Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เทสะ , then ทส, เทศะ, เทส, เทสะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เทสะ, 17 found, display 1-17
  1. เทศ, เทศ-, เทศะ : [เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  2. เทศาจาร : ดู เทศ, เทศ-, เทศะ.
  3. เทศาภิบาล : ดู เทศ, เทศ-, เทศะ.
  4. ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
  5. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  6. นิเทศ : (แบบ) น. คําแสดง, คําจําแนกออก. ก. ชี้แจง, แสดง, จําแนก. (ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).
  7. ปฏิรูป, ปฏิรูป- : [-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้ สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).
  8. ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  9. มรัมเทศ : [มะรํามะเทด] น. ประเทศพม่า. (ป. มรมฺมเทส).
  10. มอลโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย. (อ. maltose).
  11. วิเทวษ : [ทะเวด] น. ความเป็นข้าศึก, ความเกลียด, ความปองร้าย. (ส. วิเทฺวษ; ป. วิทฺเทส).
  12. สนเทศ : น. คําสั่ง, ข่าวสาร, ใบบอก. (ส.; ป. สนฺเทส).
  13. อาเทศ ๑ : [เทด] น. การแนะนํา, คําชี้แจง, คําบอกเล่า, คําสั่ง, กฎ. (ส.; ป. อาเทส).
  14. อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
  15. อุเทศ : น. การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง. ว. ที่ยกขึ้นแสดง, ที่ยกขึ้น ชี้แจง; ที่อ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ. (ส. อุทฺเทศ; ป. อุทฺเทส).
  16. อุปเทศ : [อุปะเทด, อุบปะเทด] น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนํา; คําสั่งสอน, คําชี้แจง, คําแนะนํา. ก. สอน, ชี้แจง, แนะนํา. (ส., ป. อุปเทส).
  17. อุปเท่ห์ : [อุปะเท่, อุบปะเท่] น. อุบายดําเนินการ, วิธีดําเนินการ. (ส. อุปเทศ; ป. อุปเทส).

(0.0570 sec)