Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เตะลูก , then ตลก, เตะลูก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เตะลูก, 23 found, display 1-23
  1. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  2. ตลกคะนอง : ว. อาการที่พูดหรือทําให้ขบขันด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
  3. ตลกบาตร : [ตะหฺลก-] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ถลกบาตร ก็ว่า.
  4. ตลกโปกฮา : ว. อาการที่พูดชวนให้ขบขันเฮฮา.
  5. ตลกหัวเราะ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  6. เล่นตลก : ก. หลอกหรือล้ออย่างตลกเพื่อให้หลงเชื่อ เช่น ขอดูแหวน แล้วเล่นตลกสวมนิ้วไปเลย; กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นไม่ซื่อ ก็ว่า.
  7. มุกตลก : [-ตะหฺลก] น. วิธีทำให้ขบขัน.
  8. ไม้ตลก : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหัวโต เอารากมาทำเป็นต้นไม้ดัด มีรูปทรงคดงอไม่ เข้ารูปใด ๆ มีรากโผล่มาให้เห็น.
  9. การ์ตูน ๑ : น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจ ล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
  10. เครื่องเล่น : น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขัน หรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
  11. จำอวด : น. การแสดงโดยใช้ถ้อยคํา ท่าทาง ชวนให้ตลกขบขัน.
  12. โจ๊ก ๔ : น. ตัวตลก. (อ. joker); เรื่องตลก. ว. ตลกขบขัน. (อ. joke).
  13. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  14. ถลกบาตร ๑ : [ถะหฺลกบาด] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ตลกบาตร ก็ว่า.
  15. ประหาส : น. การรื่นเริง, การสนุก, การเล่นตลก. (ส. ปฺรหาส; ป. ปหาส).
  16. มิ ๒ : ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
  17. ยืนโรง : น. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจํา เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้าง หรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจําโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอด รายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง).
  18. เล่นไม่ซื่อ : ก. กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นตลก ก็ว่า.
  19. หน้าตาย : น. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย. ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย.
  20. หัสนาฏกรรม : น. ละครหรือเรื่องราวที่ตลกขบขัน.
  21. หัสนิยาย : น. เรื่องชวนหัว, เรื่องราวที่เต็มไปด้วยความตลกขบขัน.
  22. หาสก, หาสกะ : [-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).
  23. หาสยะ : [-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).
  24. [1-23]

(0.0680 sec)