระอธิการ, เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งพระอุปัชฌาย์หรือ เจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ; ตําแหน่งสูงสุด ของผู้บริหารในวิทยาลัย. (ป., ส.).
เจ้า ๔ : น. ผู้ค้าขายสิ่งของต่าง ๆ เช่น เจ้าผัก เจ้าปลา, ลักษณนามหมายความว่า ราย เช่น มีผู้มาติดต่อ ๓ เจ้า.
เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
เจ้า ๓ : น. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน; คํานําหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่.
คณาธิการ : น. ผู้มีอํานาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทําหน้าที่ ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปว่า พระคณาธิการ. (ป., ส. คณ + อธิการ).
เจ้ากรม : น. หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายทหาร, (โบ) หัวหน้ากรมในราชการ ฝ่ายพลเรือน เช่น เจ้ากรมสวนหลวง. (สามดวง), หัวหน้ากรมของเจ้าต่างกรม.
เจ้ากรรม : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้น กลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดง ความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรม แท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
เจ้ากรรมนายเวร : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรม ก็ว่า.
เจ้าขรัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
เจ้าขุนมุลนาย, เจ้าขุนมูลนาย : น. ผู้บังคับบัญชา, เจ้านาย ก็ว่า.
เจ้าคณะ : น. หัวหน้าคณะสงฆ์, คําเรียกตําแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ ระดับตําบล อําเภอ จังหวัด และภาค เป็นต้น ว่า เจ้าคณะตําบล เจ้าคณะ อําเภอ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาคตามลําดับ.
เจ้าครอก : (โบ) น. เจ้าโดยกําเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า ว่า เจ้าครอก.
เจ้าจอมมารดา : น. เจ้าจอมที่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาแล้ว.
เจ้าจำนวน : (โบ) น. เจ้าหน้าที่เก็บภาษีอากร.
เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
เจ้าท่า : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการ เดินเรือ การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ.
เจ้าที่ ๑ : น. พระภูมิ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พระภูมิเจ้าที่. เจ้าที่ ๒, เจ้าที่เจ้าทาง น. เทวดารักษาพื้นที่และหนทาง.
เจ้าทุกข์ : น. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.
เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
เจ้านาย : น. เจ้า; ผู้บังคับบัญชา, เจ้าขุนมุลนาย หรือ เจ้าขุนมูลนาย ก็ว่า.
เจ้าบ่าว : น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.
เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
เจ้าพนักงาน : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็น ประจําหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทําหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย.
เจ้าพนักงานบังคับคดี : (กฎ) น. เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่น ผู้มี อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อคุ้มครอง สิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาล.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
เจ้าฟ้า : น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดา เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
เจ้ามือ : น. ผู้ตั้งต้นในวงการพนันเช่นวงไพ่, ผู้รับกินรับใช้ในการเล่น การพนันเช่นถั่ว โป หวย; (ปาก) ผู้รับออกเงินในการเลี้ยง, เจ้าภาพ ก็ว่า.
เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
เจ้าสัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าขรัว ก็เรียก.
เจ้าสาว : น. หญิงผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าบ่าว.
เจ้าหลวง : น. เจ้าผู้ครองประเทศราชฝ่ายเหนือ.
เจ้าหัว, เจ้าหัวกู : (โบ) น. ผู้เป็นเจ้าเหนือหัว (ใช้เรียกพระสงฆ์).
เจ้ากระทรวง : น. ผู้บังคับบัญชากระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี และ ปลัดกระทรวง.
เจ้ากี้เจ้าการ : น. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตน จนน่ารำคาญ.
เจ้าข้าวแดงแกงร้อน : น. ผู้มีบุญคุณที่เคยอุปการะเลี้ยงดูมา.
เจ้าไข้ : น. เจ้าของคนไข้, ผู้รับผิดชอบในตัวคนไข้.
เจ้าคะ : ว. คำที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือถามผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
เจ้าคารม : น. ผู้มีฝีปากคมคาย.
เจ้าคุณ : (โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มี บรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็น พระราชาคณะ.
เจ้าคุณจอม : น. ตําแหน่งพระสนมเอกวังหลวง.
เจ้าแง่เจ้างอน, เจ้าแง่แสนงอน : ว. มีแง่งอนมาก.
เจ้าจอม : น. ตําแหน่งพระสนมวังหลวง.
เจ้าจำนำ : น. ผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจํา.
เจ้าชีวิต : น. พระเจ้าแผ่นดิน.