กำลัง ๑ : น. แรง, สิ่งที่ทําให้เกิดอํานาจความเข้มแข็ง.
กำลัง ๒ : น. (คณิต) เลขชี้กําลังที่เขียนลงบนจํานวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกําลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกําลัง ; (ฟิสิกส์) จํานวนงาน ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทําได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กําลัง = อัตราของการทํางาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกําลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกําลัง (วัดรอบลําต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.
กำลังม้า : (วิทยา) น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คืออัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุต-ปอนด์ ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. (อ. horse power).
กำลังกิน : ว. เหมาะที่จะกิน.
กำลังกินกำลังนอน : (สำ) ว. อยู่ในวัยกินวัยนอน เช่น เด็กกําลังกินกําลังนอน.
กำลังใจ : น. สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้น พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง.
กำลังช้างเผือก : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Hiptage วงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิด H. bengalensis Kurz เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก; ชนิด H. candicans Hook.f. เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.
กำลังช้างสาร : ดู ตานเหลือง.
กำลังดี : ว. พอดี.
กำลังภายใน : น. กําลังที่เร้นอยู่ภายใน, กําลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้ จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทําสิ่งที่คนทั่วไปทําไม่ได้.
กำลังวัวเถลิง : [-ถะเหฺลิง] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Anaxagorea luzonensis A. Gray ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว ออกสลับกัน ดอกสีขาวกลิ่นหอม, โคเถลิง ก็เรียก.
กำลังเหมาะ : ว. พอเหมาะ.
กรีดกราย : ว. เยื้องกราย, เดินทอดแขน, มีท่าทางหยิบหย่ง, ทำอะไรไม่เต็มกำลัง.
ฟิต : ว. คับจนรัดรูป เช่น เสื้อฟิต กางเกงฟิต; แข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า, เช่น ร่างกายกำลังฟิต. (อ. fit). ก. ฝึกซ้อม เช่น ฟิตเต็มที่.
เรี่ยวแรง : น. แรง, กำลัง, เช่น หมดเรี่ยวแรง.
ศักดิ, ศักดิ์ : น. อํานาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์; กำลัง; ฐานะ เช่นมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ; หอก, หลาว. (ส. ศกฺติ; ป. สตฺติ).
สมัต : [สะมัด] ก. จบแล้ว, จบข้อความ, สําเร็จแล้ว; เต็ม, บริบูรณ์. (ป. สมตฺต).
เหลือกำลัง, เหลือสติกำลัง : ว. พ้นความสามารถ เช่น เหลือกำลังลาก, เต็มที เช่น ซนเหลือกำลัง.
อัด ๒ : ว. ตรง, เต็ม, ตรงแบน, (ใช้แก่ลักษณะด้านหน้า) เช่น หน้าอัด สิงห์อัด.
ใช้กำลังประทุษร้าย : (กฎ) ก. ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือ จิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธี อื่นใด และหมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุ ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใด อันคล้ายคลึงกัน.
เดือนเต็ม : น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๓๐ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนขาด.
ท่าวกำลัง : (กลอน) ก. เดินพล.
ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
ออกกำลัง : ก. ใช้กําลัง; บริหารร่างกายเพื่อให้แข็งแรง.
กฤดายุค :
[กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
บูรณ-, บูรณ์ : [บูระนะ-, บูน] ว. เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).
ประดา ๑ : ว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มประดา หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.
พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
เพ็ง : ว. เต็ม เช่น วันเพ็ง. (เลือนมาจาก เพ็ญ).
เพ็ญ : ว. เต็ม. (ข. เพ?).
เมือบ : ว. มาก, เต็ม.
แล้ : ว. สุดกําลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กําลังหามหรือคอน เป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง, ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.
วังชา : คำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.
กบ ๖ : ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ.
กมณฑลาภิเษก : [กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อน้ำสรง เช่น อนนเต็มใน กมณฑลาภิเษก. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + ส. อภิเษก = รด).
กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
กระซับ : น. ชื่อพนักงานพวกหนึ่งในเรือเดินทะเล มีหน้าที่รักษาพัสดุตลอด จนสินค้าทั่วไปในระวางเรือด้วย เรียกเต็มว่า กระซับปากเรือ.
กระเดือก ๒ : (ปาก) ก. กลืนอย่างลําบาก เช่น กระเดือกไม่ลงคอ เต็มกระเดือก.
กระโดน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จํานวนมาก เป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
กระโตกกระตาก : ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
กระบี่ ๑ : (กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม : ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. (นิ. เพชร).
กระสือ ๓ :
น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลาน ไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็น จังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ).
กระสูบ : น. ชื่อปลาน้ำจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มช้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัว ใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึง ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
กระอ้อมกระแอ้ม : ว. อ้อมแอ้ม, ไม่ฉะฉาน, ไม่ชัดเจน, ไม่เต็มปาก, (ใช้แก่กริยาพูด).
กระอิดกระเอื้อน : ก. อิดเอื้อน, ไม่กล้าที่จะพูด, กล่าวไม่เต็มปาก; แสดงอาการไม่สู้เต็มใจ.