เทศ, เทศ-, เทศะ : [เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
เทศาจาร : น. ธรรมเนียมของบ้านเมือง. (ส.).
กระดาษเทศ : (โบ) น. ตาดเทศ เช่น อันทําด้วยกระดาษเทศทอพราย. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
เครื่องเทศ : น. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจาก ต่างประเทศสําหรับใช้ทํายาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า.
มรัมเทศ : [มะรํามะเทด] น. ประเทศพม่า. (ป. มรมฺมเทส).
กระจอกเทศ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus ในวงศ์ Struthionidae ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกําเนิด ในทวีปแอฟริกา.
จำปาทองเทศ ๑ : น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
จำปาทองเทศ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
ทุเรียนเทศ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Annona muricata L. ในวงศ์ Annonaceae ผลมีหนามขรุขระ รสหวานอมเปรี้ยว กินได้, ทุเรียนแขก ก็เรียก.
น้ำดอกไม้เทศ : น. หัวนํ้าหอมทําจากดอกกุหลาบชนิดหนึ่ง.
เนียรเทศ : [เนียระเทด] ก. เนรเทศ.
เป็ดเทศ : น. ชื่อเป็ดชนิด Cairina moschata ในวงศ์ Anatidae ขนาดโตกว่าเป็ดธรรมดา เหนือปากมีติ่งเนื้อสีแดงคล้ายเนื้องอก ติดอยู่ มีถิ่นกําเนิดในอเมริกากลาง.
พริกเทศ : น. พริกแห้งเม็ดยาวมาจากต่างประเทศ.
มะขามเทศ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นและกิ่งมีหนาม ฝักกินได้.
มะเขือเทศ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lycopersicum esculentum Miller ในวงศ์ Solanaceae ผลกินได้.
มะนาวเทศ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Triphasia trifolia (Burm.f.) P. Wils. ในวงศ์ Rutaceae ต้นมีหนาม ใบเล็ก ผลคล้ายตะขบฝรั่ง แต่ผิวคล้ายส้ม เมื่อสุกเนื้อในเป็นยาง รสหวานเจือเผ็ด.
โหมดเทศ : น. ผ้าโหมดที่ทํามาจากอินเดีย.
นิรเทศ : [ระ] (กลอน) ก. เนรเทศ, ขับไล่ออกจากที่เดิม. (ส. นิรฺ + เทศ).
ทศ ๑, ทศ- : [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็น ส่วนหน้าสมาส.
ทศ ๒, ทศา : [ทด, ทะสา] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).
นิเทศ : (แบบ) น. คําแสดง, คําจําแนกออก. ก. ชี้แจง, แสดง, จําแนก. (ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).
อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
อุเทศ : น. การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง. ว. ที่ยกขึ้นแสดง, ที่ยกขึ้น ชี้แจง; ที่อ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ. (ส. อุทฺเทศ; ป. อุทฺเทส).
กระจายหางดอก : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตําละลาย กับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. (กบิลว่าน).
กระวาน ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศ ที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็น เครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
กะหรี่ : น. แกงชนิดหนึ่ง สีเหลือง ปรุงด้วยเครื่องแกงกะหรี่; เรียกเครื่องแกงกะหรี่ซึ่งประกอบด้วยขมิ้นและเครื่องเทศอื่น ๆ บดเป็นผงว่า ผงกะหรี่. (มลายู มาจากทมิฬว่า ผัด; อ. curry).
กัมปี : (แบบ) ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมฺป)
กานพลู : [-พฺลู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ดอกตูมมีรสเผ็ดร้อน ตากแห้งแล้วใช้เป็นเครื่องเทศและทํายา. (ทมิฬ กิรามบู).
แกงเผ็ด : น. แกงพวกหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องเผ็ดร้อนเช่นเครื่องเทศ กะทิ มีรสเผ็ด.
แกงส้ม : น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิ หรือ น้ำมัน มีรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้ หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค.
ข้าวหมก : น. อาหารชนิดหนึ่งของมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวย ปรุงด้วยเครื่องเทศและขมิ้น มีเนื้อไก่หรือเนื้อแพะหมกในข้าว.
แขก ๓ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต.
คุยหฐาน, คุยหประเทศ : (ราชา) น. อวัยวะที่ลับ ใช้ว่า พระคุยหฐาน. (ป. คุยฺห + ?าน; ป. คุยฺห + ส. ปฺรเทศ).
จตุทิพยคันธา : [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
จาว ๔ : น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
ชะเอม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum.ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอม ขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรส หวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
ชี ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coriandrum sativum L. ในวงศ์ Umbelliferae ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลมมีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีลา หรือ หอมป้อม ก็เรียก.
ชุมเห็ด : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Senna วงศ์ Leguminosae คือ ชุมเห็ดไทย [S. tora (L.) Roxb.] ใบเล็ก และ ชุมเห็ดเทศ [S. alata (L.) Roxb.]ใบใหญ่, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้.
ดอกจันทน์ :
น. รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ. (ดู จันทน์เทศ ที่ จันทน์).
ดีปลี : [-ปฺลี] น. ชื่อไม้เถา ๓ ชนิดในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae คือ ชนิด P. longum L., P. peepuloides Roxb. และ P. retrofractum Vahl มีราก ตามข้อของลําต้นเพื่อยึดเกาะ ผลอัดแน่นเป็นช่อ ทุกส่วนมีกลิ่น โดย เฉพาะผลกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศและทํายาได้.
ตรีกันสวาต : [-สะหฺวาด] น. กลิ่นแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ
ตรีธารทิพย์ : น. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ ราก มะขามเทศ.
ตรีปิตผล : [-ปิตะผน] น. ผลแก้ดี ๓ อย่าง คือ เจตมูลเพลิงเทศ ผักแพวแดง รากกะเพรา.
ตรีพิษจักร : [-พิดสะจัก] น. จักรพิษ ๓ อย่าง คือ กานพลู ผักชีล้อม ผลจันทน์เทศ.
ตรีสมอ : น. สมอ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก สมอเทศ.
ตรีสุคนธ์ : น. กลิ่นหอม ๓ อย่าง คือ ใบกระวาน อบเชยเทศ รากพิมเสน.
ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.