Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เทว , then ทว, เทพ, เทว, เทวะ, เทวา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เทว, 116 found, display 1-50
  1. เทว- ๒ : [ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว). เทวภาวะ น. ความเป็น ๒, ความเป็นคู่; พยัญชนะที่ซ้อนกัน ๒ ตัว; ใช้ เทวภาพ ก็ได้.
  2. เทว- ๑ : [เทวะ-] (แบบ) น. เทวดา, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป., ส.).
  3. เทววาจิกะ : ว. ที่ทําด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียก สรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.
  4. เทวนาครี : [เทวะนาคะรี] น. อักษรที่ใช้สําหรับเขียนภาษาสันสกฤต.
  5. เทวสุคนธ์ : น. กลิ่นหอม ๒ อย่าง คือ กลิ่นที่เกิดจากรากบุนนาค และรากมะซาง.
  6. ตกใต้เถรเทวทัต : (สํา) ก. ตกนรกขุมตํ่าสุด.
  7. ตรีเทวตรีคันธา : [-ทะเวตฺรี-] น. กลิ่นสามสองสาม คือ แก่น ดอก ราก แห่งมะซาง และบุนนาค. (ศัพท์คัมภีร์แพทย์).
  8. เทพ ๑, เทพ- : [เทบ, เทบพะ-] น. เทวดา. (ป., ส. เทว).
  9. เทวาคาร : ดู เทว-.
  10. เทวารัณย์ : ดู เทว-.
  11. เทวาลัย, เทวาวาส : ดู เทว-.
  12. เทวินทร์, เทเวนทร์ : ดู เทว-.
  13. เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์ : ดู เทว-.
  14. เทวดา : [เทวะ-] น. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์. (ป., ส. เทวตา).
  15. เทพทารู, เทพทาโร : [เทบพะ-] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cinnamomum porrectum Kosterm.'' ในวงศ์ Lauraceae ใบ เปลือก และราก มีกลิ่นหอมคล้าย การบูร ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้, จวง หรือ จวงหอม ก็เรียก. (ป. เทวทารุ).
  16. เทพาดิเทพ : น. เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาอื่น. (ป. เทวาติเทว).
  17. เทพ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เทพ เช่น เทพชาตรี เทพทอง เทพนิมิต เทพบรรทม เทพประทม เทพรัญจวน.
  18. เคราะห์ ๑ : [เคฺราะ] (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่า มีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน; สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มัก นิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).
  19. -ทัต : ก. ให้แล้ว, ใช้เป็นคําหลังสมาส เช่น พรหมทัต เทวทัต. (ป. ทตฺต).
  20. เทพ ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะสูงกว่าชั้นราช ตํ่ากว่าชั้นธรรม เรียกว่า ชั้นเทพ เช่น พระเทพโมลี.
  21. เทพธิดา : [เทบ-] น. นางฟ้า, เทวดาผู้หญิง. (ป. เทวธีตา).
  22. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  23. พสุ : [พะ] น. ชื่อเรียกเทวดาจําพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี. ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
  24. พิรุณ : น. ฝน; ชื่อเทวดาแห่งนํ้า เทวดาแห่งฝน เรียกว่า พระพิรุณ. (ป., ส. วรุณ).
  25. ภุมเทวดา : น. เทวดาพวกหนึ่งที่สิงสถิตอยู่บนพื้นดิน. (ป. ภุมฺม + เทวตา).
  26. มาร, มาร- : [มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอย กีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
  27. ยามะ : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.).
  28. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  29. วรุณ : น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.).
  30. วสวัดดี, วสวัตตี : [วะสะ] น. ผู้ยังสัตว์ให้อยู่ในอํานาจ; ชื่อของเทวบุตรมาร. (ป.).
  31. อดิเทพ : น. เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาอื่น ๆ. (ป. อติเทว).
  32. อินท์ : น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช, พระอินทร์; ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อินฺทฺร).
  33. อินทร, อินทร์ : [อินทะ, อินทฺระ, อิน] น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).
  34. เทพกุสุม : [เทบ-] น. กานพลู. (ส.).
  35. เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
  36. เทพดำรู : [เทบ-] น. ไม้สวรรค์ (มี ๕ คือ มนทาร ปาริชาตก สันตาน กัลปพฤกษ์ หริจันทน์).
  37. เทพทัณฑ์ : [เทบพะ-] น. ไม้มีปลายพันผ้าสําหรับชุบนํ้ามันจุดไฟในพระราชพิธี กัตติเกยา.
  38. เทพนิรมิต : น. ธรรมดา, ธรรมชาติ. (ส.).
  39. เทพบริษัท : [เทบบอริสัด] น. พวกเทวดา. (ส.).
  40. เทพบุตร : [เทบพะบุด] น. เทวดาผู้ชาย. (ส.).
  41. เทพประติมา : น. รูปเทวดาที่นับถือ. (ส.).
  42. เทพสังหรณ์ : [เทบ-] น. เทวดามาดลใจ.
  43. เทพาดิเทพ : ดู เทพ๑เทพ-.
  44. ปริเทวนะ, ปริเทว : [ปะริเทวะ-] น. ความครํ่าครวญ, ความรําพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ. (ป.).
  45. ทั่ว : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว ทั่วโลก ทั่วหน้า.
  46. ทั่วไป, ทั่ว ๆ ไป : ว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จํากัด เช่น กฎทั่วไป, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป.
  47. เทพยเจ้า, เทพยดา, เทพยุดา : (โบ) น. เทวดา.
  48. วาสุเทพ : น. ชื่อพระนารายณ์ปางพระกฤษณะ. (ส.).
  49. สมมติเทพ : น. เทวดาโดยสมมติ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน.
  50. อติเทพ : น. เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาอื่น ๆ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-116

(0.0638 sec)