เดือนเต็ม : น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๓๐ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนขาด.
เดือน : น. ดวงจันทร์; ส่วนของปี โดยปรกติมี ๓๐ วัน.
เดือนขาด : น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๒๙ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่า คือ เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑, คู่กับ เดือนเต็ม.
อธิกวาร : [วาน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้น เดือน ๗ เป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน. (ป.).
เดือนคี่ : (ปาก) น. เดือนที่มีจํานวนคี่ คือ เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑, คู่กับ เดือนคู่.
เดือนคู่ : (ปาก) น. เดือนที่มีจํานวนคู่ คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนคี่.
เดือนจันทรคติ : [-จันทฺระคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์เดิน รอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันเดือนดับไปถึงวันเดือนดับที่ถัดไป มี ระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที แบ่งเป็น ข้างขึ้น ข้างแรม.
เดือนมืด : น. เรียกคืนที่ไม่มีดวงจันทร์ส่องแสงว่า คืนเดือนมืด.
เดือนสุริยคติ : [-สุริยะคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์.
เดือนหงาย : น. เรียกคืนที่มีดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
เดือนค้างฟ้า : น. ดวงจันทร์ที่ยังมองเห็นได้ในท้องฟ้าเวลากลางวัน.
เดือนเย็น : น. หน้าหนาว.
เดือนร้อน : น. หน้าร้อน.
แรม : น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่พระจันทร์เริ่มมืดจนถึงมืด คือ ตั้งแต่แรม ค่ำหนึ่งไปถึงแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด หรือถึงแรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม เรียกว่า ข้างแรม; ช่วงระยะเวลานานนับเดือนนับปี ในคำว่า แรมเดือน แรมปี. ก. ค้างคืน เช่น พักแรม.
วันเพ็ญ : น. วันกลางเดือนนับตามจันทรคติ คือวันที่พระจันทร์ขึ้นเต็มดวง.
กลางเดือน : น. วันเพ็ญ เช่น กลางเดือน ๖.
ข้าวสามเดือน : น. ชื่อข้าวเบาพันธุ์หนึ่งซึ่งได้ผลเร็วกว่าข้าวเบาพันธุ์อื่น เก็บเกี่ยวได้ภายใน ๓ เดือนหลังจากปลูก.
ค้างเดือนค้างปี : ว. ล่วงเวลานานเป็นเดือนเป็นปี.
เงินดาวเงินเดือน, เงินเดือนเงินดาว : น. เงินเดือน.
เงินเดือน : น. เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน.
ทุติยาสาฬหะ : [-สานหะ] (แบบ) น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).
สมัต : [สะมัด] ก. จบแล้ว, จบข้อความ, สําเร็จแล้ว; เต็ม, บริบูรณ์. (ป. สมตฺต).
สอง : น. จํานวนหนึ่งบวกหนึ่ง; เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม.
อัด ๒ : ว. ตรง, เต็ม, ตรงแบน, (ใช้แก่ลักษณะด้านหน้า) เช่น หน้าอัด สิงห์อัด.
ดอน : น. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างนํ้า, เนิน, โคก, โขด, เขิน; (ถิ่น-อีสาน) เรียกเกาะในแม่นํ้าว่า ดอน; คําประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี.
ดวงเดือน : (ราชา) น. โรคกลาก.
ดวงเดือนประดับดาว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมาง ค้างเขินขวย เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง.
ดาวล้อมเดือน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (สํา) ว. มีบริวารแวดล้อมมาก.
ประจำเดือน : น. ระดู.
มะไฟเดือนห้า : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Excoecaria oppositifolia Griff. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใช้ทํายาได้ ยางเป็นพิษ.
แมงไฟเดือนห้า : ดู เต่าบ้า.
ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
รอบเดือน : (ปาก) น. ระดู.
เลื่อยวงเดือน : น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟัน อยู่โดยรอบ.
วงเดือน : น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟันอยู่ โดยรอบ.
หัวดาวหัวเดือน : น. เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก โดยมากขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าและนิ้วมือนิ้วเท้า.
ปวารณา : [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
กรรดิก, กรรดึก :
[กัน-] (แบบ) น. เดือน ๑๒. (ดู กัตติกมาส).
กระช้อย : ว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด. (นิ. เดือน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระชด เป็น กระชดกระช้อย.
กระพริ้ม : (กลอน) ว. พริ้มพราย, แฉล้ม, เช่น ดูกระพริ้มริมแดงดังแสงโสม. (นิ. เดือน).
กรุก : [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
กฤดายุค :
[กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
กัตติกมาส : [กัดติกะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์กัตติกา คือ เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนพฤศจิกายน. (ป.).
กาฬปักษี : [กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้ว ได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับสะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).
เก้า : น. จํานวนแปดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๙ ตกในราวเดือนสิงหาคม.
ข้าวประดับดิน : (ถิ่น-อีสาน) น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและ พระเจดีย์เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙.