Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ, 31 found, display 1-31
  1. เจ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
  2. เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
  3. เจดีย-, เจดีย์ ๑ : [-ดียะ-] น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือ มีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. (ป. เจติย; ส. ไจตฺย).
  4. เจดียฐาน, เจดียสถาน : น. สถานที่เคารพเช่นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธบาท พระพุทธฉายา และพระบรมสารีริกธาตุ.
  5. โรงเจ : น. โรงอาหารที่มีแต่อาหารเจ ตามปรกติสำหรับคนจีนที่ถือศีล กินอยู่โดยไม่เสียเงิน.
  6. กินเจ, กินแจ : ก. ถือศีลอย่างญวนหรือจีน โดยกินอาหารจำพวกผักล้วน ไม่มีเนื้อสัตว์.
  7. อัจเจกะ : ว. ผิดปรกติ, บังเอิญเป็น; รีบร้อน; จำเป็น. (ป.).
  8. แจ ๒ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, เจ ก็ว่า. (จ.).
  9. กมล- , กมลา : [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  10. โทธก : [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  11. เจตคติ : [เจตะ-] น. ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. attitude).
  12. เจตสิก : [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
  13. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  14. คุ้มโทษ : (โบ) ก. ได้รับความคุ้มกันที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ เช่น อหนึ่ง ผู้ตามโจรได้รบพุ่งฟันแทงมีบาดเจบท่านว่าคุ้มโทษ. (สามดวง).
  15. จราว ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว๔).
  16. เจต, เจต- : [เจด, เจตะ-, เจดตะ-] น. สิ่งที่คิด, ใจ. (ป.; ส. เจตสฺ).
  17. ซ้ำซาก : ว. ทําแล้วทําอีกอย่างเดียวกันรํ่าไป, จําเจ.
  18. ทำแท้ง : ก. รีดลูก, มีเจตนาทําให้ทารกออกจากครรภ์มารดาก่อน กําหนดและตาย.
  19. ปัจเจกบุคคล : [ปัดเจกกะ-] น. บุคคลแต่ละคน.
  20. ปัจเจก, ปัจเจก- : [ปัดเจก, ปัดเจกะ-, ปัดเจกกะ-] (แบบ) ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น ปัจเจกชน. (ป.).
  21. ปัจเจกพุทธะ : [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้ เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
  22. ปัจเจกโพธิ : [ปัดเจกกะโพด] น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. (ป.).
  23. ปัจเจกสมาทาน : [ปัดเจกะสะมาทาน] น. การสมาทานศีลทีละ สิกขาบท เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน, ถ้าสมาทานรวบท้าย เช่นว่า พุทฺธปญฺ?ตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ หรือ อฏฺ? สีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน. (ป.).
  24. ปัญญาวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยปัญญา เป็น โลกุตรธรรมประการหนึ่ง, คู่กับ เจโตวิมุติ. (ป. ป?ฺ?าวิมุตฺติ).
  25. พินัยกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากําหนดการเผื่อ ตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็น ผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
  26. โลกาวินาศ : ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้าม ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็น โลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
  27. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  28. เหม็นเบื่อ : ก. เบื่อหน่ายเพราะจําเจ.
  29. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  30. อนุสัญญา : น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สําคัญเฉพาะเรื่อง ที่ ทําเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึก และผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
  31. อภิญญา, อภิญญาณ : [อะพินยา, อะพินยาน] น. ''ความรู้ยิ่ง'' ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกําหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺ?า, อภิชฺ?าน).
  32. [1-31]

(0.0129 sec)