Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เฉพาะถิ่น, เฉพาะ, ถิ่น , then ฉพา, ฉพาถน, เฉพาะ, เฉพาะถิ่น, ถน, ถิ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เฉพาะถิ่น, 1033 found, display 1-50
  1. ถิ่น : น. ที่, แดน, ที่อยู่, เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย.
  2. เฉพาะ : [ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).
  3. พื้นบ้าน : ว. เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ พื้นเมือง เป็น พื้นบ้านพื้นเมือง.
  4. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  5. กระอาน : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเต่าน้ำกร่อยชนิด Batagur baska ในวงศ์ Emydidae สามารถปรับตัวอยู่ในน้ำจืดได้ พบเฉพาะทางภาคใต้, กะอาน ก็เรียก.
  6. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  7. เหล่า : [เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กําลังพล ของทหารซึ่งประกอบกับคําอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหาร ปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.
  8. ท้องถิ่น : น. ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น; (กฎ) พื้นที่ภายในเขตการปกครองของราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล.
  9. ภาษาถิ่น : น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะ ตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.
  10. อาน ๕ : (ถิ่นปักษ์ใต้) ว. เป็นหมัน, ไม่มีลูก, (ใช้เฉพาะสัตว์).
  11. เฉพาะกิจ : ว. เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น หน่วยปราบปรามเฉพาะกิจ.
  12. เฉพาะตัว : ว. เฉพาะบุคคล, ส่วนตัว.
  13. เฉพาะหน้า : ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า.
  14. เฉพาะกาล : ว. ชั่วคราว ในคําว่า บทเฉพาะกาล.
  15. เฉพาะพระพักตร์ : (ราชา) ว. ต่อหน้า.
  16. ม้าลาย : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดําขาวพาดขวางลําตัวตัดกันสะดุดตา เห็นได้ชัดเจน จมูกดํา ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหาง ไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนํามาเลี้ยงตามสวนสัตว์ ทั่ว ๆ ไป.
  17. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  18. สมัน : [สะหฺมัน] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Cervus schomburgki ในวงศ์ Cervidae ขนาดเล็กกว่ากวางป่า ขนสีนํ้าตาล หางสั้น เขาแตกแขนง มากกว่ากวางชนิดอื่น เป็นกวางที่มีเขาสวยงามมาก และมีถิ่นกําเนิด เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เป็นสัตว์ป่าสงวนซึ่งสูญพันธุ์แล้ว, เนื้อสมัน ก็เรียก.
  19. ส่วนตัว : ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล.
  20. สวนรุกขชาติ : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะ ไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียน ป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. (อ. arboretum).
  21. หนู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะ นําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของ บางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.
  22. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  23. อุรังอุตัง : น. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนตามลําตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้น และค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอย และกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างพองห้อย นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัย อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา (Pongo pygmaeus abeli) และพันธุ์บอร์เนียว (P.pygmaeus pygmaeus) มีถิ่นกําเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและ เกาะบอร์เนียวเท่านั้น.
  24. จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
  25. ดำบล : (แบบ; กลอน) น. ตําบล, ถิ่น, หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ๆ.
  26. แถบ : ว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไป แถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่น–พายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.
  27. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  28. พิสัย : น. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตําบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).
  29. พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
  30. ย่าน ๑ : น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรง และยาว.
  31. เจ้าถิ่น : น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต.
  32. เช็คขีดคร่อมเฉพาะ : (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวาง ไว้ข้างด้านหน้าและในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น กรอกชื่อ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งลงไว้โดยเฉพาะและจะใช้เงิน ตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารนั้น.
  33. พลัดถิ่น : ว. อยู่ไกลจากถิ่นที่อยู่ของตน เช่น เรียกรัฐบาลที่ตั้งศูนย์ บัญชาการอยู่นอกประเทศของตนว่า รัฐบาลพลัดถิ่น.
  34. วิทยุเฉพาะกิจ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชน ทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
  35. ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลาย ลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
  36. ศัพท์เฉพาะวิชา : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.
  37. เหยียบถ้ำเสือ, เหยียบถิ่นเสือ : ก. เข้าไปในแดนผู้มีอิทธิพลโดยไม่แสดง ความยำเกรง.
  38. กระจอนหู : (ถิ่น) น. ตุ้มหู. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑).
  39. กระเจ่า, กระเจ้า ๑ : (ถิ่น) น. นกยาง เช่น กระจาบกระเจ้าจับ ซ้องศัพทอึงอล.
  40. กระซวย : (ถิ่น) น. กรวย เช่น กระซวยหมากพลู.
  41. กะเด้ : (ถิ่น) ว. ประเดี๋ยว เช่น รอกะเด้ = รอประเดี๋ยว, เดี๋ยวนี้ เช่น ไปกะเด้ = ไปเดี๋ยวนี้.
  42. กะหูด : (ถิ่น) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในท้องที่จังหวัดจันทบุรี รูปร่างคล้ายกรวย ทําด้วยไม้ไผ่.
  43. กาเปี้ยด : (ถิ่น) น. ต้นหนอนตายหยาก. (พจน. ๒๔๙๓).
  44. ขะแถก : (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  45. เขิบ : (ถิ่น) ว. ดอน, เขิน.
  46. คิง : (ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).
  47. จะแคง : (ถิ่น) ว. ตะแคง. (ดู จระแคง).
  48. ซ่อน ๒ : (ถิ่น) ก. ช้อน, ต้อน, ใช้เฝือกกั้นลํานํ้าเพื่อจับปลา.
  49. ซาง ๓, ซ่าง ๑ : (ถิ่น) น. บ่อนํ้า.
  50. ด้ง : (ถิ่น) น. กระด้ง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1033

(0.1780 sec)