โล่ง : ว. มีลักษณะว่าง เตียน ไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ที่โล่ง ป่า ถูกตัดต้นไม้เสียโล่ง, ที่เปิดตลอดไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ห้องโล่ง, โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากอุปสรรค เช่น เปิด ทางโล่งแล้ว.
โล่งโจ้ง : ว. โล่งโต้ง.
โล่งใจ : ก. รู้สึกสบายใจ, หายอึดอัดใจ, เช่น สอบไล่เสร็จ ค่อยโล่ง ใจหน่อย.
โล่งโต้ง, โล้งโต้ง : ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขน ห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แล โล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอายฯ (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า.
โล่งโถง : ว. เปิดว่างตลอด ขาดสิ่งที่ควรมี เช่น ห้องโล่งโถง คือ ห้องที่ควรจะมีฝากั้น แต่ไม่มี.
โล่งคอ : ก. อาการที่รู้สึกว่าลำคอปลอดโปร่งชุ่มชื่นเพราะดื่มน้ำชา หรือซดน้ำแกงร้อน ๆ เป็นต้น.
โล่งจมูก : ก. รู้สึกว่าหายใจสะดวก.
โล่งหู : ก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้ รำคาญหูอยู่เป็นประจำ.
โล่งอก : ก. รู้สึกปลอดโปร่งใจเพราะปลดเปลื้องภาระหนักได้แล้ว.
โล่งอกโล่งใจ : ก. รู้สึกปลอดโปร่งเพราะหมดความกังวลใจ.
แถ ๒ : (ถิ่นอีสาน) ก. ทําให้เตียน, ทําให้โล่ง, เช่น แถผม แถหัว หมายถึง โกนผม โกนหัว.
โว่ง : ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ แล้วคอโว่ง.
สว่าง : [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง.
ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
กะโหล้ง : [-โล่ง] (ถิ่น-พายัพ) น. กะโหลก.
โปล่ง : [โปฺล่ง] (โบ) ก. โล่ง.
ล่ง : (กลอน) ว. โล่ง, ว่าง, เปล่า, ไม่มีเครื่องกําบัง.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
แพ่น : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว จะกลมหรือแบนก็ได้ ตีลงด้วยกำลังแรง เช่น เอาไม้ตะพดแพ่นหัว; พรวดพราด อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือล่วงล้ำ เข้าไปในที่ที่ไม่ควร เช่น แพ่นเข้าไปถึงหลังบ้าน. ว. อาการที่อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือ ล่วงลํ้าเข้าไปในที่ที่ไม่ควร (ใช้ในลักษณะติเตียน).
ลด : ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือ นอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
หักร้างถางพง : ก. ฟันป่าพงลงให้เตียน.
กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
กระโจมทอง : น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับ หลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.
กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
กร่ำ ๒ : [กฺร่ำ] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน.
กลัว : [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น กลัวเสือ กลัวไฟไหม้.
เกาะ ๑ : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ; ละเมาะ, โดยปริยายใช้เรียก ขึ้นพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
ขี้ปาก : น. คําที่เอาอย่างเขามาพูด; คนสําหรับเขาล้อด่าว่าและติเตียน.
คนทีสอ : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทํายาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย.
ครหา : [คะระหา, คอระหา] ก. ติเตียน, ติโทษ. (ป., ส. คฺรหา).
ค่อนแคะ : ก. ค้นหาเอาสิ่งที่ไม่ดีขึ้นมากล่าวติเตียน.
จางปาง : (ปาก) ว. สว่างจ้า, สว่างโล่ง; อีสานว่า จ่างป่าง.
โจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลม เป็นต้น; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน; กระโจม ก็ว่า.
ฉิน ๑ : ก. ติ, ติเตียน, เช่น สามสิ่งนี้โหดให้ โทษแท้คนฉิน. (โลกนิติ), มักใช้เข้าคู่ กับคํา ติ เป็น ติฉิน.
ช่างกระไร : คํากล่าวเนื่องจากติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง.
ชานชาลา : น. บริเวณสถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งที่ผู้โดยสาร มารอขึ้นรถ; ที่โล่งหน้าสถานที่สําคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชานชาลาหน้าพระ ที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท.
ดาย : ก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย, เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย; โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).
ดำเนียน : (แบบ) ก. ติเตียน. (ข. ฎํเนียล).
ดำหนิ : [-หฺนิ] (แบบ) ก. ติทัก, ติเตียน. (แผลงมาจาก ติ).
ตร่ำ : [ตฺรํ่า] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน, กรํ่า ก็ว่า.
ถอนใจใหญ่ : ก. หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจ หรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น, โบราณใช้ว่า ถอยใจใหญ่ ก็มี.
ถอยใจใหญ่ : (โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่ รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจ ใหญ่ไปมา. (ม. คําหลวง กุมาร).
ถาก : ก. ฟันเอาเปลือกหรือส่วนนอกออก เช่น ถากเปลือกไม้ ถากเสา, ใช้จอบเป็นต้นดายให้เตียน เช่น ถากหญ้า ถากดิน. ว. เฉียง ๆ, ถูกผิว ๆ, เช่น ฟันถากไป.
ถาง : ก. ใช้มีดเป็นต้นฟันให้เตียน เช่น ถางหญ้า ถางป่า.
โถง : ว. ที่เปิดโล่งแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น รถโถง คือรถที่เปิดหลังคาได้ เรือโถง คือเรือที่ปรกติมีประทุน แต่เปิดประทุนออก, เรียกห้องขนาด ใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ ว่า ห้องโถง.
ทุ่ง ๑ : น. ที่ราบโล่ง.
ทุด : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
โทง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งโย่ง ๆ ไปในที่โล่ง (มักใช้แก่ผู้เปลือยกาย) เช่น เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.