เท็จ : ว. ปด, โกหก, ไม่จริง.
เท็จจริง : ว. จริงเท่าที่ปรากฏ.
เท็จเทียม : ว. ไม่ใช่ของจริง, ไม่ใช่ของแท้.
ข้อเท็จจริง : น. ข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง; (กฎ) ข้อความหรือเหตุการณ์ที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นจริง (แตกต่างกับ ข้อกฎหมาย).
มฤษา : [มะรึสา] ว. มุสา, ไม่จริง, เท็จ. (ส. มฺฤษา; ป. มุสา).
กฎหมายปิดปาก : (กฎ) น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้าง หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจะเป็นจริง หรือไม่ก็ตาม. (อ. estoppel).
กระทรวง ๑ :
[-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
โกหก : ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ). (ป., ส. กุหก).
ข้อมูล : น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สําหรับ ใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคํานวณ.
คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
จริง, จริง ๆ : [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝัน กลายเป็นความจริง.
ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
ฉ้อฉล : ก. ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวเพื่อให้เขาหลงผิด.
ชันสูตร : [ชันนะสูด] ก. ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุหรือหลักฐาน ข้อเท็จจริง เช่น ชันสูตรบาดแผล ชันสูตรพลิกศพ, สอบสวนโดยเหตุผล.
ตระลาการ : [ตฺระ-] (โบ) น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
ตอแหล ๑ : [-แหฺล] เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. : ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.
นำสืบ : (กฎ) ก. นําพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ที่กล่าวอ้าง.
นิตินัย : (กฎ) น. ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure), ต่างกับ พฤตินัย คือ ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto).
นิติวิทยาศาสตร์ : น. วิชาที่ว่าด้วยการนําหลักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมาย และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยว กับคดีความ. (อ. forensic science).
นิติเวชศาสตร์ : น. วิชาที่ว่าด้วยการใช้หลักทางการแพทย์ช่วยแก้ปัญหา ทางกฎหมายและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ. (อ. forensic medicine).
บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
บิดเบือน : ก. ทําให้ผิดแผกไปจากข้อเท็จจริง, ทําให้ผิดแผกแปลก ไปจากเดิมหรือจากข้อเท็จจริง.
เบญจศีล : น. ศีล ๕ คือ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจาก การลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้น จากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย, คู่กับ เบญจธรรม.
ใบสัจ : (โบ) น. เอกสารซึ่งตระลาการพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วนํา เสนอลูกขุนปรึกษาปรับสัจตัดสิน.
ใบสำคัญ : น. เอกสารที่รับรองข้อเท็จจริง ความถูกต้อง หรือสิทธิ. ใ
ปฏิบัติการ : ก. ทํางานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชํานาญเป็นต้น เช่น ห้อง ปฏิบัติการ.
ปฏิเสธ : ก. ไม่รับ, ไม่ยอมรับ, เช่น ปฏิเสธการเชิญ, ไม่ยอมรับข้อเท็จจริง เช่น ปฏิเสธข้อกล่าวหา; (ไว) แสดงความหมายตรงกันข้ามกับ ยืนยัน รับ หรือ ยอมรับ. (ป.).
ปด, ปดโป้ : ก. โกหก, พูดเท็จ, จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง.
ประเด็น : น. ข้อความสําคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่คู่ความยกขึ้น เป็นข้ออ้างในคดี.
ประพจน์ : น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
ปั้นน้ำเป็นตัว : ก. สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา.
ปากแข็ง : ว. พูดยืนยันหรือเถียงอย่างดื้อดันไม่ยอมจํานนข้อเท็จจริง.
ปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์และจําเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจําเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อ เท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคําพิพากษา.
ปิดสำนวน : (ปาก) ก. ยุติการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี.
เปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน เข้าสืบ.
พยาน : [พะยาน] น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้; (กฎ) บุคคลซึ่ง ให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็นได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น. (อ. witness).
พยานหลักฐาน : (กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยัน หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
พฤตินัย : (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
ฟ้องกลับ : (ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจําเลยในคดีอาญา ด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิก ความเท็จ.
ฟ้องตัวเอง : ก. แสดงความผิดของตนออกมาให้ผู้อื่นรู้โดยไม่ได้ ตั้งใจ, แสดงความเท็จออกมาให้ปรากฏ.
มฤษาวาท : น. คําเท็จ. (ส.; ป. มุสาวาท).
มารษา : [มานสา] น. คําปด, คําเท็จ, คําไม่จริง. (ส. แผลงมาจาก มฺฤษา).
มุสา : ว. เท็จ, ปด. (ป.).
มุสาวาท : น. การพูดเท็จ, การพูดปด; คําเท็จ. (ป.).
ยันกัน : ก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบ ข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.
เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.