Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เท่าเดิม, เท่า, เดิม , then ดม, เดิม, เติม, ทา, ทาดม, เท่, เท่า, เท่าเดิม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เท่าเดิม, 862 found, display 1-50
  1. เดิม : ว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม. (ข. เฎีม ว่า ต้น).
  2. เท่า : ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจํานวนเดิม.
  3. เท่า : (โบ) น. เถ้า.
  4. เท่าตัว : ว. มีขนาดเท่าตัวจริง เช่น หล่อรูปเท่าตัว, มีจํานวนหรือขนาด เพิ่มขึ้นเท่าจํานวนหรือขนาดเดิม เช่น แป้งฟูขึ้นอีกเท่าตัว ราคาสินค้า ขึ้นอีกเท่าตัว.
  5. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  6. แปรผันแบบผกผัน : (คณิต) ก. ลักษณะที่จํานวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นจาก เดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้จํานวนที่ ๒ ลดลงจากเดิมโดยสัดส่วน เท่า ๆ กัน หรือเมื่อจำนวนที่ ๑ ลดลงจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุ ให้จํานวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน.
  7. เดิมพัน : น. จํานวนเงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่วางไว้เป็นประกันในการ ได้เสียหรือแพ้ชนะก่อนเล่นการพนัน เช่น วางเดิมพัน เอาชีวิตเป็นเดิมพัน.
  8. เท่าเผ้า : ว. เท่าเส้นผม, เล็ก.
  9. เท่าทัน : ว. เทียมถึง, เข้าใจถึง.
  10. เท่าทุน : ว. เสมอตัว, ไม่ได้ไม่เสีย, ไม่ได้กําไรไม่ขาดทุน.
  11. เท่าเทียม : ว. เสมอหน้า, ทัดเทียม.
  12. เท่ารึง : น. เถ้ารึง.
  13. กฎกระทรวง : (กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออก โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกําหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.
  14. บังใบ ๑ : น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสําหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึก ลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนํามาประกอบเป็นวงกบ หรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนํามา ประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.
  15. แปรผันโดยตรง : (คณิต) ก. ลักษณะที่จํานวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้จํานวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน.
  16. วังชา : คำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.
  17. ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  18. ขื่อเท่าต่อ : ก. รู้เท่าทันกัน.
  19. จับเดิม : ว. จําเดิม.
  20. ตราบเท่า : บ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้. สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบเท่า ชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.
  21. เทียบเท่า : ว. เสมอกัน, เท่ากัน.
  22. พื้นเดิม : น. รกรากเดิม เช่น พื้นเดิมเป็นคนมั่งมี.
  23. รู้เท่า : ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร; รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  24. รู้เท่าไม่ถึงการณ์ : ก. เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝาก ของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.
  25. หน้าเดิม : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.
  26. ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
  27. เท่ : ว. เอียงน้อย ๆ (มักใช้แก่การสวมหมวก); โก้เก๋ เช่น แต่งตัวเท่.
  28. กระชาเดิม : (โบ) น. ร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอม เป็นต้น.
  29. ข้าหลวงเดิม : น. คนใช้เก่าแก่ของเจ้านาย, คนที่พระเจ้าแผ่นดินเคย ใช้มาแต่เมื่อยังไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน, (ปาก) คนหรือสิ่งของที่ ใช้สอยถูกใจมาเป็นเวลานาน ๆ.
  30. คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ : (สํา) น. คนรักมีน้อย คนชังมีมาก.
  31. ดม : ก. ใช้จมูกสูดกลิ่น, สูดเอากลิ่น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดอม เป็น ดมดอม หรือ ดอมดม.
  32. ที่เท่าแมวดิ้นตาย : (สํา) น. ที่ดินหรือเนื้อที่เล็กน้อย. ที่แท้ สัน. ที่จริง.
  33. เป็นตายเท่ากัน : ว. มีอาการปางตาย, ไม่แน่ว่าจะเป็นหรือจะตาย.
  34. มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว : (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
  35. รู้เท่าไม่ถึงการ : ก. รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ.
  36. เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย : (สำ) ก. เลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเป็นทารก.
  37. สภาพเดิม : น. ลักษณะหรือภาวะหรือธรรมชาติที่เป็นมาแต่แรก.
  38. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  39. ท้องตรา : น. หนังสือคําสั่งที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง, เดิม เรียกว่า สารตรา.
  40. คูณ : ก. เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ, เท่า เช่น ทวีคูณ คือ ๒ เท่า ตรีคูณ คือ ๓ เท่า. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ x ว่า เครื่องหมายคูณ. (ป., ส. คุณ).
  41. แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2•CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
  42. เพียง : ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
  43. แค่ : ว. เพียง, เท่า.
  44. จตุรคูณ : ว. ๔ เท่า.
  45. ตรีคูณ : น. ๓ เท่า. (ส. ตฺริคุณ).
  46. ทวีคูณ : ว. ๒ เท่า. (ส. ทฺวิคุณ; ป. ทิคุณ).
  47. ลูกบิด : น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิม ทําเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิด ให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
  48. หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
  49. เคลือบ : [เคฺลือบ] ก. ไล้ ทา หรือพอกผิวเดิมด้วยของเหลวบางชนิด แล้วทิ้งไว้ ให้เย็นจนแข็งตัว เช่น เคลือบนํ้าตาล เคลือบยาพิษ, ทาผิวนอกด้วย นํ้ายาเคมีแล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาเกาะแน่น, เรียกสิ่งที่เคลือบโดย กรรมวิธีเช่นนั้น ว่า เครื่องเคลือบ; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ค ล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปากเคลือบนํ้าตาล.
  50. ทะ ๑ : คําใช้นําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปล อย่างเดียวกับคําเดิมนั้น หรือเป็นคําซํ้าซึ่งคําหน้าเสียงกร่อน ไป เช่น ทะทัด ก. สะบัด. ทะทา น. นกกระทา. ทะทาย ก. จับ, ถือ. ทะท่าว ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบ, เติม. ทะท้าว ว. อาการที่ตัวสั่นเทา ๆ. ทะทึก ว. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-862

(0.1904 sec)