Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เดชะ , then เดช, เดชะ, เดชา, เตช .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เดชะ, 22 found, display 1-22
  1. เดช, เดชะ : [เดด] (แบบ) น. อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).
  2. เดชน์, เดชนะ : [เดด, เดชะนะ] (แบบ) น. ลูกศร. (ป., ส.).
  3. พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
  4. เจ้าพระเดชนายพระคุณ : น. ผู้มีบุญคุณมาก.
  5. แผลงฤทธิ์, แผลงฤทธิ์แผลงเดช : (ปาก) ก. อาละวาดด้วยความโกรธ เพราะถูกขัดใจ, ออกฤทธิ์ ก็ว่า.
  6. ภาม : น. เดช เช่น แสดงพาหุพิริยพลภาม. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  7. สรุง : [สุง] (กลอน) น. อํานาจ, เดช.
  8. กายสิทธิ์ : ว. มีฤทธิ์เดชต่าง ๆ อยู่ในตัว. กายสุจริต [กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิด ในกาม ๑.
  9. กำพต : [-พด] น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกําพต พาดสายศิลปคือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล. (สุธน).
  10. คุณบท : [คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ``เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง''. (ศิริวิบุลกิตติ).
  11. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  12. ดิเรกคุณาภรณ์ : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
  13. เดโช : น. อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).
  14. ทำฤทธิ์ : ก. ทําพยศหรืออาละวาดเพื่อให้ได้รับการเอาอกเอาใจ (มักใช้แก่เด็ก), ทําฤทธิ์ทําเดช ก็ว่า.
  15. เรือง, เรือง ๆ : ว. มีแสงน้อย ๆ อย่างแมงคาเรืองหรือหิ่งห้อย เช่น จุดเทียนมีแสงเรือง เห็นแสงไฟเรือง ๆ; แตกฉาน เช่น เรืองปัญญา; โด่งดัง เช่น เรืองเดช เรืองยศ เรืองนาม เรืองอำนาจ.
  16. ฤทธา : [ริด] น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น รุ่งเรืองฤทธาศักดาเดช. (อิเหนา). (ส.; ป. อิทฺธา).
  17. หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : [หฺมิ่นพฺระบอรมมะเดชานุพาบ] ก. กระทําการ อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์.
  18. หาก : ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น ''อันไตรโลกย์ หากบูชา'' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดช พระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
  19. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  20. อะดุง : (กลอน) ว. สูงส่ง, ไม่มีที่เปรียบ, เลิศ, เช่น ศรีสิทธิฤทธิชัย ไกรกรุง อะดุงเดชฟุ้งฟ้า. (ลอ).
  21. อัฐเคราะห์ : (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจํา ทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็น แผนภูมิดังนี้ (รูปภาพ) ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไป ตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรีและศุกร์เป็นกาลกรรณี.
  22. อานุภาพ, อานุภาวะ : น. อํานาจ, ฤทธิ์เดช, ความยิ่งใหญ่. (ป., ส.).
  23. [1-22]

(0.0590 sec)