เช็ค : (กฎ) น. หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคล อีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. (อ. cheque).
เช็คขีดคร่อม : (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้าง ด้านหน้าและจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้แต่เฉพาะให้แก่ ธนาคารเท่านั้น.
เช็คขีดคร่อมเฉพาะ : (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวาง ไว้ข้างด้านหน้าและในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น กรอกชื่อ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งลงไว้โดยเฉพาะและจะใช้เงิน ตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารนั้น.
เช็คขีดคร่อมทั่วไป : (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ ข้างด้านหน้า กับมีหรือไม่มีคำว่า ''และบริษัท'' หรือคำย่อ อย่างใด ๆ แห่งข้อความนี้อยู่ในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น.
เช็คไปรษณีย์ : (กฎ) น. ตราสารสําหรับขายแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้เจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการไปรษณีย์ แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุ นามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น.
ชค : [ชะคะ] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัย แผ่นดิน. (ป., ส.).
ต้นขั้ว : น. ส่วนต้นของใบเสร็จ เช็ค สลากกินแบ่ง เป็นต้น ที่ติดอยู่ใน เล่มเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน, หัวขั้ว ก็ว่า.
ไปรษณีย์; : (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับ หนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็ค ไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นํามาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
ขีดคร่อม :
(กฎ) ก. ขีดเส้นขนานคู่ขวางไว้ข้างด้านหน้าเช็ค. (ดู เช็คขีดคร่อม).
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
สลักหลัง : (กฎ) ก. เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไป ซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลกเงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้ เป็นที่ระลึก.
ชคดี : ดู ชค.
ชคัตตรัย : ดู ชค.
ชัค : [ชักคะ] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา. (ตะเลงพ่าย). (ป. ชค).
ชคดี : [ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).