เท่าเทียม : ว. เสมอหน้า, ทัดเทียม.
ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
เท่า ๑ : ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจํานวนเดิม.
เท่า ๒ : (โบ) น. เถ้า.
เทียม ๑ : ก. เอาสัตว์พาหนะผูกเข้ากับยานหรือคราดไถเป็นต้น เช่น เทียมเกวียน
เทียม ๒ :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).
เทียมบ่าเทียมไหล่ : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะจนเทียมบ่าเทียมไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมหน้าเทียมตา หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
เทียมรถ เทียมแอก. : ว. ทําเอาอย่างให้เหมือนหรือคล้ายของจริงของแท้ เช่น ทําเทียม ของเทียม ฝนเทียม ดาวเทียม; เสมอกัน, เท่ากัน, เช่น สูงเทียมเมฆ.
เทียมหน้าเทียมตา : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะนเทียมหน้าเทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
เท่าตัว : ว. มีขนาดเท่าตัวจริง เช่น หล่อรูปเท่าตัว, มีจํานวนหรือขนาด เพิ่มขึ้นเท่าจํานวนหรือขนาดเดิม เช่น แป้งฟูขึ้นอีกเท่าตัว ราคาสินค้า ขึ้นอีกเท่าตัว.
เท่าทัน : ว. เทียมถึง, เข้าใจถึง.
เท่าเผ้า : ว. เท่าเส้นผม, เล็ก.
เท่าทุน : ว. เสมอตัว, ไม่ได้ไม่เสีย, ไม่ได้กําไรไม่ขาดทุน.
เท่ารึง : น. เถ้ารึง.
กินน้ำใต้ศอก : (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
แก้ลำ : ก. ใช้ชั้นเชิงตอบโต้ให้เท่าเทียมกันหรือหนักมือขึ้น.
ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
ทัด ๒, ทัดเทียม : ว. เท่าเทียม, เสมอ, เช่น ฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดีทัดกัน. (พงศ. เลขา).
โปรเตสแตนต์ : [โปฺร-] น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา ไม่ยกย่องบูชาแม่พระ และนักบุญ ถือว่าศาสนิกชนทุกคนเป็นพระและเป็นตัวแทนของ พระเยซูเท่าเทียมกัน ไม่นิยมประดิษฐานรูปเคารพใด ๆ ไม่มีรูป พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน มีเฉพาะไม้กางเขนเท่านั้นเป็น สัญลักษณ์. (อ. Protestant).
สมมูล : [สะมะมูน, สมมูน] ว. มีค่าเท่าเทียมกัน, เสมอเหมือนกัน, เปลี่ยนแทนกันได้. (อ. equivalent).
เหลื่อมล้ำต่ำสูง : ว. ไม่เท่าเทียมกัน เช่น มีฐานะทางสังคมเหลื่อมล้ำต่ำสูง กว่ากัน.
ขื่อเท่าต่อ : ก. รู้เท่าทันกัน.
ตราบเท่า : บ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้. สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบเท่า ชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.
เทียบเท่า : ว. เสมอกัน, เท่ากัน.
นิยุต ๒ : (แบบ) ก. ประกอบ, เทียม, ทําให้แน่น. (ป. นิยุตฺต).
ปฏิรูป, ปฏิรูป- : [-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้ สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).
ปูน ๒ : น. คราว, รุ่น, เช่น คนมีอายุปูนพ่อปูนแม่. ว. เทียบ, เทียม, ปาน, เปรียบ, เพียง.
รู้เท่า : ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร; รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ : ก. เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝาก ของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.
ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
เท่ : ว. เอียงน้อย ๆ (มักใช้แก่การสวมหมวก); โก้เก๋ เช่น แต่งตัวเท่.
คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ : (สํา) น. คนรักมีน้อย คนชังมีมาก.
ต้นเทียม :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).
ที่เท่าแมวดิ้นตาย : (สํา) น. ที่ดินหรือเนื้อที่เล็กน้อย. ที่แท้ สัน. ที่จริง.
เท็จเทียม : ว. ไม่ใช่ของจริง, ไม่ใช่ของแท้.
เนยเทียม : น. สิ่งที่ทําจากไขมันหรือนํ้ามันที่ได้จากพืชและสัตว์ นํามาทํา ให้บริสุทธิ์ ผสมวิตามินเอ วิตามินดี เติมนมและสีที่เหมาะสม แบคทีเรีย ในนมจะทําให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนย ใช้เป็นอาหารได้.
เป็นตายเท่ากัน : ว. มีอาการปางตาย, ไม่แน่ว่าจะเป็นหรือจะตาย.
มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว : (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
รู้เท่าไม่ถึงการ : ก. รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ.
เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย : (สำ) ก. เลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเป็นทารก.
หัวเทียม :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. หัวกระเทียม. (ดู กระเทียม).
เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
คูณ : ก. เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ, เท่า เช่น ทวีคูณ คือ ๒ เท่า ตรีคูณ คือ ๓ เท่า. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ x ว่า เครื่องหมายคูณ. (ป., ส. คุณ).
แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
แปรผันแบบผกผัน : (คณิต) ก. ลักษณะที่จํานวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นจาก เดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้จํานวนที่ ๒ ลดลงจากเดิมโดยสัดส่วน เท่า ๆ กัน หรือเมื่อจำนวนที่ ๑ ลดลงจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุ ให้จํานวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน.
เพียง : ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
กระเทียม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.
แค่ : ว. เพียง, เท่า.
จตุรคูณ : ว. ๔ เท่า.
ตรีคูณ : น. ๓ เท่า. (ส. ตฺริคุณ).