เฉา : ก. เหี่ยว, ไม่สดชื่น.
เฉาฮื้อ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สําคัญคือ ลําตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลําตัวสีเงินอาศัยหากินพืชน้ำอยู่ใกล้ผิวน้า มีถิ่นเดิมอยู่ใน ประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
สลด : [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยงหรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด.
เฉ : ว. เหไป, ไม่ตรงเส้นตรงแนว.
กระอ้า : น. โรคพืชชนิดหนึ่งเกิดแก่ใบยาสูบ ทําให้ใบเฉาเหี่ยวแห้ง หรือตายนึ่ง.
จุดเหี่ยวเฉา : น. ขีดขั้นที่กําหนดปริมาณนํ้าในดินน้อยที่สุดเท่าที่พืชจะ สามารถนําไปเลี้ยงลําต้นได้โดยไม่เหี่ยวเฉา ถ้ามีปริมาณนํ้าในดินน้อย กว่านั้น พืชจะเหี่ยวเฉาทันที.
ชิงฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีหนวด ชนิด Mylopharyngodon aethiops ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ลําตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลําคอเพียงแถวเดียว ที่สําคัญ คือ ทั่วลําตัวและครีบสีออกดํา มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
ปลาจีน : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae โดยเฉพาะที่ชาวจีนจากประเทศจีนได้นําเข้ามาเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น ปลาเฉาฮื้อ (Ctenopharyngodon idellus) ปลาซ่งฮื้อ (Aristichthys nobilis) ปลาเล่งฮื้อ (Hypophthalmichthys molitrix) ทั้งยังอาจหมายถึง ปลาหลีฮื้อ หรือ ปลาไน (Cyprinus carpio) ด้วย.
สลบแดด : ก. อาการที่ใบไม้ดอกไม้เหี่ยวหรือเฉาเมื่อถูกแดดหรือ ความร้อน.
เฉลี่ยง : [ฉะเหฺลี่ยง] น. ยาน, คานหาม, โดยมากใช้ว่า เสลี่ยง.
ฉิ่ง ๒ : ว. เก, เฉ, ไม่ตรง, (ใช้แก่แขนขา) เช่น ขาฉิ่ง แขนฉิ่ง.
เย้ : ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทําท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวน จะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
เห : ก. เบนไป เช่น เหหัวเรือ, เขว เช่น เขาเหไปเข้าข้างศัตรู, เฉ เช่น รถยนต์ เหออกนอกทาง.
ฉ่อย : น. ชื่อเพลงสําหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่า ปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสําคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับ พร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
ฉาตกภัย : [ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง. (ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).
ฉาทนะ : [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกําบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
กัจฉา : [กัดฉา] (แบบ) น. สายรัดท้องช้าง. (ป.; ส. กกฺษา, กกฺษฺยา).
กาเมสุมิจฉาจาร : [-มิดฉาจาน] น. การประพฤติผิดในประเวณี. (ป.).
เกก : ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตําราช้างคําโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.
ควายเขาเกก : น. ควายที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคน ที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า.
ฉวัดเฉวียน : [ฉะหฺวัดฉะเหฺวียน] ก. อาการที่บินวนเวียนไปมาอย่างผาดโผน เช่น บินฉวัดเฉวียน, แล่นเร็วอย่างผาดโผน เช่น ขับรถฉวัดเฉวียน. ว. วนเวียน. (ข. ฉฺวาต่เฉวียล).
ฉะฉ่ำ : (กลอน) ว. ฉ่า, ชุ่มชื้น.
เฉียง ๑ : ว. เฉหรือเบี่ยงจากแนวไปทางใดทางหนึ่ง เช่น เฉียงเหนือ เฉียงใต้ ห่ม สไบเฉียง.
แฉลบ ๑ : [ฉะแหฺลบ] ก. อาการของสิ่งแบน ๆ เคลื่อนเฉไปเฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น ว่าวแฉลบร่อนกระเบื้องให้แฉลบไปตามผิวน้ำ. ว. อาการที่เคลื่อนเฉไป เฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น นกบินแฉลบ รถวิ่งแฉลบ.
เซี่ยว : ว. เสี้ยว, เฉไม่ตรงแนวมีรูปเรียวปลายคล้ายรูปชายธง, เช่น ผ้าเซี่ยว ใบตองเซี่ยว ตัดเซี่ยว.
ทำเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาด ห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
บริเฉทกาล : [บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน] น. เวลาที่มีกําหนดลง.
บริเฉท, บริเฉท- : [บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกําหนด; ข้อความที่ รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กําหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).
แบ้ : ว. แบะ, ไปล่, แปล้, เฉไปข้างหลัง เช่น ควายเขาแบ้.
ปัด ๑ : ก. ทําให้หมดไปพ้นไปด้วยการพัดหรือโบกเป็นต้น เช่น ปัดฝุ่น ปัดแมลงวัน ปัดพิษ; เบนไป, เฉไป, เช่น พระอาทิตย์ปัดเหนือปัดใต้ ท้ายรถปัดไปทางหนึ่ง เดินขาปัด; กระทบเสียดไป เช่น กิ่งไม้ปัด หลังคา เดินเอามือปัดศีรษะ.
ปุจฉา : [ปุดฉา] ก. ถาม เช่น ขอปุจฉาพระคุณเจ้า. (ป.).
เป๋ : ว. บิดไป, เฉไป, ไถลไป, เช่น ขาเป๋ ผมเป๋, มักใช้เข้าคู่กับคํา ไป๋ ว่า เป๋ไป๋ หรือ ไป๋เป๋.
เปรียง ๒ : [เปฺรียง] น. นํ้ามัน โดยเฉพาะใช้สําหรับนํ้ามันไขข้อของวัว. (ข. เปฺรง).
ไป๋ : ว. ไถลไป, เฉไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา เป๋ เป็น ไป๋เป๋ หรือ เป๋ไป๋.
เผล, เผล้ : [เผฺล, เผฺล้] ว. เฉ, ไม่ตรง, ไพล่, เช่น ใส่หมวกเผล้ไปข้างหนึ่ง.
พิษสุนัขบ้า : น. โรคติดเชื้อไวรัสของระบบประสาท ติดต่อจาก นํ้าลายของสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมีอาการเนื่องจาก สมองอักเสบ มีไข้ เอะอะ ซึม กลืนอาหารลําบากโดยเฉพาะนํ้า ถึงตายเกือบทุกรายในระยะเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์, โรคกลัวนํ้า ก็เรียก.
มิจฉา : [มิดฉา] ว. ผิด, แผลงใช้ว่า มฤจฉา ก็มี. (ป. มิจฺฉา; ส. มถฺยา).
มูลนิธิ : [มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
ย้วย : ก. เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทําให้ยาวยื่นเกินไป เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย, ให้บิดไปบิดมา โค้งไปโค้งมา เสี้ยวไป เฉไปเฉมา เช่น แถวย้วย แม่น้ำย้วย.
ยี่สก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาว เพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดําเด่นพาด ตามยาวเฉพาะบนลําตัว ๗๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สก ทอง ก็เรียก.
ราชาศัพท์ : น. คําเฉพาะใช้สําหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคําที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย.
วัวเขาเกก : น. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึง คนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
อุจเฉททิฐิ : [อุดเฉทะ] น. ความเห็นว่าตายแล้วสูญ (ไม่มีปฏิสนธิ วิญญาณหรือการเกิดใหม่). (ป. อุจฺเฉททิฏฺ??).
อุจเฉท, อุจเฉท : [อุดเฉด, อุดเฉทะ] ก. ขาดสิ้น, สูญ. (ป., ส.).